การจัดการศึกษาต่อเนื่อง (หลักสูตรกลุ่มสนใจ 6 - 30 ชั่วโมง)

หลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องเป็นหลักสูตรระยะสั้นที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาไทยศิลปวัฒนธรรมรวมทั้งทักษะชีวิตที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในต่างแดน สำหรับกระบวนการดำเนินการมีดังนี้

    2.1 การขอเปิดสอนหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ให้ดำเนินการดังนี้

              1) เสนอขออนุมัติใช้หลักสูตรที่ขอเปิดสอน ต่อ ศกพ. โดยโครงสร้างของหลักสูตรต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดของ ศกพ.
(ไม่เกิน 30 ชั่วโมง ต่อ 1 หลักสูตร) และกำหนดให้มีแผนการสอนครบ  ตามสาระเนื้อหา กรณีการเปิดสอนหลักสูตร
ที่มีการอนุมัติหลักสูตรไว้แล้ว ศูนย์การเรียน กศน. สามารถดำเนินการเปิดสอนได้เลย 

        2) เสนอขอจัดการเรียนการสอนหรือจัดการเรียนรู้โดยกำหนด วัน เวลา ที่ดำเนินการตามปีงบประมาณ

        3) การประเมินผลให้มีการประเมินระหว่างเรียนและหลังเรียนตามที่หลักสูตรกำหนด

       2.2 การจบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐ ของหลักสูตร และต้องผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ของหลักสูตร

        2.3 จัดทำรายงานผลการเรียน และจัดทำหลักฐานการประเมินผล ต่อ ศกพ. เพื่อออก “วุฒิบัตร” 

วัตถุประสงค์

      1. เพื่อเผยแพร่ สืบสานภาษาไทย ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมไทย

2. เพื่อให้ความรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทยแก่กลุ่มเป้าหมาย

3. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต และการพัฒนาสังคมและชุมชน แก่กลุ่มเป้าหมาย

การดำเนินงาน 

ดำเนินการโดย ศูนย์การเรียน กศน. ในต่างประเทศ  ตั้งอยู่ ณ ประเทศที่นักศึกษาอาศัยอยู่  

กลุ่มเป้าหมาย

1. เด็กและเยาวชนไทย ซึ่งเกิดหรือเติบโตในต่างประเทศ อายุระหว่าง 6-15 ปี ที่บิดาหรือมารดา มีสัญชาติหรือเชื้อชาติไทย

2. กลุ่มคนไทยในต่างประเทศ ได้แก่ แรงงานไทย คนไทยที่ไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ หรือคนไทยที่ไปเรียนศาสนา

3. กลุ่มชาวต่างประเทศ ทั้งนี้จะต้องพักอาศัยและมีที่อยู่ปัจจุบันในประเทศที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างถูกกฎหมาย

การรับสมัครผู้เรียน

 ผู้เรียน กรอกใบสมัครตามหลักสูตรที่สนใจ ณ ศูนย์การเรียน กศน. ในต่างประเทศ ที่ประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละหลักสูตร ตามระยะเวลาที่ศูนย์การเรียนฯ นั้น ๆ กำหนด

การวัดและประเมินผล

1. ประเมินความรู้ภาคทฤษฎี จากความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาของแต่ละหลักสูตร

2. ประเมินความรู้ภาคปฏิบัติจากทักษะการปฏิบัติ คุณภาพของผลงาน/ผลการปฏิบัติ ความร่วมมือ/ความสนใจ ความคิดสร้างสรรค์ และจิตอาสา

3. กำหนดสัดส่วนคะแนนภาคทฤษฎี (20)  : ภาคปฏิบัติ (80) 

การจบหลักสูตร 

ผู้เรียนต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด และผ่านการประเมินผลตามเกณฑ์ที่กำหนดคือ ภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของคะแนน เท่ากับ 48 คะแนน และภาคปฏิบัติ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของคะแนน  เท่ากับ 60 คะแนน