แหล่งเรียนรู้ : ศูนย์อินแปง
อินแปงสถานที่อันอุดมเหมือนพระอินทร์แปง (สร้าง) กว่า ๒๓ ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่ปี ๒๕๓๐ ที่มูลนิธิหมู่บ้านและวิทยาลัยครูสกลนคร ซึ่งปัจจุบันยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนครเมื่อปี ๒๕๓๘ ได้ร่วมกันทำโครงการศึกษาวิจัยวิถีชีวิตชาวกะเลิงบนเทือกเขาภูพาน โดยมีธวัชชัย กุณวงษ์ นักศึกษาในฐานะของนักวิจัยในขณะนั้นได้ฝังตัวใช้ชีวิตร่วมคลุกคลีกับชาวบ้านบัว หมู่ ๕ ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร เพื่อเก็บข้อมูลเรื่องราวต่างๆ ในการดำรงชีวิตของชาวกะเลิง นี่เองนับเป็นจุดเริ่มต้นและการก่อเกิดของ “เครือข่ายอินแปง”
ศูนย์อินแปง
ศูนย์อินแปง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร เป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ที่มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของสมาชิกอย่างต่อเนื่อง มีสมาชิกเครือข่าย ๘๔ หมู่บ้านซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวกะเลิงที่อยู่รอบๆ ภูพาน มีกิจกรรมเพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ชุมชน ได้แก่ กลุ่มเด็กฮักถิ่น และทำกิจกรรมการแปรรูปผลผลิต การรักษาสุขภาพแบบพื้นบ้านการอนุรักษ์และการขยายพันธุ์พืช โดยมีพ่อเล็ก กุดวงศ์แก้ว เป็นแกนนำสำคัญของกลุ่ม ฯ อินแปง เกิดจากแนวคิดที่ว่า "การพัฒนาแบบเอาปัญญามาก่อนเงิน” โดยคนในชุมชนจะร่วมกันคิดแก้ไขปัญหาบนพื้นฐานของทุนและทรัพยากรในชุมชนที่มีอยู่ อาทิ วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ดิน น้ำ ป่า ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น จากนั้นจึงร่วมกันกำหนดเป็นแผนการผลิตสินค้าเกษตรและอาหารของชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเน้นการผลิตให้พออยู่พอกิน ถ้าเหลือจึงขายหรือแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า ซึ่งทำควบคู่ไปกับการฟื้นฟูพื้นที่ป่าชุมชนจำนวน 132 ป่าพื้นที่รวมทั้งสิ้น 150,000 ไร่ ทั้งนี้ ผลจากความร่วมมือร่วมใจของชุมชนในศูนย์อินแปงตลอดกว่า 10 ปี ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้ความหลากหลายของพันธุ์พืชพื้นเมืองบริเวณเทือกเขาภูพานได้กลับคืน ยังเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้คุณค่า ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดี และสมควรที่จะสนับสนุนให้ชุมชนอื่นๆได้เข้าไปเรียนรู้แนวคิด และกระบวนการบริหารจัดการของศูนย์อินแปง เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ให้เหมาะสมกับชุมชนอื่นต่อไป ผู้นำกลุ่มอินแปงพ่อเล็ก ” หรือ นายเล็ก กุดวงศ์แก้วเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาเป็นอินแปงนั้นเดิมทีแล้วมีชื่อว่า "กลุ่มกองทุนพันธุ์ไม้พื้นบ้าน” แต่ภายหลังพ่อบัวศรี ศรีสูงปราชญ์ชาวบ้านมหาสารคามผู้ล่วงลับไปแล้วได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "อินแปง”ปราชญ์ชาวบ้านมหาสารคามผู้ล่วงลับไปแล้วได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "อินแปง” คำว่า "อิน” ตามหลักพระพุทธศาสนา แปลว่า ผู้ใหญ่ คำว่า "แปง” แปลว่า สร้าง กล่าวคือ ผู้ใหญ่สร้าง และความหมายโดยรวมก็คือเราเป็นผู้ใหญ่เราควรสร้างสิ่งต่างๆ ไว้เพื่อลูกเพื่อหลานน่าจะเป็นคำแปลที่เข้าท่ามากที่สุด "อินแปง” เป็นกลุ่มประชาชนจากหลายพื้นที่อพยพมาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ ชุมชนบ้านบัว ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนคร มาตั้งหลักปักฐานอยู่ที่ ชุมชนบ้านบัว ต.กุดบาก อ.กุดบาก จ.สกลนครแต่เมื่อความเจริญเข้ามา ทำให้บ้านบัวและหมู่บ้านใกล้เคียงซึ่งตั้งอยู่ที่ตีนเขาภูพานนั้นได้ลดความอุดมสมบูรณ์ลงไปมากเนื่องจากชาวบ้านเข้าไปถางป่าปลูกปอปลูกมันกัน
"เมื่อมันเป็นเช่นนี้ ชาวบ้านจึงเกิดคำถามว่า การพัฒนาที่พูดถึงกันนี้แปลก เพราะคำว่าพัฒนาน่าจะแปลว่าเจริญขึ้น ดีขึ้นมีความสุขขึ้น แต่นี่พัฒนาอย่างไรไม่ทราบ แทนที่จะรวยขึ้น กลับจนลงเป็นหนี้เป็นสิน ไม่มีเงินพอซื้อข้าวกิน ลูกหลานหนีเข้าเมืองไปรับจ้างเป็นทุกข์กันทั้งบ้านทั้งเมือง” "อะไรที่อยู่ในป่าพอขายได้ก็เอาไปขายหมด ตั้งแต่ไม้ที่ลักลอบตัดสัตว์ป่าที่ลอบล่า ไปถึงพืชผักป่านานาชนิด เช่น ยอดหวาย หน่อไม้ ผักหวานไข่มดแดง เห็ด ผลไม้ป่า และผักป่าทุกชนิดที่เอาไปขายได้ก็เก็บกันไปหมดไม่มีเหลือเก็บไม่ทันใจก็ตัดโค่นไม้ลงมา อยากได้ปลา แทนที่จะเอาแหไปทอดเอาเบ็ดไปตกไม่ ทันใจก็เอาไฟฟ้าไปช็อต” "เก็บกินก็น่าจะพอ แต่ถ้าหาและเก็บขายจะไม่ มีวันพอขาย หากินกันล้างผลาญแบบนี้ ธรรมชาติผลิตตามไม่ทัน ไม่นานป่าก็เตียน อาหารธรรมชาติในป่าซึ่งเป็นตลาดหรือซุปเปอร์มาร์เกต ใหญ่ของชาวบ้านก็เริ่มร่อยหรออยากได้ยอดหวายสักสองยอด ผักหวานสักกำมาแกงก็ต้องเดินเป็นครึ่งๆ วัน..”ความคิดที่ชาวบ้านได้มาตั้งวงสนทนากัน สิ่งเหล่านี้เองได้สะท้อนให้เห็นปัญหาที่กำลังรุนแรงขึ้น ชาวบ้านจึงเกิดแนวความคิดร่วมกัน ในการที่จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นกับตนเองและชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันขึ้นช่วงแรกชาวบ้านเหล่านี้ได้ไปศึกษาดูงานการเพาะพันธุ์หวายพื้นบ้านแล้วกลับมาเพาะขยายพันธุ์เอง มีการจัดตั้งเป็นกองทุนกลาง มีการเลี้ยงหมูดำเพื่อใช้ในการประกอบพิธีกรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิหมู่บ้าน ไปซื้อหมูมาแจก ให้แก่สมาชิกเลี้ยง และให้ส่งลูกหมูคืนเพื่อนำไปแจกจ่ายให้แก่สมาชิกคนอื่นๆ ต่อไปซึ่งได้รับผลสำเร็จเป็นอย่างดี หลักการอันแน่วแน่ ในการที่จะพัฒนาชนบทอย่างยั่งยืนในพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน ได้ถูกสืบทอดด้วยยุทธวิธีต่างๆคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในชุมชน เข้ามาทำหน้าที่ประสานงานให้แก่กลุ่มอินแปงและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐในท้องถิ่นมากขึ้นโดยเริ่มประสานงานกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเกษตรกรรม (ส.ป.ก.),ศูนย์ศึกษาและพัฒนาวนศาสตร์ ชุมชนที่ 3, สถาบันวิจัยและฝึกอบรมการเกษตรสกลนคร และได้ประสานความร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเกษตรกรรมนิเวศน์ภูพานโดยมีชุมชนที่เข้าร่วมเครือข่าย 22 ชุมชน จำนวน 289 คนโดยส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน การศึกษาและวิจัยการขยายพันธุ์ไม้พื้นบ้านที่มีอยู่รอบเทือกเขาภูพานและการแปรรูปพืชผักผลไม้พื้นบ้านโดยเฉพาะไวน์มะเม่าที่ราชมงคลสกลนคร (รม.) นำมาถ่ายทอดให้แก่กลุ่มแม่บ้านอินแปง เวลานี้ผลิตขายทำรายได้กว่า 70,000 บาท/เดือน ในปีต่อๆ มา กลุ่มก็เพิ่มความเข้มแข็งขึ้นไปอีก เมื่อหน่วยงานต่างๆได้เข้ามาให้การสนับสนุนไม่ว่าจะเป็น การผลิตยาสมุนไพรพื้นบ้านจากญี่ปุ่น จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงวิทย์ฯ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) จากกระทรวงเกษตรฯกระทรวงวิทย์ฯ จากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (UNDP) จากกระทรวงเกษตรฯและจากกองทุนทางสังคม (MENU 5)
ปัจจุบันเครือข่ายอินแปงได้ขยายเพิ่มขึ้นทุกปี ในปี’42มีสมาชิกในเครือข่ายพื้นที่รอบป่าเทือกเขาภูพาน 3 จังหวัด คือ สกลนคร กาฬสินธุ์ และอุดรธานี รวม 600 ครอบครัว และยังมีการขยายเครือข่ายต่อไป สรุปแนวคิดและภารกิจอินแปง ภูพานคือชีวิต หัวใจสำคัญของป่าภูพาน พบว่าป่าภูพานเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีความสำคัญต่อพี่น้องชาวอีสาน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ,อุดรธานี ,กาฬสินธุ์ ,มุกดาหารและนครพนม ที่มีลำห้วยสายสำคัญคือ ลำน้ำพุง ลำน้ำอูน ลำน้ำสงคราม ลำน้ำปาว ลำห้วยบางทราย ซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงสรรพสิ่งทั้งหลาย อีกทั้งป่าภูพานยังมีความหลากหลายของพันธุ์ไม้นานาชนิด มีไม่ต่ำกว่า 2,000ชนิด และเป็นต้นทุนมหาศาล เป็นโรงงานผลิต ออกซิเจน ( O2 )ให้ผู้คนได้หายใจ เป็นตลาดสดที่มีอาหารตามฤดูกาล หล่อเลี้ยงผู้คนพี่น้องชาวอีสาน มาเป็นเวลานาน " คนที่นี่ไม่ได้โตมาจาก ไก่พันธุ์ ไม่ได้โตจากผักคะน้า ผักกะหล่ำแต่เขาโตจากพืชผักพื้นบ้านที่อยู่ตามป่าตามดง เช่น ผักหวาน,ผักเม็ก,ผักติ้ว,ผักกูด ผักหนาม,หน่อไม้,เห็ด ฯลฯ อันเป็นปัจจัย 4 ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย สืบทอดกันมาหลายร้อยพันปี จนกลายมาเป็นวิถีชีวิตวัฒนธรรมประเพณีต่างๆ สืบต่อกันมาบนพื้นฐานการพึ่งพา การเคารพธรรมชาติ” ครั้งหนึ่งแค่ช่วงเวลา 30-40 ปีที่ผ่านมานี้มีการส่งเสริมให้ปลูกพืชเศรษฐกิจ ชาวบ้านจึง หันมาปลูกปอ,ปลูกมัน " ด้วยความอยากรวย น่าเชื่อไหมครับต้นไม้พะยูง ไม้ยาง ขนาด 5 – 6 คนโอบเป็นป่าเต็มไปหมด เราก็กล้าตัดเพื่อมาปลูกต้นปอ,ปลูกอ้อย ลำต้นเท่าหัวแม่มือ "โรงเรียนเขาก็ไม่เคยสอน เรื่องต้นไม้บ้านเราว่ามันมีคุณค่าอย่างไร เขาสอนแต่ มะม่วง,มะขามหวาน,มังคุด,ลำไย, ลิ้นจี้ "มันเป็นยุค คนหาแต่เงินอย่างเดียว ป่าหมดอาหารก็หมด 30-40 ปีมานี้เป็นช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง สุดท้ายบ้านแตกลูกหลานไม่อยู่บ้านไปทำงานกรุงเทพฯ ไปทำงานต่างประเทศลูกไปทางแม่ไปทางหาความสุขกันไม่ได้ เคยพึ่งพาอาศัยกันก็ลำบากขึ้น เป็นหนี้สิน เป็นยุคซาวหน้าซาวหลังของชาวนา เกิดความสับสนไม่รู้จะไปทางไหนดี” ในเวทีเสวนาของคนเฒ่าคนแก่ที่สะท้อนสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน ปี 2544 ขอบเขตของสมาชิก การทำงานในพื้นที่รอบเทือกเขาภูพานซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่ไหลลงไปหล่อเลี้ยงผู้คนหลายสาย ป่าภูพานเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่มีความสำคัญต่อพี่น้องชาวอีสาน โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดสกลนคร ,อุดรธานี ,กาฬสินธุ์ ,มุกดาหารและนครพนม ที่มีลำห้วยสายสำคัญคือ 1.ลำน้ำพุง 2.ลำน้ำอูน 3.ลำน้ำสงคราม 4.ลำน้ำปาว 5.ลำห้วยบางทราย มี 5 จังหวัด สกลนคร,กาฬสินธุ์,อุดรธานี,มุกดาหาร,นครพนม โครงการและกิจกรรม ยกป่าภูพานมาไว้สวน/ป่าครอบครัว (ภาพสวนพ่อเสริม,พ่อวาท,แม่หวิง) ป่าชุมชนและป่าเทือกเขาภูพาน (ภาพป่าบ้านบัว,หนองหมู,ภูท่าช้าง) วิสาหกิจชุมชน (โรงงานน้ำผลไม้อินแปง ภูพาน ข้าวฮาง,สมุนไพร) สถาบันการเงินและสวัสดิการชุมชน/ธนาคารอินแปง การสร้างผู้นำรุ่นใหม่
การสร้างสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน องค์ความรู้เครือข่ายที่ถ่ายทอดได้ การขยายพันธุ์ผักหวาน การแปรรูปน้ำผลไม้พื้นบ้าน การสร้างผู้นำรุ่นใหม่ การยกป่ามาไว้สวน การแปรรูปสมุนไพร ภารกิจอินแปง ในปี 2535 เครือข่ายอินแปงได้ตระหนักถึงเรื่องนี้หลังจากได้ดำเนินงานที่บ้านบัวมา 5 ปี เห็นว่าถ้าปล่อยให้ปัญหาต่าง ๆ รุนแรงจะทำให้ชุมชนลำบากมากยิ่งขึ้นจึงได้ปรึกษากันเพื่อขยายเครือข่ายในเมื่อเราทำประสบความสำเร็จก็อยากจะบอกพี่น้องต่อไป ใครมีพี่น้องอยู่ที่ไหนมีคนรู้ เป็นเสี่ยวอยู่บ้านไหนกไปชวนกันมาทำการเกษตรแบบนี้ขยายไปตามบ้านใกล้ก่อนแล้วก็ขยายกว้างขึ้นกว้างขึ้น และต่อมาในช่วงปี พ.ศ. 2538 – 2539 ก็มีหน่วยงานของรัฐให้ความสนใจและเห็นด้วยกับแนวทางการดำเนินงานก็เลยสนับสนุนเงินทุนเครื่องใช้เครื่องมือมากขึ้น ตามลำดับ” จนกลายมาเป็นเครือข่ายคนรอบป่าภูพาน 4 จังหวัด คือ จังหวัดสกลนคร, อุดรธานี, กาฬสินธุ์ และจังหวัดมุกดาหาร จำนวน 88 องค์กร 74 ตำบล 795 หมู่บ้านในปัจจุบัน เป็นการร้อยคนรวมใจคนภูพานเข้ามาเป็นพี่น้องกันที่จะสร้างแนวคิดการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนเพื่อการพึ่งตนเองบนฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยจุดเริ่มต้นคือการนำพันธุ์ไม้พื้นบ้านมาปลูกไว้ในสวน มีตัวอย่างสำคัญ เช่น สวนพ่อเขียน ศรีมุกดา (ปัจจุบันได้เสียชีวิตแล้ว) มีที่ดิน 6 ไร่ ปลูกพืชทั้งหมด 175 ชนิด ผมปลูกแบบเอาตัวอย่างมาปลูกสังเกตต้นไม้ต่าง ๆ ว่าต้นอะไรไหนเกิดอย่างไรชอบอยู่กับต้นอะไรก็เอามาปลูกเช่นนั้น พ่อเขียน กล่าวไว้เมื่อคนมาดูงานซักถามการทำเกษตรสวนพ่อเขียน "นี่เป็นที่มาของต้นแบบแนวคิดหลักของเครือข่ายอินแปง 4 ประการ คือ การยกป่าภูพานมาไว้สวน : คือการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร เราต้องเปลี่ยนอาชีพการปลูกพืชเดี่ยวมาเป็นปลูกพืชผสม หัวใจการรักษาป่าภูพานไม่ใช่ห้ามคนเข้าป่าแต่มันคือการสร้างแนวคิดให้เห็นคุณค่าของป่าและสร้างความมั่นคงด้านปัจจัย 4 ในครอบครัว ยกป่าภูพานมาไว้สวน คือการนำเอาเมล็ดของพืชในป่าภูพานลงมาเพาะแล้วปลูกในไร่นาสวนตนเอง ปลูกให้เหมือนแบบป่าไม้ใหญ่ไม้น้อยไม้เครือไม้ชั้นล่างผสมผสานกันลงไป ชาวบ้านเรียกกันว่า "ปลูกแบบสำมะปิ” เป็นการสร้างป่าในไร่นาสวนตนเอง ปัจจุบันมีตัวอย่างที่เป็นผู้นำแบบรอบป่าภูพานไม่ต่ำกว่า 1,000 ครอบครัวที่หันมา ทำการเกษตรแบบป่า ทำให้ครอบครัวมีอยู่มีกิน ไม่ต้องไปวิ่งหาเงิน ทำการเกษตรแบบนี้มีเงินมาหาเป็นการเกษตรแบบกินตลอดชีวิตและมีสวัสดิการยามแก่เฒ่าได้ ที่สำคัญไม่มีการบุกรุกป่าต่อไปสำหรับคนทำการเกษตรเช่นนี้ การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เน้นการแปรรูปเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของ เป็นการเพิ่มมูลค่าผลผลิตและทรัพยากรของตนเอง มุ่งผลิตสินค้าธรรมชาติที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ทั้งนี้วิสาหกิจที่เกิดขึ้นมีเป้าหมายการผลิตเพื่อทดแทนในชุมชนเป็นหลัก โดยส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีงานทำและมีรายได้ในชุมชนรวมทั้งพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านการแปรรูปแบบครบวงจร ตามแนวทางการพึ่งพาตนเองของเครือข่ายอินแปง ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเครือข่าย อาทิ เช่น น้ำหมากเม่าและไวท์บ้านบัว, บ้านโนนคอกวัว, บ้านโนนหัวช้าง, บ้านไทรทอง มีชื่อเสียงมาก ขนมบ้านกุดบาก, น้ำปลาบ้านหนองสองหาง, บ้านดงหม้อทองใต้, ปลาร้าจากแม่น้ำสงคราม ต. โพนงาม ว่าและผลิตภัณฑ์จากว่าน พี่น้องชาวบรู (โซ่) ต. โพธิไพศาล ปุ๋ยชีวภาพ ต. หนองหญ้าไซ ของใช้สบู่, น้ำยาล้างจาน, ยาสระผม, ต. กุดเรือคำ ต. ทรายมูล บ้านจัดระเบียบ ฯลฯ ซึ่งได้มาจากทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นที่ชุมชนได้ร่วมกันจัดการใหม่ให้มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพ การสร้างสถาบันการเงินและสวัสดิการชุมชน : มุ่งสร้างสถาบันการเงินของชาวนาโดยการระดมทุนออมทรัพย์ จากชุมชนมีเป้าหมายสร้างระบบสวัสดิการแก่ชุมชนเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน เช่น ค่าเจ็บไข้ ป่วย ตาย มีต้นแบบที่บ้านหนองสะไน บ้านบัว กุดแฮด, กลุ่ม วนเกษตรภูพาน เป็นต้น
การสร้างสถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน : เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของอินแปง โดยการสร้างแนวคิดการพึ่งตนเองฐานภูมิปัญญาไท สร้างความเป็นพี่น้องเน้นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศปีละไม่ต่ำกว่า 5,000 คน ปัจจุบันเครือข่ายอินแปง มีการพัฒนาและสร้างองค์ความรู้ของชุมชน เช่น หลักสูตรการเกษตรแบบยั่งยืน, หลักสูตรเด็กและเยาวชนฮักถิ่น, หลักสูตรสุขภาพชุมชน, หลักสูตรการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ฯลฯ ภาระกิจทั้ง 4 ประการนี้ ก่อให้เกิดการสร้างแหล่งอาหาร การเห็นคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า, การทดแทนการนำเข้า การเป็นเจ้าของกิจการของชุมชน การมีงานทำและรายได้ การสร้างระบบทุนชุมชนมีระบบสวัสดิการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน การมีความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจในภูมิปัญญาไท การมีพี่น้องสานสายสัมพันธ์ตลอดจนมีการสืบทอดแนวคิดและอุดมการณ์สู่คนรุ่นใหม่ก่อให้เกิดการพึ่งตนเองในที่สุด หลักการบริหารเครือข่ายอินแปง หลักการบริหารเครือข่ายอินแปง การจัดการเครือข่ายอินแปงเน้นลักษณะเฉพาะตามความเหมาะสมภายในท้องถิ่นแต่ละแห่ง สร้างสรรและใช้แนวคิดเกี่ยวกับการพึ่งพาตนเอง เช่น การมีอยู่มีกิน การช้ภูมิปัญญาในการรักษาโรค การผลิตเครื่องใช้สอย การทอผ้า เป็นต้น การบริหารงานจะให้ความเป็นอิสระแก่เครือข่ายในแต่ละเขต ซึ่งมีลักษณะดังนี้ 3.1 การจัดการบิหารงานศูนย์อินแปงจะเป็นเพียงตัวประสานงาน และเป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูล ในการบริหารเครือข่ายนั้นจะเน้นระดับตำบล ซึ่งการบริหารในระดับตำบลนั้นจะจัดการอย่างเป็นอิสระโดยในทุก ๆ 3 เดือนจะมีการประชุมตัวแทนในระดับตำบลที่ศูนย์อินแปง เพื่อที่จะเสนวนา สรุปผลในการปฏิบัติภายในเครือข่ายในรอบ 3 เดือน และในบางเขตอาจจะมีการบริหารงานในระดับอำเภอ ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรยั่งยืน และในบางกิจกรรม อาจมีระดับหมู่บ้าน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ นอกจากนี้ในการบริหารภายในเครือข่ายนั้นจะต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ 3.2 เน้นกลุ่มทในระดับตำบล ซึ่งมีลักษณะดังนี้ – มีการจัดตั้งคณะกรรมการเขต – มีการแลกเปลี่ยนความรู้โดยการจัดตั้งเวทีชาวบ้าน ทุก ๆ 1 เดือน โดยอาจมีการเชิญวิทยากรเฉพาะด้านในเครือข่ายมาให้ความรู้ – ภายในเขตตำบลจะมีการจัดตั้งกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กลุ่มออมทรัพย์ ฌาปนกิจศพ โรงงานปุ๋ยหมัก เป็นต้น – ในบางเขตอาจจัดตั้งกลุ่มในระดับอำเภอ เช่น อำเภอนิคมน้ำอูน และในบางหมู่บ้านอาจมีการจัดตั้งในระดับหมู่บ้านขึ้นอยู่กับความเหมาะสม – ในแต่ละเขตตำบลนั้นบางหมู่บ้านอาจจะไม่ได้เข้าเป็นเครือข่ายทั้งตำบล สาเหตุในการบริหารในระดับตำบล การจัดตั้งในระดับตำบลนั้นจะมีความหลากหลายในองค์ความรู้มากกว่าในระดับหมู่บ้าน เช่น อาชีพ ปัญหาในชุมชน ภูมิปัญญา ทรัพยากร เป็นต้น ครัวเรือนในหมู่บ้านมีจำนวนคนน้อยและเมื่อรวมกลุ่มแล้วผลที่ได้ไม่คุ้มกับการจัดตั้งกลุ่ม เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลและความเหมาะสมกับชุมชน การสร้างความเข้มแข็งในชุมชนของเครือข่าย อาทร จะมีการเพาะปลูกพืชเกษตรยั่งยืนหรือเกษตรสำมะปิ การแปรรูป เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ เช่น โรงงานไวน์ สมุนไพร สวัสดิการจะมีการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ สร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชน หน้าที่ของศูนย์อินแปง เผยแพร่ความรู้/แลกเปลี่ยนความรู้ เช่น การจัดหลักสูตรมหาวิทยาลัยชีวิต เป็นตัวประสานเครือข่าย