เซิ้งผีตาโขนบ้านไฮหย่อง

ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีเซิ้งผีตาโขน บ้านไฮหย่อง

ที่ตั้ง บ้านไฮหย่อง หมู่ 1 ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ลักษณะทางกายภาพ

สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร ประชาชนอาศัยเป็นกลุ่มๆ เป็นคุ้ม มีลำห้วยปลาหางไหลผ่าน ตำบลไฮหย่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอพังโคนห่างจากจังหวัดสกลนคร ประมาณ 50 กิโลเมตร พื้นที่ 30,744 ไร่ โดยแบ่งปกครองออกเป็น 18 หมู่บ้าน

ผีโขน หมายถึง การแต่งหน้ากากคล้ายหัวโขน คือแต่ง หู ตา จมูก ปาก ให้น่ากลัวคล้ายผี ไม่เพียงแต่เท่านั้น ยังจัดทำทรงผม เครื่องห่อหุ้มร่างกายให้ รกรุงรัง คล้ายผีมากขึ้น เป็นงานบุญเฉพาะอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร

ผีตาโขน หมายถึง การละเล่นของงานบุญหลวงซึ่งเป็นงานบุญเฉพาะท้องถิ่นของ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และยังเป็นความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องส่งพระเวสสันดร กลับพระนคร โดยพวกผีตาโขน จะร่วมขบวนตามมาส่งเสด็จซึ่งเป็นขบวนสุดท้าย ในสมัยก่อนเรียกว่า "ผีตามคน" พอนานเข้าก็เพี้ยนมาเป็น "ผีตาโขน" ดังที่ใช้เรียนในปัจจุบันผีโขนเกิดจากความเชื่อของชนเผ่าหนึ่งในจังหวัดสกลนคร คือ เผ่าไท อีสาน ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งในจำนวน 6 เผ่า ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งประกอบไปด้วย เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าภูไทย เผ่าโส้ และเผ่าไทยอีสาน การเล่นผีโขน บ้านไฮหย่อง จึงสืบมรดกวัฒนธรรมประเพณีต่อกันมา ดังปรากฎว่า บรรดาผีมเหสักข์หลักเมือง ในบ้านไฮหย่องมีชื่อว่า "ผีจันต์" อยู่ในกลุ่มผีระดับสูงด้วย ที่เข้าร่วมขบวนแห่พระเวสสันดร

ปัจจุบันเผ่าไทอีสาน ที่บ้านไฮหย่อง จ.สกลนคร ยังสืบทอดการแสดงผีโขนต่อมาจนถึงปัจจุบัน

ประเพณีผีโขนบ้านไฮหย่อง ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งเป็นวันจัดขบวนแห่ผีโขนที่ยิ่งใหญ่

จุดประสงค์การแสดงผีโขน

1. เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี การบำเพ็ญกุศลของพระเวสสันดรชาดกในอดีตกาล เพื่อเป็นข้อเตือนใจว่า การเป็นคนดีมีคุณธรรมมีน้ำใจเกื้อกูลต่อผู้อื่น เสียสละ บริจาค ให้อภัยซึ่งกันและกัน แม้กรณีทั้งภูตผีปีศาจ ก็ยังแซ่ซ้องสรรเสริญ เข้าร่วมขบวนแห่อัญเชิญพระเวสสันดรเข้าเมืองด้วย

2. เพื่อเป็นการบอกบุญ พุทธศาสนิกชน ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำบุญบริจาคทานก่อนถึงวันงานประเพณีบุญมหาชาติ โดยใช้ผีโขน แห่ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ

3. ผีโขน เป็นส่วนหนึ่งของงานบุญมหาชาติที่สำคัญ ซึ่งทำให้งานเกิดความครึกครื้น สนุกสนาน

4. เพื่อเป็นการพบปะสังสรรค์ ในหมู่ญาติมิตร เพื่อนฝูงในรอบหนึ่งปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นวันกลับคืนสู่มาตุภูมิของคนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมพิธีในการแสดงผีโขน

การประกอบพิธี

1. ก่อนที่ผีโขนจะนำขบวนเพื่อไปบอกบุญตามหมู่บ้านต่างๆ จะต้องคาระวะต่อศาลเจ้าปู่เมืองหาญ

2. ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชา ของคนในหมู่บ้านไฮหย่อง

3. การร่วมพิธีของผีโขนจะมีหัวหน้าผีเป็นผู้ควบคุมโดยใช้เชือก ล้อมผีโขนไว้เพื่อไม่ให้แตกกลุ่มไปรบกวนชาวบ้านที่ร่วมขบวนแห่

4. ในขณะที่เคลื่อนขบวนแห่ จะมีหัวหน้าผีเป็นผู้ร้องนำ ซึ่งเรียกว่า "การเซิ้งผีโขน" และผีโขนจะร้องตามหัวหน้าทีละวรรค เนื้อหาคำเซิ้งจะมีลักษณะเป็นกาพย์ เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับนิทานสอนใจ คติเตือนใจ เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ผู้ฟัง

การเซิ้งผีโขน จะมีเครื่องดนตรีประกอบการเซิ้ง ได้แก่ กลองตุ้ม ฉิ่ง ฉาบ หมากจันทร์


5. ข้อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผีโขนบ้านไฮหย่อง ต.พังโคน จ.สกลนคร กับ ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย

1. ความแตกต่างของขบวนแห่ ผีโขนบ้านไฮหย่อง เป็นขบวนแห่ที่มีอยู่เพียง 3 – 4 ขบวน ซึ่งคงความเป็นงานบุญแบบโบราณ แต่ผีตาโขน อ.ด่านซ้าย จ.เลย เป็นขบวนที่ใหญ่มาก มีการตกแต่งสีสันของขบวนแห่ต่าง ๆ ให้สวยงาม มีขบวนแห่ที่ยาวมาก นอกจากนี้ยังมีการประกวดขบวนผีตาโขน การประกวดการเต้นผีตาโขน และเป็นงานประจำปีของอำเภอ

2. ความแตกต่างของบทเซิ้งผีโขน บ้านไฮหย่องจะมีบทเซิ้งผีโขนแต่ผีตาโขนอำเภอด่านซ้ายจะไม่มี

รูปแบบการเตรียมงาน บ้านไฮหย่องจะมีการเตรียมงานล่วงหน้าประมาณ 45 วัน โดยมีการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อมอบหมายหน้าที่ตามความสามารถของแต่ละคน แต่ อ.ด่านซ้าย จ.เลย นั้นประเพณีผีตาโขนเป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและถือเป็นงานประจำปีของอำเภอ ดังนั้นการเตรียมงานจึงต้องมีหลายส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมนอกจากนี้ยังได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวนมาก

การเซิ้งผีโขนอำเภอพังโคน

การเซิ้งผีโขนเป็นการเซิ้งในงานประเพณีบุญมหาชาติ หรือบุญพระเหวด หรือบุญพระเวสสันดร ของชาวบ้านไฮหย่อง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ซึ่งจัดขึ้นในวันขึ้น 14 - 15 เดือน 5 ของทุกปี ศูนย์อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม โรงเรียนพังโคนวิทยาคม ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวข้องกับการเซิ้งผีโขนไว้ดังนี้ “ การเซิ้งผีโขนเป็นการละเล่นอีกแบบหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนการเซิ้งบ้องไฟหรือเซิ้งแบบอื่น ๆ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่บ้าน ไฮหย่องเล่าว่า… ปางเมื่อพระเจ้าสนชัย พระบิดาของพระเวสสันดร เสด็จไปเชิญพระเวสสันดรกลับพระนครนั้น ได้จัดขบวนแห่มากมาย ในบรรดาขบวนแห่นั้น ได้มีเทวดา มนุษย์ สมณะชีพราหมณ์ รวมทั้งผีต่าง ๆ เข้าร่วมขบวนแห่ โดยที่พวกผีต่าง ๆ เหล่านั้นได้ไปขอผ้านุ่งห่มของพระศรีอริย์เจ้า ซึ่งท่านไม่ใช้นั้นมาห่อหุ้มร่างกาย

เพื่อปกปิดส่วนที่น่ารังเกียจเข้าร่วมขบวนแห่พระเวสสันดร การเล่นผีโขนจะทำก่อนบุญมหาชาติ พวกที่เล่นผีโขนจะต้องเป็นผู้ชายล้วน ๆ จะพากันจัดแจงหาเครื่องดนตรี หน้ากากผี เสื้อผ้า รวมทั้งดาบผีโขน พอได้ครบแล้วก็จะนัดวันรวมกัน มีหัวหน้าเป็นผู้นำออกเรี่ยไรจุตุปัจจัยตามหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อนำมาสมทบในงานบุญมหาชาติ นิยมทำก่อน 5 - 6 วัน พอถึงวันบุญ พวกผีโขนก็จะออกเรี่ยไรตามหมู่บ้านของตนเอง การเต้นของผีโขน ขบวนที่แห่ไปตามที่ต่าง ๆ นั้น ไม่จำกัดรูปแบบ จะเดินไปเต้นไปตามเสียงดนตรี เต้นไปตามชอบใจ คือทำตัวให้เหมือนผีมากที่สุด และจะมีบทร้องเซิ้งเป็นกาพย์ ซึ่งมีผู้ร้องนำและผู้ร้องตามหลายคน ในตอนเชิญพระเวสสันดรนั้น คณะกรรมการก็จะจัดพวกผีเข้าร่วมขบวนแห่ โดยเอาเชือกผูกเป็นวงผีจะอยู่เฉพาะในวงเชือกเท่านั้น พอแห่ไปถึงวัดเป็นอันเสร็จงาน พวกผีเหล่านั้นก็จะพากันเอาหน้าผีนั้นไปเก็บไว้ จะไม่นำมาสวมเล่นอีกเลย จนกว่าจะถึงบุญมหาชาต (การแสดงผีโขน, ผู้ที่แต่งเป็นผีผู้ชายต้องให้ครบ 6 ปี ส่วนผู้ที่แต่งเป็นหญิงต้องให้ครบ 3 ปี ถ้าครบเชื่อว่าจะได้บุญกุศล ถ้าไม่ครบเชื่อว่าจะกลายเป็นเปรตเมื่อตายไปแล้ว) การแต่งตัวของผีโขน หน้าผี ทำจากต้นนุ่น (ไม้งิ้ว) ขุดเป็นรูปหน้ากว้างประมาณ 30 ซม. คือจะกว้างจากหัวไหล่ซ้าย ไปหัวไหล่ขวา ยาวประมาณ 50 ซม. คือจะยาวถึงสะดือ หรือเอวแล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล หน้าผีจะวาดให้เป็นรูปผีน่ากลัว ตาจะโต ฟันจะใหญ่ จมูกจะโด่ง ใบหูใหญ่ทำด้วยสังกะสีเป็นรูปสามเหลี่ยม พอสมควรกับหน้า ผมจะทำจากเชือกปอกกล้วยที่แห้งแล้ว นำมา ถักเปียใส่เข้ากับหน้าผี ผมยาวถึงน่อง หรือตาตุ่ม เสื้อ ทำจากผ้าสบงจีวรเก่าของพระสงฆ์ที่ไม่ใช้แล้ว ไปขอมาจากพระที่วัด ตัดเป็นเสื้อคอกลม แขนยาว ลำตัวของเสื้อจะยาวไปถึงตาตุ่ม ย้อมเป็นสีเหลืองอมดำ หรือสีม่วงเหลือง ดาบ ทำจากไม้นุ่น ( ไม้งิ้ว) ให้โตพอเหมาะมือ ตรงปลายดาบทำให้เหมือนกับอวัยวะเพศของชาย และนิยมทาสีแดงตรงปลายและใส่ผมเข้าไปด้วย เครื่องดนตรี เป็นเครื่องดนตรีที่หาได้ง่าย ๆ จากพื้นบ้าน และนิยมเอาเครื่องใช้ของสัตว์มาทำเป็นเครื่องดนตรี ที่สำคัญคือ กลอง ทำจากหนังควาย จัน หรือ โปง ลักษณะคล้ายกระดิ่งนำมามัดรวมกันเป็นพวงใช้สั่นให้เข้ากับจังหวะ มีเสียงกังวาน ( สมัยก่อนใช้คล้องคอวัวควาย) ในการนำมาเล่นจะใช้หลาย ๆ พะวง เป็นเครื่องดนตรีเอกของการเล่นผีโขน พิณ หรือ ซึง ใช้ดีดเข้าจังหวะ หรือบทเซิ้ง มี 3 สาย เขาะ หรือ เกาะ ที่ใช้แทนเสียงดนตรีได้ ข้างในมีลูกทำให้เกิดเสียง…”


ผีตาโขน เซิ้งผีโขน บ้านไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร ผีโขน หมายถึง การแต่งหน้ากากคล้ายหัวโขน คือแต่ง หู ตา จมูก ปาก ให้น่ากลัวคล้ายผี ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังจัดทรงผม เครื่องห่อหุ้มร่างกายให้รกรุงรัง คล้ายผีมากขึ้น เป็นงานบุญเฉพาะอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร



บรรดาผีมเหสักข์หลักเมือง ในบ้านไฮหย่องมีชื่อว่า “ผีจันต์” อยู่ในกลุ่มผีระดับสูงด้วย ที่เข้าร่วมขบวนแห่พระเวสสันดร ปัจจุบันเผ่าไทอีสาน ที่บ้านไฮหย่อง จ.สกลนคร ยังสืบทอดการแสดงผีโขนต่อมาจนถึงปัจจุบัน ประเพณีผีโขนบ้านไฮหย่อง




วัฒนธรรมเซิ้งผีโขน พังโคนเมืองไก่ย่าง เขื่อนกว้างลำน้ำอูน ถิ่นสมบูรณ์จำปาชนบท

หนึ่งเดียว!!! ในจังหวัดสกลนคร

ประเพณีเชิ้งผีโขน บุญพระเวสสันดร ประจำปี 2562 บ้านไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร


ผีโขนเกิดจากความเชื่อของชนเผ่าหนึ่งในจังหวัดสกลนคร คือ เผ่าไทอีสาน ซึ่งเป็นชนกลุ่มหนึ่งในจำนวน 6 เผ่า ของจังหวัดสกลนคร ซึ่งประกอบไปด้วย เผ่าย้อ เผ่ากะเลิง เผ่าภูไทย เผ่าโส้ และเผ่าไทยอีสาน การเล่นผีโขน บ้านไฮหย่อง จึงสืบมรดกวัฒนธรรมประเพณีต่อกันมา ดังปรากฎว่า บรรดาผีมเหสักข์หลักเมือง ในบ้านไฮหย่องมีชื่อว่า “ผีจันต์” อยู่ในกลุ่มผีระดับสูงด้วย ที่เข้าร่วมขบวนแห่พระเวสสันดร ปัจจุบันเผ่าไทอีสาน ที่บ้านไฮหย่อง จ.สกลนคร ยังสืบทอดการแสดงผีโขนต่อมาจนถึงปัจจุบัน




ผีตาโขน เซิ้งผีโขน บ้านไฮหย่อง อ.พังโคน จ.สกลนคร ผีโขน หมายถึง การแต่งหน้ากากคล้ายหัวโขน คือแต่ง หู ตา จมูก ปาก ให้น่ากลัวคล้ายผี ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังจัดทรงผม เครื่องห่อหุ้มร่างกายให้รกรุงรัง คล้ายผีมากขึ้น เป็นงานบุญเฉพาะอำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร



ประเพณีผีโขนบ้านไฮหย่อง ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งเป็นวันจัดขบวนแห่ผีโขนที่ยิ่งใหญ่ จุดประสงค์การแสดงผีโขน เพื่อระลึกถึงคุณงามความดี การบำเพ็ญกุศลของพระเวสสันดรชาดกในอดีตกาล เพื่อเป็นข้อเตือนใจว่า การเป็นคนดีมีคุณธรรมมีน้ำใจเกื้อกูลต่อผู้อื่น เสียสละ บริจาค ให้อภัยซึ่งกันและกัน แม้กรณีทั้งภูตผีปีศาจ ก็ยัง แซ่ซ้องสรรเสริญ เข้าร่วมขบวนแห่อัญเชิญ พระเวสสันดรเข้าเมืองด้วย เป็นการบอกบุญ พุทธศาสนิกชน ผู้ที่เลื่อมใสในพุทธศาสนา ได้มีโอกาสเข้าร่วมทำบุญบริจาคทาน ซึ่งทำให้งานเกิดความครึกครื้น สนุกสนาน

ขอขอบคุณที่มา : https://www.mahatsachan.com/news/1186