ภูมิปัญญาท้องถิ่น

นางสายสุณี ไชยหงษา “ผ้าย้อมสีธรรมชาติจากมูลควาย”

ประวัติ ความเป็นมา

นางสายสุณี ไชยหงษา ประธานกลุ่มผ้าย้อมสีธรรมชาติจากมูลควาย ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ว่า บ้านนาเชือก ตำบลแร่ อำเภอพังโคน เป็นหมู่บ้านที่ห่างจากตัวอำเภอพังโคนประมาณ ๒๔ กิโลเมตร โดยทำเลที่ตั้งของหมู่บ้านติดกับลำน้ำอูน ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ (วัวควาย) เพราะที่ตั้งของหมู่บ้านนั้นเป็นที่ราบสูง ไม่สามารถปลูกข้าวได้ถ้าหากว่าปีไหนฝนแล้ง ก็ไม่มีน้ำทำนา ปีใดฝนตกชุกปีนั้นก็น้ำท่วม จึงทำให้หนุ่มสาว ที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านนี้ไปทำงานที่กรุงเทพมหานคร ฯ แต่ด้วยพิษของเศรษฐกิจทำให้หนุ่มสาวกลุ่มนั้นหนีจากเมืองกรุงกลับออกมาทำมาหากินที่บ้านเกิด บ้านนาเชือกเป็นหมู่บ้านที่มีความสามัคคี มีผู้นำที่เข้มแข็ง และมีความร่วมมือกันภายในชุมชน ในรูปแบบ “บวร” บ้าน วัด โรงเรียน ซึ่งชาวบ้านในบ้านนาเชือกมีความต้องการสร้างกลุ่มอาชีพเสริม เพื่อนำรายได้มาจุนเจือครอบครัวอีกทางหนึ่ง และเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในการทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชนบ้าง จึงหารือกันว่าควรจะไปปรึกษาพระสงฆ์ที่ เคารพนับถือ คือพระอาจารย์ฉัฏฐานกรมหาภิญโญภิกขุ แห่งวัดป่าภูมิธนารักษ์ธรรมาราม ตำบลแร่ อำเภอพังโคน ซึ่งท่านเป็นพระนักพัฒนาที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ ซึ่งเมื่อครั้งเป็นฆราวาสท่านคือดีไซเนอร์ ผู้รอบรู้เรื่องแฟชั่น พระอาจารย์ท่านก็บอกว่าพื้นฐานของคนในชุมชนนี้งานที่ถนัดคือการทอผ้า แต่ส่วนใหญ่ทอผ้าเพื่อไว้ใช้เองไม่ได้คิดที่จะจำหน่าย จึงได้ให้แนวคิดว่าปัจจุบันโลกร้อนขึ้น ถ้าจะทำผลิตภัณฑ์อะไรก็น่าจะหันมาใช้วัตถุดิบที่มาจากธรรมชาติ ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมหาได้ง่ายในท้องถิ่นมาผลิตสินค้าและสามารถจำหน่ายได้ ตอนนั้นคิดถึงสีที่มาจากธรรมชาติ หลายความคิดผุดขึ้นมา แต่ล้วนเป็นความคิดที่ว่ามีผู้ผลิตเป็นเจ้าของตลาดอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งถ้าทำตามคนที่ทำอยู่ก่อนแล้วโอกาสก้าวหน้าคงไม่ไปถึงไหน จนกระทั่งได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ว่าควรจะนำมูลควายมาทำการย้อมผ้า ตอนที่ท่านพระอาจารย์บอกไม่รู้ว่าท่านพูดจริงหรือพูดเล่น แต่ท่านก็บอกว่าแต่ก่อนก็เคยมีการนำมูลควายมาย้อมผ้ากัน ซึ่งการย้อมผ้าก็จะมีกระบวนการหมัก และการที่ควายกินหญ้าลงไปอยู่ในท้องก็เปรียบเสมือนการหมัก แต่ถ้านำมูลควายมาผ่านขั้นตอนและกระบวนการในการย้อมผ้าก็จะทำให้เนื้อผ้าไม่มีกลิ่นของมูลควาย สีที่ได้จะติดทนนาน เนื้อผ้าจะนุ่มและไม่ระคายเคืองเวลาสวมใส่ ก่อนที่จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป หลังจากย้อมสีธรรมชาติจากมูลควาย แล้วนั้น ยังสามารถนำกากหรือมูลควายที่เหลือจากการย้อมสีผ้ามาทำเป็นปุ๋ยหมักเพื่อเก็บไว้ใช้ในครัวเรือนต่อไปซึ่งถือได้ว่าเป็นการรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้อยู่คู่กับชุมชนแบบยั่งยืนตลอดไป

กลุ่มผ้าย้อมสีธรรมชาติจากมูลควาย บ้านนาเชือก ตำบลแร่ อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ มีสมาชิกเริ่มแรก ๑๒ คน โดยลงหุ้นกัน เรือนหุ้นละ ๑๐๐ บาท รวมเป็นเงิน ๑,๒๐๐ บาท และได้นำเงินไปซื้อวัสดุมาทอผ้า เช่น ฝ้ายดิบ ในครั้งแรกที่เริ่มทำทางสมาชิกในกลุ่มไม่ได้คิดค่าแรงแต่อย่างใดแต่จะช่วยกันผลิตสินค้าขึ้นมา และช่วยกันนำสินค้าที่ผลิตได้ออกจัดจำหน่ายตามหน่วยงานราชการต่าง ๆ ทั้งภายในจังหวัดและนอกจังหวัด ตลอดทั้งทางกลุ่มได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาใหม่เรื่อย ๆ เพื่อให้มีคุณภาพและตรงตามความต้องการของตลาด


หลังเหตุการณ์ฟองสบู่แตกในปี 2540 ผลผลิตภาคการเกษตรตกต่ำ ชาวบ้าน นาเชือก จ.สกลนคร ต้องประกอบอาชีพเสริม นางสายสุนีย์ ไชยหงสา และชาวบ้านจึงเดินทางไปกราบขอคำแนะนำจาก พระอาจารย์ฉัฐกรณ์ มหาภิญโญภิกขุ ท่านแนะนำให้ทำผ้าย้อม สีธรรมชาติที่แตกต่างและไม่ส่งผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม เพราะการใช้เปลือกไม้ก็ต้องทำลายต้นไม้ จนกลายมาเป็นการย้อมมูลควาย


ผ้าย้อมมูลควาย บ้านนาเชือก จ.สกลนคร

กลุ่มทอผ้าย้อมสีธรรมชาติบ้านนาเชือก (มูลควาย) จ.สกลนคร ซึ่งเป็นแหล่งผลิตผ้าย้อมมูลควายใหญ่ที่สุดในประเทศ ไอเดียนี้เกิดจากความร่วมมือระหว่างพระสงฆ์ กับชาวบ้านช่วยคิดช่วยทำ จนก่อเกิดเป็นธุรกิจในชุมชน


ปัจจุบันผ้าย้อมมูลควายกลายเป็นผลิตภัณฑ์สร้างชื่อเสียงและสร้างรายได้ให้กับสมาชิก พร้อมการจัดแสดงสินค้าตามหน่วยงานต่างๆ อาทิ งานโอท็อป งานนิทรรศการที่จังหวัด ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้ให้กับชุมชน เกิดผลิตภัณฑ์มากมาย อาทิ ผ้าคลุมไหล่ ผ้าพันคอ หมวก เสื้อ ที่นอนเพื่อสุขภาพ กระเป๋า รวมถึง ตุ๊กตาควายที่ถือเป็นสัญลักษณ์ของผ้าย้อมมูลควายบ้านนาเชือกอีกด้วย


” ตุ๊กตาควาย ” ผลิตภัณฑ์จากผ้าย้อมมูลควาย

ภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรือ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผ้าย้อมมูลควาย เป็นภูมิปัญญาของท้องถิ่นของบ้านนาเชือก หมู่ที่ 9 ตำบลแร่ อำเภอพังโคนจังหวัดสกลนคร เป็นหมู่บ้านที่เข้าร่วมโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย วท. ภายใต้ชื่อ “หมู่บ้าน ทอ ถัก จัก สาน”จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าจากการย้อมสีธรรมชาตฺิ ที่มาจากมูลควาย ดิน ที่เปลี่ยนปฏิกูลไร้มูลค่า ให้กลายเป็นสินค้าเครื่องนุ่งหุ่มสร้างรายได้ให้ชุมชน ซึ่งถือเป้น ภูมิปัญญาดั้งเดิมของท้องถิ่น และได้นำความรู้ทางด้าน วทน. ไปพัฒนาสินค้า จนมาเป้นแบรนด์ดัง “ก้อฝ้าย Kofay” นั่นเอง



ในเวลาต่อมากลุ่มผู้นำบ้านนาเชือกจึง เข้ามาพบคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร และเห็นบรรจุภัณฑ์ไม้ไผ่ของ ดร.เดือนรุ่ง สุวรรณโสภา จึงขอให้ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องการสร้างอาชีพ โดยเริ่มต้นจากเทคนิค การย้อมสีฝ้ายให้สม่ำเสมอ จากปราชญ์ ชาวบ้านที่มาให้คำแนะนำอบรมให้กลุ่มผ้าย้อมสีธรรมชาติแล้วพัฒนาเป็นหมู่บ้านวิทยาศาสตร์และหมู่บ้านราชมงคล นำไปสู่ 1 ใน 11 หมู่บ้านท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยกระทรวงอุตสาหกรรมด้วยธรรมชาติที่งดงามและมีวัฒนธรรมชุมชนที่เอื้ออารีต่อกัน



ภูมิปัญญาชาวบ้าน

1.ประเภท : การทอผ้า การทอผ้ามัดหมี่ การจักสาน การย้อมคราม หมอสมุนไพร การนวด

2.แหล่งที่มา: สืบทอดจากรุ่นพ่อแม่ ปู่ย่าตายาย

3.การเปลี่ยนแปลง: มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านภูมิปัญญา โดยจํานวนชาวบ้านที่มีความรู้ภูมิปัญญาหลายอย่างมีจํานวนไม่มากและไม่มีการสืบทอด หรือการ ประกอบอาชีพตามภูมิปัญญา ทีมี

4.การสืบทอด : บางภูมิปัญญามีการสืบทอดโดยการถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่รุ่นลูก รุ่นหลาน เช่น การทอผ้า แต่หลายภูมิปัญญาก็ยังไม่มีผู้สืบทอด เช่น หมอสมุนไพร