ประเพณี ผีหมอเหยา

มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

ประเพณีหมอเหยาหรือเลี้ยงผีหมอ เป็นประเพณีชาวอีสาน จัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม ตามประเพณีเชื่อว่าหากได้ทำบุญเลี้ยงผีหมอตนเอง ชาวบ้าน จะมีความอุดมสมบูรณ์ มีความสุขความเจริญ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

ในพิธีหมอเหยาหรือเลี้ยงผีหมอ จะมีการจัดเตรียมสิ่งของ เครื่องเช่นไหว้ อาหารคาวหวาน ตามประเพณี มีการจัดกิจกรรมรื่นเริงร่ายรำ ประกอบดนตรีพื้นบ้าน


นางก้าน หล้าพรหม เป็นชาวบ้านโนนสามัคคี หมู่ที่ ๖ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร เป็นผู้ที่สืบทอด พิธีหมอเหยาหรือเลี้ยงผีหมอจากปู่ย่า ตายาย ซึ่งพิธีหมอเหยาหรือเลี้ยงผีหมอนี้จะทำในช่วงเดือน มกราคม ของทุกปี โดยนางก้านได้เล่าให้ฟังว่า ถ้าปีใดไม่ได้ทำพิธีเลี้ยงผีหมอ ปีนั้นก็จะมีการเจ็บป่วย ไข้ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นกับตนเอง แต่ถ้าได้ทำพิธีหมอเหยาหรือเลี้ยงผีหมอแล้ว ก็จะมีความสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ

ขั้นตอนการทำ

1. การเตรียมก่อนเริ่มพิธี สถานที่และเครื่องคายประกอบพิธี น้ำมนต์หรือน้ำหอม (น้ำธรรมดาใส่ขมิ้น) หรือใส่ดอกไม้ (ดอกจำปี) เหล้าขาว

2. การเชิญลงหรือการเทียม เป็นขั้นตอนการเชิญเทพญาดา บนฟ้า

3. การเหยาเลี่ยงทาย เป็นขั้นตอนที่หมอเหยาทำการเสี่ยงทายหาสาเหตุของอาการ เจ็บป่วย โดยใช้ไข่ไก่ดิบเป็นเครื่อง

4. การเรียกขวัญผู้ป่วย เป็นพิธีเรียกขวัญผู้ป่วยกลับ หมอเหยาจะลุกขึ้นคุกเข่าฟ้อนรำ

5. การลา เป็นการส่งให้เทพญาดาและผีต่าง ๆ ให้ออกจากร่างไปกลับไปยังถิ่นที่อยู่เดิม


ประโยชน์

เป็นพิธีกรรมหนึ่งในการรักษาสุขภาพของคนในชุมชน เป็นพิธีกรรมเพื่อติดต่อระหว่างผีกับคนให้ผีช่วยแก้ปัญหาความเดือนร้อน โดยเฉพาะการเจ็บไข้ได้ป่วย


การสืบสานต่อ

ประเพณีหมอเหยา หรือเลี้ยงผี เป็นประเพณีที่ผู้นำในชุมชนท้องถิ่นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนในการจัดกิจกรรมดังกล่าว