ภูมิปัญญา “เครื่องจักรสานไม้ไผ่”

ลุงสมพงษ์ กล่อมใจ

@หมู่บ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร รหัสไปรษณีย์ 47320

งานจักสานไม้ไผ่ เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาของชาวบ้านได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นความชาญฉลาดในการเลือกสรรวัตถุดิบ ที่จะนำมาใช้ทำผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ ซึ่งชาวบ้านจะมีความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัตถุดิบแต่ละชนิดเป็นอย่างดี ตลอดจนการนำมาดัดแปลงแปรสามารถนำมาใช้สอยได้ สิ่งเหล่านี้เป็นภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ชาวบ้านเรียนรู้สืบต่อกันมตั้งแต่บรรพบุรุษ จนทำให้เครื่องจักสานแต่ละชนิดมีรูปแบบ และประโยชน์ใช้สอยที่สมบูรณ์ลงตัวเครื่องจักสาน

นายสมพงษ์ กล่อมใจ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในด้านเครื่องจักสาน ปัจจุบันอายุ 65 ปี เป็นบุคคลต้นแบบของชุมชนและเป็นผู้นำในเรื่องการผลิตสินค้าโอท๊อปนววิถีของบ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร มีประสบการณ์ในเรื่องการแปรรูปจักรสานจากไม้ไผ่ มาแล้ว 25 ปี ปัจจุบันอาศัยอยู่บ้านเลขที่ 6 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านแป้น อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร

นายสมพงษ์ กล่อมใจ กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไป ทั้งนี้ไม้ไผ่เป็นพืชธรรมชาติที่ขึ้นอยู่ทั่วทุกภูมิภาคและเป็นภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น ที่นำไม้ไผ่มาแปรสภาพทำให้เครื่องจักสานถูกจัดได้ว่าเป็นปัจจัยจำเป็นอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในอดีตเครื่องจักสานไม้ไผ่เป็นภูมิปัญญาของคนในหมู่บ้านน้ำพุ ตำบลบ้านแป้น จังหวัดสกลนคร ที่มีมายาวนาน ในสมัยก่อนจะใช้แรงงานและฝีมือของตนเองเป็นส่วนใหญ่ นำไม้ไผ่มาช่วยในการมัด ผูก จักสานต่างๆ มักจะทำกันในเวลาว่าง หรือหลังหมดฤดูการทำเกษตรกรรมแล้ว สามารถสร้างงานเป็นอาชีพเสริมได้อีกอย่างหนึ่ง การเครื่องจักสานไม้ไผ่เป็นการสร้างงานที่ออกมาจากจิตใจที่รักในงานสร้างสรรค์ จรรโลงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมในท้องถิ่นมีความพยายาม ประยุกต์พัฒนารูปแบบโดยไม่ทิ้งความรู้และภูมิปัญญาเดิมของท้องถิ่น แสดงถึงวิถีชีวิตของคนแต่ละท้องถิ่น เครื่องจักสานไม้ไผ่เป็นงานศิลปหัตถกรรม ที่มีคุณค่ายิ่งอย่างหนึ่งของไทย ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ แม้ทุกวันนี้จะมีเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ทำจากโรงงานอุตสาหกรรมมากขึ้น แต่ก็พบว่าเครื่องมือเครื่องใช้อีกหลายอย่างไม่สามารถมาใช้แทนงานจากไม้ไผ่ได้ คนส่วนใหญ่คนที่ทำเครื่องจักสานไม้ไผ่ก็จะเป็นผู้สูงอายุและไม่ค่อยมีใคสนใจที่สืบสานต่อ ภูมิปัญญาของหมู่บ้านน้ำพุ เรากำลังจะร่อยหลอไป ถ้าเราไม่รักษากันไว้ ก็จะการสาบสูญกันไป เพราะว่าผลิตภัณฑ์บางส่วน อย่างเช่น กระด้ง กระบุงก็หมดกันไปแล้ว ผมอยากรักษาภูมิปัญญานี้เอาไว้” นายสมพงษ์ กล่อมใจ ก็เริ่มศึกษาค้นคว้าและสืบทอดภูมิปัญญาการทำเครื่องจักสานไม้ไผ่จากคนในครอบครัวเรื่อยมา

ในปี 2539 นายสมพงษ์ กล่อมใจ ได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้านของหมู่บ้านน้ำพุ นายสมพงษ์ กล่อมใจ ได้ให้ความรู้แก่ประชาชนในหมู่บ้านน้ำพุในเรื่องการรักษาภูมิปัญญาเครื่องจักสานไม้ไผ่ของเราที่กำลังจะสาบสูญไปให้คนในหมู่บ้านได้ตระหนักและเห็นคุณค่าของเครื่องจักสานไม้ไผ่ คนในหมู่บ้านให้ความสนใจเป็นอย่างมาก และกศน.อำเภอโพนนาแก้ว ได้ส่งเสริมสนับสนุนงบประมาณในด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนการแปรรูปจากไม้ไผ่ ให้กับชุมชนบ้านน้ำพุ โดยมีนายสมพงษ์ กล่อมใจ เป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนในหลักสูตร 40 ชั่วโมง ชาวบ้านน้ำพุ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกันรักษาภูมิปัญญาเครื่องจักสานจากไม้ไผ่ที่กำลังจะสูญหายไปให้คนในหมู่บ้าน ได้ด้วยช่วยกันสืบสานภูมิปัญญาเครื่องจักสานม้ไผ่ เริ่มตั้งแต่การปรึกษาหารือ การวางแผนการทำเครื่องจักสาน โดยเริ่มจากศึกษาชนิดของไม้ไผ่ที่ใช้ในการจักสาน การเลือกไม้ไผ่มาทำเครื่องจักสาน การหาไม้ไผ่ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติรวมถึงมีช่วยกันการปลูกไม้ไผ่อีกด้วย มีการเลือกและจัดหาอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับงานจักสานไม้ไผ่ เมื่อไม้ไผ่และอุปกรณ์พร้อมก็เริ่มเรียนรู้จากการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากผู้มีความรู้ของหมู่บ้านน้ำพุ ตอนแรกก็เป็นเรียนรู้เพื่อรักษาภูมิปัญญาและผลพลอยได้ก็คือได้มีเครื่องจักสานไว้ใช้ในชีวิตประจำวันของคนในหมู่บ้านน้ำพุ และต่อมาเริ่มทำได้มากขึ้นและมีความหลากหลาย ทำให้มีผู้คนสนใจที่จะซื้อทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการขายสิ้นค้าในหมู่บ้านและในตำบลบ้านแป้นขึ้น

และในปี พ.ศ.2557 ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพนนาแก้วร่วมกับสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอโพนนาแก้ว มีมติให้ นายสมพงษ์ กล่อมใจ เป็นตัวแทนของหมู่บ้านบ้านน้ำพุ ไปศึกษาดูงานเกี่ยวกับงานจักรสานไม้ไผ่ โดยมีได้พาไปศึกษาดูงานในที่ต่าง ๆ ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะจะสืบสานและต่อยอดภูมิปัญญาเดิมของหมู่บ้านน้ำพุนี้ไว้ เมื่อกลับมาหมู่บ้าน ลุงสมพงษ์ กล่อมใจ ได้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับให้กับคนในหมู่บ้านน้ำพุ ทำให้คนให้หมู่บ้านมีความรู้และมีการร่วมปรึกษาที่จะตั้งเป็นกลุ่มเป็นกลุ่มเครื่องจักสานไม้ไผ่ที่มีชื่อว่า “กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่บ้านน้ำพุ” หมู่ 4 ต.บ้านแป้น อ.โพนนาแก้ว จ.สกลนครเป็นการรวมกลุ่มเพื่อรวบรวมเครื่องจักสานต่างๆ จากการสานเครื่องจักสานของคนในหมู่บ้าน นำไปขายในงานต่างๆ ในจังหวัดสกลนคร เครื่องจักสานของกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่บ้านน้ำพุ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีกับผู้คนมากมาย ทำให้มีกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่บ้านน้ำพุได้รับงานเครื่องจักสานทีละมากๆโดยรูปแบบผลิตภัณฑ์ เช่น กระบุง ตะแกรง กระด้ง ตะกร้า เข่ง ถาดรองแก้ว ชุดรับแขก ฯลฯ


กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่บ้านน้ำพุได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนกับผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากไม้ไผ่ ในวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสกลนคร และได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ระดับสี่ดาว ประเภทของใช้ ของตกแต่ง ของที่ระลึก และในวันที่ 15 มิถุนายน 2562 ถาดรองแก้ว กลุ่มเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่บ้านน้ำพุ จากโครงการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย ปี 2562 (OTOP Product Champion)





ปัจจุบันนายสมพงษ์ กล่อมใจ ได้รับเชิญเป็นวิทยากรให้ความรู้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น เป็นวิทยากร โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน (1 อำเภอ 1 อาชีพ) หลักสูตรการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไม้ไผ่ให้กับกศน.อำเภอโพนาแก้ว พัฒนาชุมชนและชุมชนอำเภอโพนนาแก้วเชิญเป็นวิทยากร การสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างรายในตำบลต่าง ๆ ในอำเภอโพนนาแก้ว เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับเครื่องจักสานให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร และวิทยาลัยเอสแบ็คสกลนคร และรับงานเครื่องจักสานทีละมากๆ โดยรูปแบบผลิตภัณฑ์ ช่วยกันออกแบบและออกแบบโดยผู้ซื้อ นำงานที่ได้รับมากระจายงานกันทำเครื่องจักสานไม้ไผ่จึงกลายเป็นสินค้าที่น่าสนใจ ทำรายได้ให้กับคนในหมู่บ้านที่มีฝีมือในการทำเครื่องจักสานไม้ไผ่ได้เป็นอย่างดี

ข้อมูลเพิ่มเติม ภูมิปัญญา “เครื่องจักรสานไม้ไผ่”

นายสมพงษ์ กล่อมใจ

เกิดวันที่ 15 ตุลาคม 2499 อายุ 65 ปี

เบอร์โทรติดต่อ 081-748-3715