ใบความรู้ที่ 3.3

เรื่อง การเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับลักษณะงาน

วัสดุในชีวิตประจำวัน

สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ สร้างขึ้นจากวัสดุหลากหลายประเภท วัสดุแต่ละประเภทมีสมบัติและลักษณะที่แตกต่างกัน การเลือกใช้วัสดุให้ถูกต้องและเหมาะสมจึงมีความสำคัญต่อการออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้

ตัวอย่าง เช่น เก้าอี้ที่เราใช้มีทั้งที่ผลิตจากไม้ พลาสติก โละ และวัสดุอื่นๆ ซึ่งมีสมบัติและลักษณะการใช้งาน รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป

1.วัสดุที่ทำจากไม้

ไม้ (wood) คือ วัสดุธรรมชาติที่ได้จากลำต้นของต้นไม้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายเพราะมีความแข็งแรง ทนทาน ต้านทานไฟฟ้า ไม่เป็นสนิม มีรูปร่างคงตัว มีผิวเรียบ มีกลิ่นและลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่ถ้าได้รับความชื้นเป็นเวลานานอาจบวมผิดรูปหรือผุได้
ไม้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไม้ธรรมชาติหรือไม้จริง (natural wood or solid wood) และไม้ประกอบ (processed wood)

ไม้ธรรมชาติหรือไม้จริง (natural wood or solid wood) คือ ไม้ที่ได้มาจากลำต้นไม้ตรง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไม้เนื้อแข็ง (hardwood) และไม้เนื้ออ่อน (softwood)

ไม้ประกอบ (processed wood) คือ ไม้ที่ได้มาจากการนำชิ้นส่วนไม้มาต่อรวมกันด้วยกระบวนการต่าง ๆ ไม้ประกอบมีหลายประเภท เช่น ไม้อัด ไม้ปาร์ติเคิลบอร์ด

2.วัสดุที่ทำจากโลหะ

โลหะ (Metals) คือ วัสดุที่ได้จากการถลุงสินแร่ต่าง ๆ โลหะที่นำมาใช้งานส่วนใหญ่ จะผ่านการปรับปรุงสมบัติให้ดีขึ้นก่อนนำมาใช้งาน โลหะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ โลหะกลุ่มเหล็ก (ferrous metals) และโลหะนอกกลุ่มเหล็ก (non-ferrous metals)

สมบัติและการใช้งานของโลหะแต่ละประเภท

3.วัสดุที่ทำจากพลาสติก (Plastics)

คือ วัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์สร้างขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ ปัจจุบันพลาสติกนำมาใช้สร้างสิ่งของเครื่องใช้มากมายและมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกคน

ยาง (rubber)

คือ วัสดุที่มีความยืดหยุ่น เมื่ออกแรงดึงหรือกด ยางจะยืดหรือยุบและกลับสู่สภาพเดิมได้เมื่อปล่อยให้ยางเป็นอิสระ ยางถูกนำไปแปรรูปเพื่อใช้ประโยชน์ในการสร้างสิ่งของเครื่องใช้หลายชนิด สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ยางธรรมชาติ (natural rubber) และยางสังเคราะห์ (synthetic rubber)