ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย

ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

ารแก้ปัญหาการคิดวิดเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา 2/64 เรื่องสามก๊ก 1/65

ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ

1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผ่านมาเกี่ยวกับการเรียนการสอนวรรณคดีไทยพบว่า มีผู้เรียนบางส่วนยังคงเข้าใจแค่เพียงส่วนเนื้อหาของวรรณคดีในเรื่องต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ใช่เป้าประสงค์สูงสุดของการเรียนรู้วรรณคดีไทย เพราะการเรียนรู้วรรณคดีไทยผู้เรียนจะต้องสามารถวิเคราะห์คุณค่า ข้อคิด จากวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ และนำมาประยุกต์ใช้ได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย เรื่อง การพัฒนาการคิดวิดเคราะห์คุณค่าด้านต่าง ๆ จากวรรณคดีไทย เรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน ขุนช้างถวายฎีกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ


2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตร จัดทำหน่วยการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด

2.2 จัดทำแผนการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญพร้อมทั้งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตัวชี้วัดและสถานการณ์ปัจจุบัน

2.3 จัดทำบทเรียนและสื่อการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน

2.4 จัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้

2.5 ทำการวัดผลและประเมินผล


3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

1. ผู้เรียนร้อยละ 70 เกิดทักษะการคิดวิเคราะห์คุณค่าจากวรรณคดีไทยและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้

2. ผู้เรียนร้อยละ 70 มีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาไทย

3.2 เชิงคุณภาพ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตรงตามตัวชี้วัด ในสระการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางและมีระดับคุณภาพเป็นไปตามที่สถานศึกษากำหนด