Virtnam

                               ประเทศเวียดนาม

            รูปแผนที่ประเทศเวียดนาม

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

เกษตรกรรม[แก้]

มีผลผลิตได้แก่ ข้าวเจ้า ยางพารา ชา กาแฟ ยาสูบ พริกไทย (ในปี พ.ศ. 2549 ส่งออกกว่า 116,000 ตัน) [15] การประมง เวียดนามจับปลาได้เป็นอันดับ 4 ของสินค้าส่งออก เช่น ปลาหมึก กุ้ง ตลาดที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และสิงคโปร์

เชื้อชาติ[แก้]

บทความหลัก: ชาวญวน

มีจำนวน 84.23 ล้านคน ความหนาแน่นโดยเฉลี่ย 253 คนต่อตารางกิโลเมตร เป็นชาวญวนร้อยละ 86 (บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของประเทศ) ต่าย ชาวไท เหมื่อง ฮั้ว (จีน) ชาวเขมร นุง ชาวม้ง[20][21][22]

อุตสาหกรรม[แก้]

อุตสาหกรรมที่สำคัญ คือ อุตสาหกรรมทอผ้า ศูนย์กลางอยู่ที่โฮจิมินห์ซิตีและมีนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้เบียนโฮ[16] การทำเหมืองแร่ที่สำคัญ คือ ถ่านหิน น้ำมันปิโตรเลียม และแก๊สธรรมชาติ เวียดนามเป็นประเทศส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่อันดับ 3 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย [17]

การศึกษา[แก้]

ประวัติการศึกษาของเวียดนาม[แก้]

ประเทศเวียดนามได้มีการพัฒนาการศึกษาควบคู่ไปกับพัฒนาของประเทศ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นระยะ ๆ ย่อ ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ดังนี้ (Pham Minh Hac,1995, 42-61)

1. ระยะที่อยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีน (Period of Chinese Imperial Domination) : 200 ปีก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 938

เทศกาล[แก้]

ต้นไม้ของประเพณีตรุษญวน (ปีใหม่ทางจันทรคติ)

เวียดนามมีเทศกาลตามปฏิทินจันทรคติมากมาย เทศกาลที่สำคัญที่สุดคือการเฉลิมฉลองปีใหม่ตรุษญวน งานแต่งงานเวียดนามแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและมักจะมีการเฉลิมฉลองโดยชาวเวียดนามในประเทศตะวันตก

การท่องเที่ยว[แก้]


ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

การท่องเที่ยวเป็นองค์ประกอบสำคัญของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศคิดเป็น 7.5% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เวียดนามต้อนรับผู้มาเยือนกว่า 12.9 ล้านคนในปี 2560 เพิ่มขึ้น 29.1% จากปีก่อนทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เติบโตเร็วที่สุดในปีที่ผ่านมา ผู้มาเยือนเวียดนามส่วนใหญ่ในปี 2560 มาจากเอเชียมีจำนวน 9.7 ล้านคน จีน (4 ล้านคน) เกาหลีใต้ (2.6 ล้านคน) และญี่ปุ่น (798,119) คิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดในปี 2560 [285] เวียดนามยังดึงดูดนักท่องเที่ยวจำนวนมากจากยุโรปด้วยจำนวน 1.9 ล้านคนในปี 2017 รัสเซีย (574,164) ), สหราชอาณาจักร (283,537), ตามมาด้วยฝรั่งเศส (255,396) และเยอรมนี (199,872) เป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยวจากยุโรปที่ใหญ่ที่สุด จำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา (614,117) และออสเตรเลีย (370,438)

อาหาร[แก้]

อาหารในเวียดนามมีวัฒนธรรมอาหารที่มาจากจีน หรือประยุกต์มาจากอาหารแบบจีน โดยผสมผสานกับวัฒนธรรมแบบเกษตรเวียดนาม ซึ่งเฝอเป็นอาหารยอดนิยมในเวียดนาม และโด่งดังในฐานะอาหารประจำชาติของประเทศเวียดนาม

การแต่งกาย[แก้]

การแต่งกายอ๊าวส่าย (Áo dài) เป็นชุดประจำชาติของประเทศเวียดนามที่ประกอบไปด้วยชุดผ้าไหมที่พอดีตัว สวมทับกางเกงขายาวซึ่งเป็นชุดที่มักสวมใส่ในงานแต่งงาน และพิธีการสำคัญของประเทศ ชุดผู้หญิงคล้ายชุดกี่เพ้าของจีน ในปัจจุบันเป็นชุดที่ได้รับความนิยมมากจากผู้หญิงเวียดนามทั่วทั้งประเทศ ส่วนผู้ชายจะสวมใส่ชุดอ๊าวส่ายด๋ในพิธีแต่งงานหรือพิธพ์


  สถานที่ท่องเที่ยว

นาดัง

ดานัง

หอคอยแห่งพระเมษยเตยที่เจดีย์เทียนมู

อ่าวฮาลอง

เมืองแห่งสามหมอก  ซาปา    

สะพานมังกร

น้ำตกบ่านซก

เมืองหลวง         ฮานอย[5] (อังกฤษ: Hanoi) หรือ ห่าโหน่ย[5] (เวียดนาม: Hà Nội) เป็นเมืองหลวงของประเทศเวียดนาม มีประชากร 6,472,200 คน (พ.ศ. 2552) ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือระหว่าง พ.ศ. 2497 ถึง พ.ศ. 2519 และก่อนหน้านั้นเคยเป็นเมืองหลวงของพื้นที่เวียดนามในปัจจุบันเป็นครั้งคราวตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึง พ.ศ. 2345 ฮานอยตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำแดง อุตสาหกรรมในเมืองคือเครื่องจักร ไม้อัด สิ่งทอ สารเคมี และงานหัตถกรรม ฮานอยตั้งอยู่ที่ 21°2' เหรือ 105°51' ตะวันออก (21.0333, 105.85) [1] เก็บถาวร 2012-08-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2551 ได้มีการขยายเขตฮานอยไปอีก โดยครอบคลุมบริเวณมากกว่าเดิมถึง 3 เท่า เพื่อรองรับการเติบโตของเมือง และเมื่อเดือนตุลาคม 2553 ครบวาระ 1000 ปีของการสถาปนาเมือง

ประวัติศาสตร์[แก้]

ฮานอย หมายถึงตอนต้นของแม่น้ำ ตั้งอยู่ตอนต้นบนลุ่มแม่น้ำแดง ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ลี้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 1553 โดยใช้ชื่อว่า ทังล็อง แปลว่า มังกรเหิน จนกระทั่ง พ.ศ. 2245 กษัตริย์ราชวงศ์เหงียนได้ย้ายเมืองหลวงไปอยู่เมืองเว้เมื่อตกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส ฮานอยจึงกลับมาเป็นเมืองหลวงอย่างเป็นทางการอีกครั้งใน พ.ศ. 2430 ภายหลังได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2489 ดินแดนเวียดนามแยกออกเป็นสองประเทศ โดยฮานอยเป็นเมืองหลวงของเวียดนามเหนือ เมื่อรวมประเทศใน พ.ศ. 2519 จึงเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวของเวียดนามในปัจจุบัน

ยุคก่อนทังลอง[แก้]

ฮานอยสามารถพบร่องรอยการอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่ยุคพาเลโอลิธิกตอนปลายและยุคหินยุคต้นได้หลายแห่ง ระหว่างปี 1971 ได้มีการค้นพบก้อนกรวดที่มีร่องรอยของการแกะสลักและแปรรูปด้วยมือมนุษย์ ซึ่งเป็นโบราณวัตถุของวัฒนธรรม Sơn Vi ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 10,000 ถึง 20,000 ปีก่อน ในปี พ.ศ. 2541พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เวียดนาม (ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เวียดนามแห่งชาติ) ได้ทำการศึกษาทางโบราณคดีทางตอนเหนือของทะเลสาบดงโม (เซินเตย ฮานอย) เพื่อค้นหาโบราณวัตถุและวัตถุต่างๆ ที่เป็นของวัฒนธรรมเซินวี ยุคหินใหม่เมื่อ 20,000 ปีที่แล้ว ระหว่างการล่วงละเมิดโฮโลซีนตอนกลาง ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นและท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ ข้อมูลทางธรณีวิทยาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าแนวชายฝั่งถูกน้ำท่วมและตั้งอยู่ใกล้กับฮานอยในปัจจุบัน ดังที่เห็นได้ชัดจากการไม่มีแหล่งหินใหม่ในพื้นที่ส่วนใหญ่ของภูมิภาค Bac Bo[30] ดังนั้น ตั้งแต่ประมาณ 10,000 ถึงประมาณ 4,000 ปีก่อน ฮานอยโดยทั่วไปจึงขาดหายไปโดยสิ้นเชิง มีความเชื่อกันว่าภูมิภาคนี้มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องในช่วง 4,000 ปีที่ผ่านมา

ยุคอาณาจักรเอิวหลักและหนานเยว่[แก้]

ในราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช อาน เซือง เวือง ได้ก่อตั้งเมืองหลวงขึ้นโดยตั้งชื่อว่า เอิวหลัก ขึ้นทางตอนเหนือของกรุงฮานอยในปัจจุบัน ซึ่งมีการสร้างป้อมปราการที่มีป้อมปราการ ซึ่งรู้จักกันในประวัติศาสตร์ในชื่อ Cổ Loa ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการเมืองแห่งแรกของอารยธรรมเวียดนาม โดยมีเขื่อนกั้นน้ำด้านนอกครอบคลุมพื้นที่ 600 เฮกตาร์ ในช่วง 179 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักร เอิวหลัก ถูกผนวกโดย หนานเยฺว่ ซึ่งเป็นผู้นำในการปกครองของจีนมากว่าพันปี ต่อมา Zhao Tuo ได้รวมภูมิภาคต่าง ๆ ให้ขึ้นตรงต่อการปกครองของ หนานเยฺว่ ของเขา แต่ปล่อยให้หัวหน้าเผ่าพื้นเมืองควบคุมประชากร นับเป็นครั้งแรกที่ภูมิภาคนี้เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองโดยผู้ปกครองชาวจีน

ฮานอยภายใต้การปกครองของจีน[แก้]

ในปี 111 ก่อนคริสต์ศักราช ราชวงศ์ฮั่นพิชิตหนานเยว่และปกครองต่อไปอีกหลายร้อยปีต่อมา โดยราชวงศ์ฮั่นได้การปกครองให้หนานเยว่ เป็นเจ็ดกองบัญชาการทางใต้ (หลิงหนาน) ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 40 สองพี่น้อง Trưng Trắc และ Trưng Nhị บุตรสาวของตระกูลขุนนางผู้มั่งคั่ง ในเขต Mê Linh (ฮานอย) ได้นำชาวบ้านลุกขึ้นก่อกบฏต่อต้านชาวฮั่น โดยเริ่มต้นที่บริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง โดยแพร่กระจายอย่างรวดเร็วทั้งทางใต้และทางเหนือจาก Jiaozhi ทำให้ทั้งสามภูมิภาค Lạc Việt และส่วนใหญ่ของ หลิงหนาน ได้รับการสนับสนุนจากเมืองและการตั้งถิ่นฐานประมาณ 65 แห่ง พี่น้องTrưngจึงตั้งศาลขึ้นที่ Mê Linh ในปี ค.ศ. 42 จักรพรรดิฮั่นได้มอบหมายให้แม่ทัพหม่าหยวนปราบปรามการจลาจลด้วยกำลังพล 32,000 นาย รวมทั้งทหารประจำการ 20,000 นายและผู้ช่วยส่วนภูมิภาค 12,000 นาย การก่อจลาจลพ่ายแพ้ในปีถัดมาเมื่อหม่า หยวนได้จับและประหารชีวิต เจิ่น เจ็ก และเจิ่นเญิง จากนั้นจึงส่งตัวพวกเขาไปยังราชสำนักฮั่นในลั่วหยาง

สมัยราชวงศ์เหงียนและสมัยอาณานิคมฝรั่งเศส[แก้]

เมื่อ ราชวงศ์เหงียน ก่อตั้งขึ้นในปี 1802 จักรพรรดิซา ล็อง หรือที่รู้จักกันในนาม องเชียงสือ ได้ย้ายเมืองหลวงไปที่ [เว้]] ทังลองหรือ ฮานอย ไม่ได้เป็นเมืองหลวงอีกต่อไป ตัวอักษรจีน เปลี่ยนจาก昇龍 ("Rising dragon") เป็น 昇隆 ("Ascent and Prosperity") จักรพรรดิแห่งเวียดนามมักจะใช้ มังกร (龍 ยาว) เป็นสัญลักษณ์ของความแข็งแกร่งและอำนาจของจักรพรรดิ ในปี พ.ศ. 2374 จักรพรรดิเหงียน มินห์มาง เปลี่ยนชื่อเป็นฮานอย (河內, "ระหว่างแม่น้ำ" หรือ "แม่น้ำภายใน") ฮานอยถูกยึดครองโดย สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ในปี พ.ศ. 2416 และตกทอดมาถึงอีกสิบปีต่อมา ในฐานะ ฮานอย ตั้งอยู่ใน อาณานิคมตังเกี๋ย และกลายเป็นเมืองหลวงของ อินโดจีนของฝรั่งเศส หลังปี 1887


การปกครอง (ปัจจุบัน)

                                                                                            รัฐคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communist state) หรือเรียก รัฐลัทธิมากซ์–เลนิน (อังกฤษ: Marxist–Leninist state) เป็นรัฐซึ่งบริหารราชการแผ่นดินและปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์พรรคเดียวซึ่งมีอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนินชี้นำ ลัทธิมากซ์-เลนินเป็นอุดมการณ์ประจำรัฐของสหภาพโซเวียต, โคมินเทิร์น (คอมมิวนิสต์สากล) และรัฐคอมมิวนิสต์ในโคมีคอน กลุ่มตะวันออก และสนธิสัญญาวอร์ซอ[1] ลัทธิมากซ์-เลนินยังคงเป็นอุดมการณ์ของรัฐคอมมิวนิสต์หลายรัฐทั่วโลก และอุดมการณ์อย่างเป็นทางการของพรรครัฐบาลประเทศจีน คิวบา ลาวและเวียดนาม[2]

ตรงแบบรัฐคอมมิวนิสต์บริหารราชการแผ่นดินผ่านระบบศูนย์รวมอำนาจปกครองแบบประชาธิปไตย (democratic centralism) โดยกลไกพรรคคอมมิวนิสต์รวมศูนย์พรรคเดียว พรรคการเมืองเหล่านี้ปกติเป็นลัทธิมากซ์-เลนิน หรือรูปแบบเฉพาะชาติ เช่น ลัทธิเหมาหรือลัทธิติโต โดยมีเป้าหมายอย่างเป็นทางการเพื่อบรรลุสังคมนิยมและก้าวหน้าสู่สังคมคอมมิวนิสต์ มีหลายกรณีที่รัฐคอมมิวนิสต์มีกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์การที่มิใช่พรรคอย่างอื่น เช่น การมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตยทางตรง คณะกรรมการโรงงานและสหภาพแรงงาน แม้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์เป็นศูนย์กลางแห่งอำนาจ[3][4][5][6][7] สภาพทางสังคม-เศรษฐกิจของรัฐคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งของสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นตัวอย่างสำคัญ มีการถกเถียงกันมาก โดยมีการระบุต่าง ๆ กันว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของระบบคติรวมหมู่ข้าราชการประจำบ้าง ทุนนิยมโดยรัฐบ้าง สังคมนิยมโดยรัฐบ้าง หรือเป็นวิถีการผลิตที่มีเอกลักษณ์เบ็ดเสร็จบ้าง[8]

คำว่า "รัฐคอมมิวนิสต์" เป็นคำที่นักประวัติศาสตร์ นักรัฐศาสตร์และสื่อตะวันตกใช้เรียกประเทศเหล่านี้และใช้แยกกับรัฐสังคมนิยมอื่น แต่รัฐเหล่านี้มิได้เรียกตนเองหรืออ้างว่าได้บรรลุลัทธิคอมมิวนิสต์แล้ว กล่าวคือ ประเทศเหล่านี้เรียกตนเองว่าเป็นสังคมนิยมที่กำลังอยู่ในกระบวนการสร้างสังคมนิยม[9][10][11][12] คำที่รัฐเหล่านี้ใช้เรียกตนเอง เช่น ประชาธิปไตยชาติ ประชาธิปไตยประชาชน โน้มเอียงไปทางสังคมนิยม หรือรัฐกรรมกรและชาวนา[13] นักวิชาการ นักวิจารณ์การเมืองและผู้ทรงคุณวุฒิอื่นมักแบ่งแยกรัฐคอมมิวนิสต์กับรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตย โดยกลุ่มแรกใช้หมายถึงกลุ่มตะวันออก และกลุ่มหลังหมายถึงกลุ่มตะวันตกที่ใช้ระบอบประชาธิปไตยและมีพรรคสังคมนิยม เช่น บริเตน ฝรั่งเศส สวีเดน เป็นต้น[14][15][16][17]

ประเทศคอมมิวนิสต์ในระหว่างปี 1979-1983 ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองที่สุดของลัทธิคอมมิวนิสต์

รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบัน

รัฐคอมมิวนิสต์ในปัจจุบันมีประเทศที่ปกครองด้วยรัฐบาลลัทธิมากซ์-เลนินและใช้ระบบพรรคการเมืองเดี่ยวเหลือเพียง 4 ประเทศเท่านั้น ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน คิวบา ลาว และเวียดนาม ส่วนเกาหลีเหนือไม่ได้ยึดถืออุดมการณ์ตามแบบฉบับลัทธิมากซ์-เลนินแล้ว หากแต่ยึดถืออุดมการณ์ตามหลัก จูเช ที่ฉายภาพว่าพัฒนามาจากลัทธิมากซ์-เลนินแทน ในขณะที่พรรคคอมมิวนิสต์หรือพรรคการเมืองสืบทอดที่หลงเหลืออยู่ก็ยังคงมีบทบาททางการเมืองที่สำคัญในหลายประเทศ เช่น พรรคคอมมิวนิสต์แห่งแอฟริกาใต้ที่เข้าร่วมเป็นพรรครัฐบาลภายใต้การนำของพรรคสมัชชาแห่งชาติแอฟริกา ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นรัฐบาลปกครองรัฐเกรละของอินเดีย ฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่ครองเสียงข้างมากในรัฐสภาเนปาล สาธารณรัฐประชาชนจีนได้ปรับเปลี่ยนมุมมองที่ตกทอดมาจากลัทธิเหมาหลายด้าน เช่นเดียวกันกับลาว เวียดนาม และคิวบา (มีการเปลี่ยนแปลงน้อยกว่า) โดยรัฐบาลของประเทศเหล่านี้ได้ผ่อนคลายการควบคุมทางเศรษฐกิจลงเพื่อกระตุ้นการเติบโต ทั้งนี้รัฐบาลจีนภายใต้การนำของเติ้ง เสี่ยวผิง ได้เริ่มปฏิรูประบบเศรษฐกิจในปี ค.ศ. 1978 ซึ่งหลังจากนั้นเป็นต้นมาจีนสามารถลดระดับความยากจนลงจากร้อยละ 51 ในสมัยเหมา เจ๋อตุง มาเป็นเพียงร้อยละ 6 ในปี ค.ศ. 2001 ในขณะเดียวกันยังได้ริเริ่มเขตเศรษฐกิจพิเศษไว้สำหรับกิจการที่อิงกับระบบตลาดเป็นหลัก โดยที่ไม่ต้องกังวลการควบคุมหรือการแทรกแซงจากรัฐบาลกลาง ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ประกาศตนว่ายึดถือในอุดมการณ์ลัทธิมากซ์-เลนิน เช่น เวียดนาม ก็พยายามริเริ่มการปฏิรูปเศรษฐกิจให้อิงกับระบบตลาดด้วย

การปฏิรูปทางเศรษฐกิจนี้บางครั้งถูกวิจารณ์จากโลกภายนอกว่าเป็นการถอยกลับไปหาลัทธิทุนนิยม แต่พรรคคอมมิวนิสต์แย้งว่าเป็นการปรับตัวที่จำเป็นเพื่อให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต และเพื่อใช้สมรรถนะทางอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในประเทศที่ดำเนินการปฏิรูปเหล่านี้ ที่ดินทั้งมวลถือเป็นทรัพย์สินสาธารณะซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐ เช่นเดียวกับอุตสาหกรรมและบริการที่จำเป็น รวมไปถึงทรัพยากรธรรมชาติ ดังนั้นภาครัฐจึงถือเป็นภาคส่วนทางเศรษฐกิจหลักในระบบเศรษฐกิจดังกล่าว และรัฐเป็นผู้มีบทบาทกลางในการประสานงานเพื่อให้เกิดพัฒนาการทางเศรษฐกิจ


          🧐 จบการนำเสนอ      ขอบคุณครับ🧐