Thanaphat   Sirila

อวกาศ

อวกาศ คือ ความว่างเปล่าที่มีอยู่ระหว่างวัตถุท้องฟ้า รวมถึงโลก อวกาศมิได้ว่างเปล่าอย่างสิ้นเชิง แต่ประกอบด้วยสุญญากาศแข็งที่ประกอบด้วยอนุภาคความหนาแน่นต่ำ ซึ่งมีพลาสมาของไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก เช่นเดียวกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า สนามแม่เหล็กและนิวตริโน ปัจจุบัน การสังเกตได้พิสูจน์แล้วว่าอวกาศยังมีสสารมืดและพลังงานมืดอยู่ด้วย อุณหภูมิเส้นฐานกำหนดโดยรังสีพื้นหลังที่หลงเหลือจากบิกแบงมีค่าเพียง 2.7 เคลวิน ในทางตรงข้าม อุณหภูมิในโคโรนาของดาวฤกษ์อาจสูงถึงหนึ่งล้านเคลวิน พลาสมาที่มีความหนาแน่นต่ำมาก (น้อยกว่าหนึ่งอะตอมไฮโดรเจนต่อลูกบาศก์เมตร) และอุณหภูมิสูง (หลายล้านเคลวิน) ในอวกาศระหว่างดาราจักรเป็นที่มาของสสารแบริออน (baryonic matter) ในอวกาศ ความเข้มข้นเฉพาะถิ่นรวมกันเป็นดาวฤกษ์และดาราจักร อวกาศระหว่างดาราจักรกินปริมาตรส่วนใหญ่ของเอกภพ กระนั้น แม้แต่ดาราจักรและระบบดาวฤกษ์ก็แทบเป็นอวกาศที่ว่างเปล่าสิ้นเชิง

ดาวในอวกาศ

จำนวนดาวในอวกาศมีจำนวนประมาณ 420 ดาว ซึ่งประกอบด้วย : ดวงอาทิตย์, ดาวเคราะห์, ดาวเคราะห์แคระที่รู้จักกันเเละ ดาวบริวาร เป็นต้น

ระบบดาวในอวกาศ

ในอวกาศจะมีระบบสุริยะซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และวัตถุอื่น ๆ ที่โคจรรอบดวงอาทิตย์เนื่องจากแรงโน้มถ่วง ได้แก่ ดาวเคราะห์ 8 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว279 ดวง ดาวเคราะห์แคระ 5 ดวงกับดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว 4 ดวง กับวัตถุขนาดเล็กอื่น ๆ อีกนับล้านชิ้น ซึ่งรวมถึง ดาวเคราะห์น้อย วัตถุในแถบไคเปอร์ ดาวหาง สะเก็ดดาว และฝุ่นระหว่างดาวเคราะห์

โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งย่านต่าง ๆ ของระบบสุริยะ นับจากดวงอาทิตย์ออกมาดังนี้คือ ดาวเคราะห์ชั้นในจำนวน 4 ดวง แถบดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่รอบนอกจำนวน 4 ดวง และแถบไคเปอร์ซึ่งประกอบด้วยวัตถุที่เย็นจัดเป็นน้ำแข็ง พ้นจากแถบไคเปอร์ออกไปเป็นเขตแถบจานกระจาย ขอบเขตเฮลิโอพอส (เขตแดนตามทฤษฎีที่ซึ่งลมสุริยะสิ้นกำลังลงเนื่องจากมวลสารระหว่างดวงดาว) และพ้นไปจากนั้นคือย่านของเมฆออร์ต

กระแสพลาสมาที่ไหลออกจากดวงอาทิตย์ (หรือลมสุริยะ) จะแผ่ตัวไปทั่วระบบสุริยะ สร้างโพรงขนาดใหญ่ขึ้นในสสารระหว่างดาวเรียกกันว่า เฮลิโอสเฟียร์ ซึ่งขยายออกไปจากใจกลางของแถบจานกระจาย

ดาวเคราะห์ชั้นเอกทั้ง 8 ดวงในระบบสุริยะ เรียงลำดับจากใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดออกไป มีดังนี้คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจู

องค์การอวกาศ

ในโลกเรามีองค์การอวกาศราวๆ 16 องค์การ ซึ่งประกอบด้วย โครงการอวกาศโซเวียด, นาซา, รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส, สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน), สถาบันวิทยาศาสตร์กล้องโทรทรรศน์อวกาศ, สมาคมดาราศาสตร์ไทย, สมาคมมหาวิทยาลัยเพื่อการวิจัยด้านดาราศาสตร์, สหพันธ์ดาราศาสตร์สากล, สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), ห้องปฏิบัติการแรงขับเคลื่อนไอพ่น, หอดูดาวท้องฟ้าซีกใต้แห่งยุโรป, องค์การพัฒนาการบินและอวกาศแห่งชาติ, องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น, องค์การอวกาศแคนาดา, องค์การอวกาศยุโรป เเละ อินเตอร์คอสมอส เป็นต้น

องค์การอวกาศนาซา

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (อังกฤษ : National Aeronautics and Space Administration) หรือ องค์การนาซา (NASA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 (ค.ศ. 1958) ตามรัฐบัญญัติการบินและอวกาศแห่งชาติ เป็นหน่วยงานส่วนราชการ รับผิดชอบในโครงการอวกาศและงานวิจัยห้วงอากาศอวกาศ (aerospace) ระยะยาวของสหรัฐ คอยจัดการหรือควบคุมระบบงานวิจัยทั้งกับฝ่ายพลเรือนและฝ่ายทหาร ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 องค์การนาซาได้ประกาศภารกิจหลักคือการบุกเบิกอนาคตแห่งการสำรวจอวกาศ การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ และงานวิจัยทางการบินและอวกาศ

โครงการอวกาศโซเวียต

โครงการอวกาศโซเวียต ประกอบด้วยการพัฒนา จรวด และ การสำรวจอวกาศเป็นโครงการที่จัดทำโดยอดีต สหภาพโซเวียตจากช่วงทศวรรษที่ 1930 จนถึงการ สลายตัว ในปี ค.ศ. 1991 ในช่วงเวลาหกสิบปี ค.ศ.ของโครงการมีความสำเร็จในหลายอย่างอาทิ เป็นผู้บุกเบิกขีปนาวุธข้ามทวีป อาร์-7 ,ดาวเทียมดวงแรกของโลก สปุตนิก 1 ,ไลก้า สิ่งมีชีวิตตัวแรกที่เดินทางไปอวกาศในสปุตนิก 2, มนุษย์คนแรกในอวกาศ ยูริ กาการิน ใน วอสตอค 1, ผู้หญิงคนแรกในอวกาศ วาเลนตีนา เตเรชโควา ใน วอสตอค 6, มนุษย์คนแรกที่เดินในอวกาศ อเล็กซี ลีโอนอฟ ใน วอสฮอด 2, การลงจอดบนดวงจันทร์ครั้งแรก ลูนา 2, การถ่ายภาพด้านมืดของดวงจันทร์ ลูนา 3 เป็นต้น

ต้นแบบจรวดและโครงการอวกาศโซเวียตได้มีต้นแบบจากโครงการจรวดลับของเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2โครงการใหญ่เริ่มหลังจากปี ค.ศ. 1955 และอยู่บนพื้นฐานของทฤษฎีหลายอย่างของ คอนสแตนติน ซีออลคอฟสกี บางครั้งเรียกว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีการสำรวจอวกาศ

เซอร์ไก โคโรเลฟเป็นหัวหน้าสถาปนิกของกลุ่มการออกแบบจรวดแต่ก็มีการแข่งขันในการออกแบบหลายกลุ่มนำโดย โคโรเลฟ, Mikhail Yangel, Valentin Glushko และ Vladimir Chelomei ต่างจากคู่แข่งคือสหรัฐอเมริกาที่มีองค์การในการออกแบบจรวดเดียวคือนาซา

เพราะสถานะโครงการอวกาศของโซเวียตเป็นการโฆษณาชวนเชื่อ คือจะประกาศแต่ความประสบความสำเร็จในบางครั้ง ส่วนความล้มเหลวบางครั้งก็เก็บเป็นความลับ (อาทิ การตายของไลก้า, อุบัติเหตุโซยุส 1, จรวดเอ็น 1 เป็นต้น) ในท้ายที่สุดเป็นผลมาจากนโยบายกลัสนอสต์ในช่วงปี ค.ศ. 1980 ของมีฮาอิล กอร์บาชอฟ ข้อเท็จจริงมากมายเกี่ยวกับโครงการอวกาศไม่เป็นลับอีกต่อไป ทั้งการตายของวลาดีมีร์ โคมารอฟ (ใน อุบัติเหตุโซยุส 1) และ ยูริ กาการิน (ในภารกิจในการบินทดสอบเครื่องเจ็ท) ในระหว่างปี ค.ศ. 1966 และ ปี ค.ศ. 1968 ความล้มเหลวของการพัฒนาโครงการจรวดเอ็น 1 ตั้งใจที่จะใช้ไปดวงจันทร์ซึ่งระเบิดไม่นานหลังจากปล่อย

หลัง การล่มสลายของสหภาพโซเวียต, รัสเซีย และยูเครน ได้ร่วมกันพัฒนาโครงการอวกาศของโซเวียตต่อโดยตั้งเป็นองค์การที่รู้จักในชื่อ รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส ในรัสเซีย และ องค์การอวกาศแห่งชาติของประเทศยูเครน (NSAU) ในยูเครน

รัฐวิสาหกิจรอสคอสมอส

องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Федеральное космическое агентство России Federal'noye kosmicheskoye agentstvo Rossii; อังกฤษ: Russian Federal Space Agency) หรือชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า รอสคอสมอส (รัสเซีย: Роскосмос Roskosmos; อังกฤษ: Roscosmos) ตัวย่อว่า FKA (ФКА) และ RKA (РКА) เป็นองค์การของรัฐบาลที่รับผิดชอบกิจการด้านโครงการวิทยาศาสตร์และอวกาศของรัสเซีย รวมถึงการวิจัยด้านอวกาศยานโดยทั่วไป เดิมมีชื่อว่า Russian Aviation and Space Agency (รัสเซีย: Российское авиационно-космическое агентство Rossiyskoe aviatsionno-kosmicheskoe agentsvo, รู้จักโดยทั่วไปว่า "Rosaviakosmos")

สำนักงานใหญ่ของรอสคอสมอสตั้งอยู่ในมอสโคว์ ศูนย์ควบคุมภารกิจการบินในอวกาศหลักตั้งอยู่ที่เมืองใกล้เคียงคือ โคโรเลฟ ศูนย์ฝึกอบรมนักบินอวกาศ (Cosmonauts Training Centre หรือ GCTC) อยู่ที่เมืองสตาร์ ฐานปล่อยใช้ท่าอวกาศยานบัยโกเงอร์ซึ่งอยู่ในคาซัคสถาน (การส่งยานทั้งแบบมีมนุษย์และไม่มีมนุษย์ควบคุมส่วนมากจะปล่อยจากที่นี่) และ Plesetsk Cosmodrome ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของรัสเซียใช้สำหรับภารกิจที่ไม่มีมนุษย์ควบคุม โดยมากในการระบุตำแหน่งที่ตั้งทางทหาร

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร. หรือ NARIT) เป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทยประเภทที่สาม นอกเหนือจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นหน่วยงานหลักด้านการพัฒนาเทคโนโลยีดาราศาสตร์ของประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2552 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร ตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 

ประวัติการสำรวจอวกาศ

การสำรวจอวกาศเริ่มต้นมานานตั้งแต่สมัยโบราณชาวมายาได้วาดภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ต่าง ๆ ชาวอียิปต์โบราณได้สร้างพีระมิดที่ชี้ถึงดวงดาวต่าง ๆ ที่ประเทศอังกฤษมีการสร้างสโตนเฮจซึ่งคาดการณ์ว่า สร้างขึ้นเพื่อบอกตำแหน่งของดวงอาทิตย์และมีการเสนอข้อมูลของดวงอาทิตย์ขึ้นมาได้แก่ ดวงอาทิตย์เป็นลูกไฟกลมดวงหนึ่ง และมีการเสนอ แนวคิดที่ว่าดวงอาทิตย์หมุนรอบโลกและแนวคิดของนิโคลัส โคเปอร์นิคัสที่เสนอว่าความจริงแล้วโลกหมุนรอบดวงอาทิตย์และมีการประดิษฐ์กล้องโทรทรรศน์สำหรับสังเกตการณ์วัตถุท้องฟ้าต่าง ๆ และไขปริศนาต่าง ๆ ของวัตถุท้องฟ้าได้ แต่เพิ่งจะมีการเดินทางไปสู่อวกาศสำเร็จเป็นครั้งแรกและจริงจัง ในปี ค.ศ.1957

วันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้สร้างดาวเทียมดวงแรกของโลกชื่อว่า"สปุตนิก1"และโซเวียตได้ส่งมันสู่อวกาศเป็นครั้งแรก 

วันที่ 3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้ประดิษฐ์ดาวเทียมที่ชื่อว่า"สปุตนิก2"พร้อมกับได้ส่งสุนัขชื่อ"ไลก้า"ไปพร้อมกับดาวเทียมด้วย ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดแรกของโลกที่ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก 

วันที่ 2 มกราคม ค.ศ. 1959 สหภาพโซเวียตได้ประดิษฐ์ดาวเทียม"ลูน่า1"และได้ส่งมันขึ้นสู่อวกาศเพื่อให้มันเข้าพุ่งชนพื้นผิวดวงจันทร์ และนำข้อมูลของพื้นผิวดวงจันทร์กลับมายังโลกแต่ประสบความล้มเหลวเนื่องจากดาวเทียมลูน่า1ได้หลุดไปโคจรรอบดวงอาทิตย์แทน 

วันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1959 หลังจากลูน่า1ประสบความล้มเหลวโซเวียตได้ประดิษฐ์"ลูน่า2"และได้ส่งมันขึ้นสู่อวกาศอีกครั้งโดยคราวนี้พุ่งชน พื้นผิวของดวงจันทร์ได้สำเร็จและนำข้อมูลกลับมายังโลกเป็นครั้งแรกของโลกที่ดาวเทียมไปถึงพื้นผิวของดาวดวงอื่นที่ไม่ใช่โลก 

วันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 สหภาพโซเวียตได้สร้างยานวอสต็อก1แล้วส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกพร้อมกับได้ส่ง ยูริ กาการิน ไปโคจรรอบโลกพร้อมกับยานวอสต็อก1ด้วย ยูริ กาการินจึงเป็นนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่ออกไปนอกโลก 

ค.ศ. 1964 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานสำรวจอวกาศชื่อว่า"มารีเนอร์4"ไปสำรวจดาวอังคารและถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารกลับมายังโลก ซึ่งทำให้รู้ว่าดาวอังคารมีหลุมอุกกาบาตจำนวนมากเช่นเดียวกับดวงจันทร์และพบปากปล่องภูเขาไฟจำนวนมาก 

วันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานอพอลโล11พร้อกับนักบินอวกาศคนแรกของโลกที่ได้เหยียบ พื้นผิวของดวงจันทร์ 

ปี ค.ศ. 1971 สหภาพโซเวียตได้ส่งยานสำรวจอวกาศ"มาร์3"ลงจอดบนดาวอังคารเพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นผิว อุณหภูมิ ภูมิศาสตร์ ชั้นบรรยากาศ รวมถึง สนามแม่เหล็กบนดาวอังคาร 

ปีค.ศ. 1971 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานมารีเนอร์9ไปสำรวจดาวอังคารอีกครั้งและพบ ภูเขาไฟ น้ำแข็งที่ขั้วดาว และตรวจพบดาวบริวารของดาวอังคาร2ดวงซึ่งได้รับการตั้งชื่อ ในเวลาต่อมาว่า"โฟบอส"และ"ดีมอส" 

ปี ค.ศ. 1975 สหรัฐอเมริกาได้ส่งยานไวกิ้ง1ไปดาวอังคารพร้อมกับได้ส่งยานไวกิ้ง2ตามไป เพื่อสำรวจพื้นผิวหุบเขา ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร 

เดือนกุมภาพันธ์ค.ศ. 1986 สหภาพโซเวียตได้ส่งสถานีอวกาศที่ชื่อว่าเมียร์ออกไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จ มีการทดลองและสังเกตการณ์ทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นสถานีอวกาศสถานีแรกของโลก 

ปี ค.ศ. 1997 สหรัฐอเมริกาได้ปล่อยหุ่นยนต์หกล้อชื่อ"โซเจอร์เนอร์"จากยานพาทไฟน์เดอร์ลงสู่พื้นผิวดาวอังคารข้อมูล ถ่ายภาพ วิเคราะห์ส่วนประกอบของ หิน และ ดินบนดาวอังคารส่งกลับมายังโลก 

ข้อมูลอื่นๆ ฉบับภาษาอังกฤษ