Sunthorn Phu Day 


สุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้นิพนธ์วรรณคดีไทยหลายเรื่องทั้ง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน สุภาษิตสอนหญิง ซึ่งไทยยกเป็นยอดกวี และกำหนดให้วันที่ 26 มิ.ย.เป็นวันสุนทรภู่ 

บทกลอนจากเรื่อง "พระอภัยมณี" ซึ่งคุ้นหูคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นฝีมือของ "สุนทรภู่" กวีเอกของไทย เป็นผู้แต่ง และวันที่ 26 มิ.ย.ของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันสุนทรภู่ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดของสุนทรภู่ แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน  บทกลอนจากเรื่อง "พระอภัยมณี" ซึ่งคุ้นหูคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นฝีมือของ "สุนทรภู่" กวีเอกของไทย เป็นผู้แต่ง และวันที่ 26 มิ.ย.ของทุกปี ถูกยกให้เป็นวันสุนทรภู่ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันเกิดของสุนทรภู่   นอกจากนี้ สุนทรภู่ ที่ได้รับการยกย่องในระดับโลกจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยถือเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ได้รับเกียรตินี้ในปี พ.ศ.2529  "สุนทรภู่" มีชื่อเดิมว่า "ภู่" เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของ “พระราชวังหลัง” หรือก็คือ บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบันนี้ เชื่อว่า หลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน  "สุนทรภู่" มีชื่อเดิมว่า "ภู่" เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของ “พระราชวังหลัง” หรือก็คือ บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบันนี้ เชื่อว่า หลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน   สุนทรภู่เมื่อโตขึ้นได้เข้าเรียนในพระราชวังหลัง และที่วัดชีปะขาว (วัดศรีสุดาราม) และเข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางในกรมพระคลังสวน โดยสุนทรภู่นั้นชื่นชอบการแต่งกลอนอย่างมาก  เมื่ออายุได้ 20 ปี ได้แต่ง "นิราศพระบาท" ระหว่างติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2350 เมื่ออายุได้ 20 ปี ได้แต่ง "นิราศพระบาท" ระหว่างติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็ก ตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชา ที่ อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี เมื่อปี พ.ศ.2350   จนกระทั่งได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) ราวปี พ.ศ. 2359 และได้แต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ที่ไม่มีผู้ใดแต่งต่อได้ ทำให้รัชกาลที่ 2 โปรดสุนทรภู่อย่างมาก  ระหว่างรับราชการสุนทรภู่ต้องโทษติดคุก แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ  ในช่วงชีวิตรับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 สุนทรภู่มีชีวิตและผลงานที่โดดเด่นเป็นที่พอพระราชหฤทัย จนกระทั่งสุนทรภู่ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น "พระสุนทรโวหาร" ซึ่งเป็นตำแหน่งสุดท้ายก่อนเสียชีวิตในวัย 69 ปี ตรงกับในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4)

ผลงานของสุนทรภู่มีเป็นจำนวนมาก ดังนี้

นิทานจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ โคบุตร, พระอภัยมณี, พระไชยสุริยา, ลักษณวงศ์, สิงหไกรภพ
นิราศ จำนวน 9 เรื่อง นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศสุพรรณ, นิราศวัดเจ้าฟ้า, นิราศอิเหนา, รำพันพิลาป, นิราศพระประธม


สุภาษิต จำนวน 3 เรื่อง สวัสดิรักษา, เพลงยาวถวายโอวาท, สุภาษิตสอนหญิง, บทละคร 1 เรื่อง    สุภาษิต จำนวน 3 เรื่อง สวัสดิรักษา, เพลงยาวถวายโอวาท, สุภาษิตสอนหญิง, บทละคร 1 เรื่อง   

บทละครและบทเสภา จำนวน 3 เรื่อง บทละครอภัยนุราช, บทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม, บทเสภาพระราชพงศาวดาร

ในวันสุนทรภู่ โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ มักที่จะจัดกิจกรรม เช่น ประกวดแต่งกลอน แสดงละครเวทีและอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและอนุรักษ์ภาษาไทย

 แหล่งข้อมูล

https://www.thaipbs.or.th/news/content/328761