รายวิชา ดนตรีสากล 3 (ศ23105)

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

คำอธิบายรายวิชา

รายวิชา ศ 23105 ดนตรีศึกษา 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ภาคเรียนที่ 1 เวลา 20 ชั่วโมง จำนวน 0.5 หน่วยกิต

ครูผู้สอน นายกิตติภูมิ มีมอญ

ศึกษาเรื่ององค์ประกอบที่ใช้ในดนตรีและงานศิลปะอื่น การเล่นดนตรีเดี่ยว และรวมวง เทคนิคการร้อง การเล่น การแสดงออก และคุณภาพเสียง การแต่งเพลงสั้นๆ จังหวะง่ายๆ การเลือกใช้องค์ประกอบดนตรีในการสร้างสรรค์งานดนตรี อิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม หลักการนำเสนอ หรือจัดการดนตรี โดยการบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ในกลุ่มศิลปะ วิวัฒนาการของดนตรีแต่ละยุคสมัย และลักษณะเด่นที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับ

โดยใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์งานดนตรี นำเสนอโดยการอธิบาย อภิปราย เปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรี และจัดการแสดงดนตรี

เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านมีวินัย ใฝ่เรียนรู้ มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ ชื่นชม และเห็นคุณค่าของดนตรี

ตัวชี้วัด

1. เปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรีและงานศิลปะอื่น ( ศ 2.1 ม.3/1)

2. ร้องเพลง เล่นดนตรีเดี่ยวและร่วมวง โดยเน้นเทคนิคการร้อง การเล่น การแสดงออก และคุณภาพเสียง (ศ 2.1 ม.3/2)

3. แต่งเพลงสั้นๆ จังหวะง่ายๆ (ศ 2.1, ม.3/3)

4. อธิบายเหตุผลในการเลือกใช้องค์ประกอบดนตรี ในการสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง (ศ 2.1, ม.3/4)

5. เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานดนตรีของตนเอง และผู้อื่น (ศ 2.1, ม.3/5)

6. อธิบายเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคล และสังคม (ศ 2.1, ม.3/6)

7. นำเสนอหรือจัดการแสดงดนตรีที่เหมาะสมโดยการบูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ( ศ 2.1, ม.3/7)

8. บรรยายวิวัฒนาการของดนตรีแต่ละยุคสมัย ( ศ 2.2, ม.3/1)

9. อภิปรายลักษณะเด่นที่ทำให้งานดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ ( ศ 2.2, ม.3/2)มาตรฐานและตัวชี้วัดจำนวน 9 ตัว ได้แก่ ศ 2.1 ม.3/1, ม.3/2, ม.3/3, ม.3/4, ม.3/5, ม.3/6, ม.3/7

ศ 2.2 ม.3/1, ม.3/2


หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เปรียบเทียบงานดนตรีกับงานศิลปะอื่นและลักษณะเด่นที่ทำให้งานดนตรีนั้นได้รับการยอมรับ