คุณสมบัติ/หลักฐานการสมัคร
๒. คุณสมบัติของผู้สมัคร (ระดับปริญญาตรี)
๒.๑ คุณสมบัติทั่วไปของผู้สมัคร
(๑) มีคุณสมบัติตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ว่าด้วยการศึกษา ระดับปริญญาตรี พุทธศักราช ๒๕๖๖ หมวด ๑ คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าศึกษา ในข้อ ๗
(๒) มีสัญชาติไทยหรือเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
(๓) เป็นผู้ที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ในปีการศึกษานั้น ๆ
(๔) เป็นผู้มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) ในมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ภาคต้น) รวม ๕ ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า ๒.๐๐
(๕) เป็นผู้ไม่มีโรคติดต่อร้ายแรง หรือเป็นโรคที่สังคมรังเกียจ หรือโรคสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา
(๖) เป็นผู้มีความประพฤติดี และรับรองต่อมหาวิทยาลัยว่าจะศึกษาเล่าเรียนตามความสามารถและยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย หรือหลักสูตรที่มีอยู่แล้ว หรือที่จะพึงมีต่อไปโดยเคร่งครัดทุกประการ
(๗) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรซึ่งมีวุฒิเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากมหาวิทยาลัย
(๘) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
(๙) มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตเพื่อเข้าศึกษาในอีกสาขาวิชานึงได้ ทั้งนี้ ให้มีการโอนหรือเทียบโอนผลการศึกษาตามเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดและต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต และมีเวลาศึกษาอีกไม่น้อยกว่า ๓ ภาคการศึกษาปกติ
๒.๒ คุณสมบัติของคฤหัสถ์ผู้สมัครเข้าศึกษา
(๑) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือผู้ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๒) เป็นผู้สำเร็จการศึกษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
(๓) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
(๔) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรมหรือบาลีศึกษา ๓ ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๕) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๖) เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
(๗) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรซึ่งมีวุฒิเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากมหาวิทยาลัย
(๘) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
(๙) มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตเพื่อเข้าศึกษาในอีกสาขาวิชานึงได้ ทั้งนี้ ให้มีการโอนหรือเทียบโอนผลการศึกษาตามเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดและต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต และมีเวลาศึกษาอีกไม่น้อยกว่า ๓ ภาคการศึกษาปกติ
๒.๓ คุณสมบัติของพระภิกษุสามเณรผู้สมัครเข้าศึกษา
(๑) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หรือ
(๒) เป็นผู้สอบได้ปรียญธรรม ๓ ประโยค และต้องศึกษาวิชาสามัญเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๓) เป็นผู้สอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๔) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา หรือ
(๕) เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด หรือ
(๖) เป็นพระสังฆาธิการหรือครูสอนพระปริยัติธรรมที่สอบได้นักธรรมชั้นเอกและสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า หรือ
(๗) เป็นผู้สอบได้นักรรมชั้นเอก และสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้วต้องศึกษาวิชาบาลี ไม่น้อยกว่า ๑๒ หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๘) เป็นผู้สำเร็จการศึกษระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าหรือผู้ที่ได้รับประกาศนียบัตรอื่นที่มหาวิทยาลัยรับรอง และเมื่อขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตแล้วต้องศึกษาวิชาบาลีไม่น้อยกว่า ๒๔ หน่วยกิต ยกเว้นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาบาลีที่มหาวิทยาลัยรับรอง หรือ
(๙) เป็นผู้ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้เข้าศึกษาเป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับปริญญาตามเกณฑ์ที่สภาวิชาการกำหนด
(๑o) เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรซึ่งมีวุฒิเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากมหาวิทยาลัย
(๑๑) ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี(ต่อเนื่อง) จะต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงหรือเทียบเท่า หรือระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ในสาขาที่ตรงหรือสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เข้าศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
(๑๒) มหาวิทยาลัยอาจอนุมัติให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นขึ้นทะเบียนเป็นนิสิตเพื่อเข้าศึกษาในอีกสาขาวิชานึงได้ ทั้งนี้ ให้มี
(๑๓) การโอนหรือเทียบโอนผลการศึกษาตามเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดและต้องมีหน่วยกิตสะสมไม่น้อยกว่า ๖๐ หน่วยกิต และมีเวลาศึกษาอีกไม่น้อยกว่า ๓ ภาคการศึกษาปกติ
๒.๔ คุณสมบัติเฉพาะหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สังคมศึกษา ผู้สมัครต้องสอบ “คุณลักษณะความเป็นครู” ที่มหาวิทยาลัยเป็นผู้จัดสอบ (รูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนดในวันสอบสัมภาษณ์)
หากปรากฏภายหลังว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่ง หรือตรวจสอบพบในภายหลังว่าข้อความที่ได้แจ้งไว้ในการรับสมัครเป็นเท็จ หรือหลักฐานการประกอบสมัครเป็นเอกสารปลอม ผู้สมัครจะต้องถูกเพิกถอนสิทธิในการรับสมัครสอบคัดเลือกในครั้งนี้ แม้ว่าผู้สมัครจะได้สมัครหรือได้ผ่านการสอบคัดเลือกแล้วก็ตาม และผู้สมัครต้องไม่เคยถูกคัดชื่อออกหรือถูกไล่ออกจากสถาบันการศึกษาใด ๆ เพราะความผิดทางความประพฤติหรือวินัย
๓. หลักฐานการรับสมัคร
๓.๑ ใบสมัครคัดเลือกระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา ๒๕๖๗ จำนวน ๑ ชุด
๓.๒ รูปถ่ายของผู้สมัครขนาด ๑.๕ x ๒ นิ้ว มีพื้นที่สีขาวหรือสีฟ้า สวมชุดนักเรียนหรือชุดสุภาพเป็นรูปเดียว หน้าตรงไม่ยิ้ม ไม่สวมหมวกหรือแว่นตาดำ เห็นใบหน้าชัดเจน ถ่ายไว้ไม่เกิน ๖ เดือน และต้องไม่มีการปรับแต่งแสงทางดิจิตอล จำนวน ๒ รูป
๓.๓ สำเนาระเบียนแสดงผลการเรียน (ฉบับจริง) ที่สถานศึกษาออกให้พร้อมประทับตราโรงเรียนที่แสดงผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) คำนวณจากผลการเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (ภาคต้น) รวม ๕ ภาคการศึกษา จำนวน ๒ ชุด
๓.๔ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ่ายเอกสารเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว) พร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง จำนวน ๒ ฉบับ
๓.๕ สำเนาทะเบียนบ้าน (พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง) จำนวน ๒ ฉบับ
๓.๖ สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ - ชื่อสกุล (เฉพาะในกรณีชื่อ - ชื่อสกุล ในเอกสารรับสมัครไม่ตรงกัน พร้อมลงนามสำนาถูกต้อง) จำนวน ๒ ฉบับ
๓.๗ ผู้สมัครหลักสูตรนิสิตศาสตรบัณฑิต ภาคบัณฑิต ให้ส่งสำเนาปริญญาบัตร และ สำเนาทรานสคริป ระดับปริญญาตรี (พร้อมลงนามสำเนาถูกต้อง) จำนวน ๒ ฉบับ