การศึกษา 

Thai Mooc NU Training


หมายเหตุ: ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิจัยทางคลินิกเบื้องต้น หลักการเขียนโครงการวิจัยทางคลินิก และส่วนประกอบที่สำคัญ ข้อพิจารณาทางจริยธรรมที่ผู้วิจัยจะต้องคำนึงเกี่ยวกับการออกแบบโครงการวิจัยทางคลินิก การเขียนและออกแบบกระบวนการและเอกสารการขอความยินยอมจากอาสาสมัคร และการออกแบบแบบฟอร์มต่างๆ ที่ต้องใช้ในโครงการวิจัยทางคลินิก

การเรียนเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเมื่อสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้เรียนจะสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้ด้วยตนเอง


อาจารย์ผู้สอน

รศ.ดร.ภญ.พัชราภรณ์ สุดชาฎา

ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ 

เลขานุการและกรรมการ

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร  และ

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่าย 


e-Mail: patcharaporns@nu.ac.th 


หมายเหตุ: หลักสูตรนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และเมื่อผู้เรียนได้ใบประกาศนียบัตรสามารถนำไปใช้ประกอบการยื่นขอรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโครงการวิจัยได้

ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหลักจริยธรรมการวิจัยพื้นฐาน และวิวัฒนาการของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ การประเมินความเสี่ยง-ประโยชน์ จริยธรรมของการวิจัยในกลุ่มเปราะบาง ความเป็นส่วนตัว การรักษาความลับของอาสาสมัคร และการขัดแย้งทางผลประโยชน์ เอกสารและกระบวนการขอความยินยอม การพิจารณาโครงร่างการวิจัยครั้งแรก และการพิจารณาภายหลังการรับรอง

การเรียนเป็นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเมื่อสอบผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนดผู้เรียนจะสามารถพิมพ์ใบประกาศนียบัตรได้ด้วยตนเอง


อาจารย์ผู้สอน

รศ.ดร.ภญ.พัชราภรณ์ สุดชาฎา

ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ 

เลขานุการและกรรมการ

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เครือข่าย 


e-Mail: patcharaporns@nu.ac.th

Good Clinical Practice (GCP) Training