ถาม-ตอบ : กว่าจะเป็น...

ถาม : ที่มา กว่าจะเป็น...

ตอบ : ในสถานการณ์ที่ประชาชนชาวไทยร่วมไว้อาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสู่สวรรคาลัย การรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้ ไม่ใช่เพียงการแสดงเชิงสัญลักษณ์เท่านั้น แต่ควรอยู่ที่การดำเนินชีวิตตามคำสอนและทำตามแนวทางที่ “พ่อหลวง” ทรงสอนไว้

“ถ้ารักพ่อหลวง อย่าแค่พูดหรือใส่เสื้อ ติดสติกเกอร์ ติดเข็มกลัด หรือติดโบว์สีดำ แต่ขอให้ทำ...ตามคำพ่อสอน”

ถาม : แนวคิด กว่าจะเป็น...

ตอบ : “ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ” ศาสตร์พระราชา... พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระราชทานเพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำเสียในจังหวัดเพชรบุรี

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ถาม : โครงเรื่อง กว่าจะเป็น...

ตอบ : คำสำคัญที่นำมาขยายความ ได้แก่ “ธรรมชาติบำบัดธรรมชาติ” “การแสดงเชิงสัญลักษณ์”“กบฏทางความคิด”

ถาม : รูปแบบของการนำเสนอ

ตอบ : คอมเมดี้ ดราม่า ... การล้อเลียน ยั่วยุให้นึกคิด... ขำๆ ซึ้งๆ ...ด้วยเจตนารมณ์ที่ไม่ต้องการทำหนังเศร้า...เพราะเชื่อว่าในช่วงเวลานี้ ประชาชนชาวไทยยังคงมีความรู้สึกอาลัย...

ถาม : เรื่องย่อ กว่าจะเป็น...

ตอบ : เด็กชายพากเพียร เด็กชายตัวน้อยที่ถูกสิ่งรายล้อมรอบตัวทำให้เขามีสภาพไม่ต่างกับน้ำเสีย แต่ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ... ยังไม่มีใครสังเกตเห็นว่า “เพียร” กำลังต้องการความช่วยเหลือ

กระบวนการช่วยเหลือ “เพียร” เริ่มขึ้นอย่างไม่ตั้งใจ เมื่อ “ครูอี๊ด” คุณครูประจำชั้น ผู้เลิศหรู หลงกระแสสังคมวัตถุนิยม สั่งงานให้นักเรียนทุกคนในชั้นเรียนทำรายงานเรื่อง โครงการพระราชดำริในจังหวัดเพชรบุรี

ถาม : บทบาทของผู้แสดง

ตอบ :

      • “เพียร” เด็กชายตัวน้อยที่ถูกสิ่งรายล้อมรอบตัวทำให้เขามีสภาพไม่ต่างกับน้ำเสีย
      • “ครูอี๊ด” คุณครูประจำชั้น ผู้เลิศหรู หลงกระแสสังคมวัตถุนิยม
      • “พ่อน้อย” ชายหนุ่มที่ดำเนินชีวิตอย่างภาคภูมิตามคำสอนของ “พ่อ” ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยไม่จำเป็นต้องป่าวประกาศให้ใครรู้
      • “พ่อใช้” เหมือนกับคนไทยอีกหลายคน ที่ไม่มีสิ่งใดเลยซึ่งแสดงออกว่าเป็นลูก “พ่อหลวง” ยกเว้น สติกเกอร์ติดรถ กับเสื้อยืด “ขอเป็นข้ารองพระบาททุกชาติไป”
      • “ก๊อป” เด็กน้อยหัวหน้าชั้นยุคไอทีที่เชื่อสนิทใจว่าการค้นคว้าทำรายงานเป็นเพียงแค่... การ “ก๊อป – วาง”
      • “ลุงลุย” ชายสูงวัยที่เข้าใจถึงแก่นแท้ของศาสตร์พระราชา และน้อมนำมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตได้อย่างอัศจรรย์
      • “ผู้อำนวยการโรงเรียน” บุคคลสำคัญ ผู้ค้นพบความงดงามในความตั้งใจถ่ายทอดศาสตร์พระราชาของเด็กชายตัวเล็กๆ

ถาม : สิ่งที่แอบแฝง

ตอบ : จิตวิทยาเด็ก ผู้มีปม มักจะแสดงพฤติกรรม การกระทำบางอย่างที่ซ้ำๆ และมักมีความผูกพันอยู่กับสิ่งของบางอย่าง