Resident Wellbeing Project

ความเป็นมาและความสำคัญ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ศึกษาความเป็นอยู่ ระดับความเครียด ความเหนื่อยล้า และความสามารถในการรับมือกับปัญหาชีวิต

  2. ประเมินความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ สภาพจิตใจ ระดับความเครียด ความเหนื่อยล้า และความสามารถในการรับมือกับปัญหาชีวิต

ของแพทย์ประจำบ้านสาขารังสีวิทยาวินิจฉัย ตลอดระยะเวลาการฝึกอบรมในหลักสูตรฯ

รายละเอียดโครงการ

อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ

แพทย์ประจำบ้าน (resident) สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย (diagnostic radiology) ที่มีเชื้อชาติไทย สัญชาติไทย และกำลังศึกษาอยู่ในคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หรือคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

ขั้นตอน

  1. แพทย์ประจำบ้านรับแบบสอบถามแบบออนไลน์ผ่านลิงค์เป็นรายบุคคลผ่านอีเมล์ ซึ่งสามารถตอบรับหรือปฏิเสธการทำแบบสอบถามได้ในทุกรอบ แบบสอบถามมีการส่ง 3 ครั้ง/ปีการศึกษา แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 4 เดือน ในแต่ละครั้งจะมีอีเมล์เตือนหากไม่มีคำตอบไม่เกิน 2 รอบ

  2. แพทย์ประจำบ้านรับการประชาสัมพันธ์ผ่านกลุ่มไลน์ซึ่งเป็นกลุ่มปิดสำหรับแพทย์ประจำบ้านในสถาบันของตน

  3. คณะผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์และประมวลผลการวิจัยเป็นระยะ แปลผลทางสถิติ และเขียนรายงานผลการวิจัย

ระยะเวลา

รวมระยะเวลาที่อาสาสมัครอยู่ในโครงการวิจัย 3 ปี (เท่าระยะเวลาเข้ารับการฝึกอบรม resident) ท่านจะได้รับแบบสอบถามรวม 9 ครั้ง (3 ครั้ง/ปีการศึกษา) ในแต่ละครั้งท่านสามารถเลือกตอบหรือไม่ตอบแบบสอบถามก็ได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้

  1. ท่านได้รับผลประเมินความเหนื่อยล้าในการทำงาน ระดับความเครียด กลวิธีการเผชิญปัญหา และความช่วยเหลือทางสังคม ในทุกครั้งที่ทำแบบสอบถาม

  2. ผลงานวิจัยเป็นประโยชน์ในเชิงการปรับปรุงโครงสร้างและรูปแบบการฝึกอบรม resident สาขารังสีวิทยาวินิจฉัย เพื่อลดความตึงเครียด ความกังวล และความเหนื่อยล้าของ resident

  3. ผลงานวิจัยมีโอกาสพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ เพื่อเผยแพร่ประสบการณ์ และองค์ความรู้

ความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อเข้าร่วมโครงการ

การตอบแบบสอบถามอาจทำให้ท่านเกิดความไม่สะดวกสบายและเสียเวลา (แต่ละครั้งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที)

ค่าตอบแทน/ค่าใช้จ่าย

  • ท่านจะไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการวิจัยนี้

  • ไม่มีค่าใช้จ่ายที่ผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครจะต้องรับผิดชอบเอง กรณีที่ต้องการความช่วยเหลือหรือดูแลรักษาอันเนื่องมาจากการวิจัยตามมาตรฐานทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรักษา

หากท่านไม่เข้าร่วมในโครงการวิจัยนี้ ท่านก็จะได้รับการปฏิบัติระหว่างการฝึกอบรมที่เป็นมาตรฐาน ไม่ต่างจากผู้ที่เข้าร่วมโครงการวิจัย

การรับรองจากคณะกรรมการวิจัยในคน

งานวิจัยของสองสถาบันฯ ใช้การรับรองเดียวกันเนื่องจากมีบันทึกลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย (Memorandum of Understanding for Research Collaboration; MOU)

เอกสารรับรองจาก SIRB: SIRB Protocol No. 1060/2564 (IRB2); COA No. Si 024/2022 (link)

นโยบายความเป็นส่วนตัว

หากมีข้อมูลเพิ่มเติมทั้งด้านประโยชน์และโทษที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนี้ ผู้วิจัยจะแจ้งให้ทราบโดยรวดเร็วและไม่ปิดบัง

ข้อมูลส่วนตัวของอาสาสมัคร จะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับและจะไม่เปิดเผยต่อสาธารณะเป็นรายบุคคล แต่จะรายงานผลการวิจัยเป็นข้อมูลส่วนรวมกรณีเป็นการวิจัยทางคลินิกผลการวิจัยในภาพรวมนี้อาจดูได้จากเว็บไซต์ (http://www.ClinicalTrials.gov/ http://www.ClinicalTrials.in.th.) ข้อมูลของอาสาสมัครเป็นรายบุคคลอาจมีคณะบุคคลบางกลุ่มเข้ามาตรวจสอบได้ เช่น ผู้ให้ทุนวิจัย ผู้กำกับดูแลการวิจัย สถาบันหรือองค์กรของรัฐที่มีหน้าที่ตรวจสอบ รวมถึงคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน เป็นต้น โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้ร่วมวิจัย/อาสาสมัครในการรักษาความลับเกินขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตไว้

อาสาสมัครมีสิทธิ์ถอนตัวออกจากโครงการวิจัยเมื่อใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า และการไม่เข้าร่วมการวิจัยหรือถอนตัวออกจากโครงการวิจัยนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อการบริการและการรักษาที่สมควรจะได้รับตามมาตรฐานแต่ประการใด

อาสาสมัครอาจหาความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้จากเว็บไซต์คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน http://www.si.mahidol.ac.th/sirb ทั้งนี้ หากท่านได้รับการปฏิบัติที่ไม่ตรงตามที่ได้ระบุไว้ ท่านสามารถร้องเรียนไปยังประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคนได้ที่เว็บไซต์ดังกล่าว หรือที่สำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ชั้น 2 โทร. 02-419-2667-72, 063-903-4255 โทรสาร 02-411-0162

ตัวอย่างแบบสอบถาม

ตัวอย่างนี้เป็น PDF files แต่แบบสอบถามจริงจะแปลงเป็น Google Forms

  1. แบบสอบถามความเหนื่อยล้า (CBI) link

  2. แบบวัดความรู้สึกเครียด (Thai Perceived Stress Scale-10; T-PSS-10) link

  3. แบบวัดการเผชิญปัญหา (Coping scale) link

  4. แบบสอบถามความรู้สึกหลากหลายมิติเกี่ยวกับความช่วยเหลือทางสังคม (Revised Multidimensional Scale of Perceived Social Support; MSPSS-R) link

ในแต่ละครั้ง อาสาสมัครจะได้รับแบบสอบถามซึ่งประกอบไปด้วย

  • ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลการปฏิบัติงาน และข้อมูลอื่น (link) และ

  • รายการที่ 1+2+3+4 (ครั้งแรกของปี) หรือ 1+2+4 (ครั้งที่ 2 และ 3 ของปีการศึกษา)

ติดต่อสอบถาม

หัวหน้าโครงการวิจัย: ผศ.นพ.​ รัฐชัย แก้วลาย

  • อีเมล์ rathachai.kae[a]mahidol.edu

  • ห้องแปลผลภาพ (บริเวณห้องตรวจ CT) ศูนย์ภาพวินิจฉัย ชั้นพื้นดิน อาคารผู้ป่วยนอก รพ.ศิริราช

  • สาขาวิชารังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา (ตึก 72 ปี ชั้น 10) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 2 ถ.วังหลัง แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ 10700

ผู้วิจัยร่วม (จิตแพทย์): ผศ.นพ. วรภัทร รัตอาภา และ ผศ.พญ. กมลพร วรรณฤทธิ์

ผู้วิจัยร่วม (รังสีแพทย์ ศิริราช): อ.นพ. การย์กวิน ภัทรธีรนาถ อ.พญ. รมิดา อมรสิทธิวัฒน์ และ ผศ.พญ. วรปารี สุวรรณฤกษ์

ผู้วิจัยร่วม (รังสีแพทย์ รามาธิบดี): ผศ.พญ. นิชนันท์ เรืองวัฒนไพศาล และ อ.พญ. สุวดี เอ่งฉ้วน

กรณีฉุกเฉิน โปรดติดต่อ อ.รัฐชัย ได้ทางหมายเลขโทรศัพท์ หรือส่งข้อความไปยังหมายเลขส่วนตัวที่ให้ไว้ต่างหาก