ข้อมูลโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนแม่อายวิทยาคม


              โรงเรียนแม่อายวิทยาคม ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 เป็นโรงเรียนแบบสหศึกษานักเรียนเดินทาง ไปกลับ อยู่ในสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยใช้ชื่อในการจัดตั้งว่า"โรงเรียนแม่อายวิทยาคม" เปิดเรียนครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2517การดำเนินงานของโรงเรียน ได้เปิดทำการสอนครั้งแรกตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม  2517  เดิมเป็นสาขาของ โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ โดยทางโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ได้ส่งนายสมาน  อัศวนายุคล มาเป็นผู้ควบคุมดูแลความเรียบร้อย เปิดรับนักเรียนชั้น ม.ศ.1 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 49 คน ใช้อาคารเรียนของโรงเรียนบ้านแม่สาวทำการสอน ต่อมาย้ายมาเรียนที่อาคารเรียนชั่วคราว หลังคามุงแฝก


        บริเวณโรงเรียน ในปัจจุบัน ในปีการศึกษา 2518 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้งนายประสิทธิ์  แสนไชย มาเป็นครูใหญ่คนแรก
ปัจจุบันมีนายพงษ์ไทย บัววัด เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน  โรงเรียนแม่อายวิทยาคมได้โอนจากสังกัดจากสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2549 หลังการถ่ายโอนโรงเรียนได้รับจัดสรรงบประมาณ ในการจัดสร้าง อาคารเอนกประสงค์ชั้นลอย ในปีงบประมาณ 2550 และอาคารเรียน 3/12 ในปีงบประมาณ 2551
นอกจากนั้นยังได้รับบรรจุข้าราชการครู เต็มอัตรากำลังที่โรงเรียนควรมี ในปีการศึกษา 2552


          โรงเรียนแม่อายวิทยาคม ตั้งอยู่เลขที่ 128 หมู่ 1 ถ.ฝาง-ท่าตอน ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ 50280 โทรศัพท์
053-459040 โทรสาร 053-459041 ระยะทางจากจังหวัด(ศูนย์ราชการฯ) ถึงโรงเรียน 168  กิโลเมตร
ใช้เวลาเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางประมาณ 3 ชั่วโมง  โดยผ่านเส้นทางถนน โชตนา-ฝาง, ฝาง - ท่าตอน


วิสัยทัศน์ (Vision)


“โรงเรียนแม่อายวิทยาคม มุ่งพัฒนากระบวนการทำงาน จัดการเรียนรู้

เน้นผู้เรียนให้มีมาตรฐาน สานสร้างความเข้มแข็งร่วมกับชุมชน ”

"Mae Ai Wittayakhom school focuses on developing work process, organizing learning to make student reach the standard, building on the strenght with community" 

พันธกิจของโรงเรียน (Mission)

1. เพิ่มประสิทธิภาพ
2. พัฒนากระบวนการทำงาน
3. สร้างบรรยากาศการเรียนรู้
4. สร้างความเข้มแข็ง


เป้าประสงค์ (Corporate Objectives/Goals)

1. โรงเรียนมีโครงสร้างและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม
2. ครูและบุคลากรได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ มีงานวิจัย มีเครือข่ายพัฒนาคุณภาพใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
3. นักเรียนได้รับการพัฒนาให้เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศ และมีทักษะชีวิต
4. ครูและนักเรียนมีวัสดุ ครุภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนการเรียนการสอน
5. ครูและนักเรียนมีวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเรียน การสอน มีบุคลากรสนับสนุนและพร้อมใช้
6. โรงเรียนมีห้องเรียน ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ห้องพิเศษ ศูนย์การเรียนรู้เพียงพอเหมาะสม สะอาดและปลอดภัย
7. โรงเรียนได้รับการรับรองมาตรฐาน มีคุณภาพและได้รับการยอมรับจากชุมชน