รูปแบบและรายละเอียดต้นฉบับ สำหรับผู้ตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องงานประชุม (Proceedings)

แนวปฏิบัติการนำเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

  1. หากกองบรรณาธิการตรวจพบข้อผิดพลาด หรือ ความไม่สมบูรณ์ในรูปแบบของบทความ บทความนั้นจะถูกส่งกลับไปยังผู้เขียน เพื่อทำการแก้ไขบทความ ในกรณีที่จัดเตรียมถูกต้องตามระเบียบการตีพิมพ์และมีความสมบูรณ์ของรูปแบบจะถูกส่งไปยังผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาคุณค่าและความสมบูรณ์ของเนื้อหาบทความดังกล่าวต่อไป

  2. ประเภทของบทความ บทความที่จะได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนืองจากงานประชุม เป็นบทความที่มีลักษณะเกี่ยวกับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

    • บทความทางวิชาการโดยทั่วไป เป็นบทความทางวิชาการที่นำเสนอเนื้อหาสาระทางวิชาการที่ผ่านการวิเคราะห์และประมวลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ประกอบด้วย ความนำ เนื้อเรื่อง ซึ่งแบ่งเป็นประเด็นหลัก ประเด็นรอง ประเด็นย่อย และบทสรุป ความยาวไม่เกิน 25 หน้า

    • บทความวิจัย เป็นบทความที่เกิดจากการวิจัยของผู้เขียนหรือสมาชิกร่วมในงานวิจัยนั้น ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ สมมุติฐานของงานวิจัย ขอบเขตที่ครอบคลุมในการวิจัย ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิธีดำเนินการวิจัย (ประกอบด้วยข้อมูลประชากร กลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือการวิจัย และเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ ในกรณีงานวิจัยทางประวัติศาสตร์ ปรัชญา วรรณกรรมวิจารณ์หรือวรรณคดีเปรียบเทียบ ตลอดจนสาขาวิชาในด้านมนุษยศาสตร์อื่นๆ จะต้องระบุวิธีการวิจัยอันสัมพันธ์กับสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องของตนอย่างชัดเจน) ผลการวิจัย (สรุปผลการวิจัย อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ) ความยาวไม่เกิน 25 หน้า

  3. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในเอกสารสืบเนื่องจากการประชุม (Proceedings) หรือ วารสาร​ อื่น

  4. บทความที่จะได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิอ่านทบทวนบทความ (Peer Review)

รายละเอียดต้นฉบับ

บทความที่ส่งมาเพื่อตีพิมพ์ในหนังสือประมวลบทความในการประชุมทางวิชาการ (Proceeding) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. ต้องระบุชื่อบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ หรือ 15 บรรทัด) คำสำคัญ (ไม่เกิน 5 คำ) และประวัติผู้เขียน (เช่น ชื่อผู้เขียน และหน่วยงานต้นสังกัด ที่อยู่ โทรศัพท์ และอีเมล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ไม่เกิน 100 คำ)

  2. ขนาดความยาวของเนื้อหารวมอ้างอิงไม่ควรเกิน 25 หน้า พิมพ์ด้วยโปรแกรม Microsoft Word (กำหนดใช้ฟอนต์ Browallia New และใช้ตัวเลขอารบิก) ดังนี้

2.1 ระยะขอบ ให้ตั้งดังนี้

ด้านบน 1 นิ้ว ด้านล่าง 1 นิ้ว

ด้านซ้าย 1.5 นิ้ว ด้านซ้าย 1 นิ้ว

2.2 รูปแบบและขนาดตัวอักษร

2.3 การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง

ข้อความในตารางใช้รูปแบบอักษร Browallia New 14 พอยต์ หรือสามารถปรับขนาดตัวอักษรให้เหมาะสมกับข้อมูล ใส่เลขลำดับตารางและชื่อตารางไว้ด้านบนตารางและจัดระยะชิดซ้าย เลขลำดับตารางใช้อักษรปกติและชื่อตารางใช้อักษรตัวเอียง (Italic) เช่น

2.4 การนำเสนอข้อมูลด้วยรูปภาพ (figure) ได้แก่กราฟ (Graph) แผนผัง/แผนภูมิ (Chart) แผนที่ (Map) ภาพวาด (Drawing) ภาพถ่าย/รูปภาพ (Photograph/picture) โดยระบุหมายเลขรูปภาพไว้ใต้รูปภาพหรือกลางรูปภาพ โดยจัดรูปแบบอักษรดังนี้ เลขลำดับภาพใช้อักษรตัวเอียง (Italic) และชื่อภาพใช้อักษรตัวปกติ

ตัวอย่างรายการอ้างอิง (Reference)

reference.pdf