รายละเอียดโครงการฯ

1. ชื่อโครงการ : โครงการส่งเสริมการเรียนรู้สะเต็มสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ปีงบประมาณ 2567

2. ผู้รับผิดชอบโครงการ : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี

3. หลักการและเหตุผล 

ตามที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) มีแผนในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นของตนที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะหลักของผู้เรียนและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) พัฒนาผู้เรียนให้เห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน ผ่านการทำกิจกรรมสิ่งแวดล้อม และงานวิจัยสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู และนักวิทยาศาสตร์ นั้น

มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ได้ตระหนักถึงความสำคัญและเล็งเห็นถึงความสำคัญของโรงเรียนและเยาวชนซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อมในอนาคต จึงร่วมเป็นมหาวิทยาลัยเครือข่ายในการพัฒนาและส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้และทำงานวิจัยสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ตามแนวทางสะเต็มศึกษาในโรงเรียนทั่วประเทศให้ได้รับความเท่าเทียมกันผ่านกิจกรรมการเรียนรู้และการทำงานวิจัยระหว่างนักวิทยาศาสตร์ร่วมกับครูและนักเรียน 


4. วัตถุประสงค์

1) ส่งเสริมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามแนวทางสะเต็มศึกษาของครูและนักเรียนในท้องถิ่นโรงเรียนด้อยโอกาสให้ได้รับความเท่าเทียมกันในการเรียนรู้เพื่อสอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สมรรถนะหลักของผู้เรียนและการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development) 

2) พัฒนาผู้เรียนให้เห็นความสําคัญในการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อมและสามารถปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างยั่งยืน จึงมีแนวทางความร่วมมือเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในการส่งเสริมการเรียนรู้สะเต็มสิ่งแวดล้อมที่เชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ


5. เป้าหมาย

5.1 เชิงปริมาณ

1) โรงเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น (ป.4 – ม.3) เข้าร่วมโครงการฯ อย่างน้อย 8 โรงเรียน

2) ครูและผู้บริหารโรงเรียนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างน้อย 5 คน/โรงเรียน และนักเรียน อย่างน้อย 20 คน/โรงเรียน

3) อบรมการทํางานวิจัย และหลักวิธีดําเนินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมของ GLOBE เรื่องที่สนใจอย่างน้อย 2 ด้าน (ดิน น้ำ บรรยากาศ สิ่งมีชีวิต/สิ่งปกคลุมดิน)

4) อบรมกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามแนวทาง GLOBE สสวท.อย่างน้อย 2 กิจกรรม

5) โรงเรียนนําหลักวิธีดําเนินการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมของ GLOBE และกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามแนวทาง สสวท. ไปประยุกต์ใช้ในการทําวิจัยหรือจัดกิจกรรมเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในโรงเรียน อย่างน้อย 8 ผลงาน (กิจกรรมการเรียนรู้และ/หรืองานวิจัย) โดยมีงานวิจัย อย่างน้อย 4 ผลงาน

6) ติดตามและเป็นที่ปรึกษาการจัดกิจกรรมการตรวจวัดสิ่งแวดล้อมของ GLOBE กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศตามแนวทาง สสวท. และการทํางานวิจัยของนักเรียน

7) ส่งข้อมูลการตรวจวัดสิ่งแวดล้อม Data Entry อย่างน้อย 20 ข้อมูล/โรงเรียน

8) ส่งผลงานวิจัยของโรงเรียนเข้าร่วมการประกวดงานวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (GLOBE Student Research Competition: GLOBE SRC) ของ สสวท. และ/หรือ GLOBE International Virtual Science Symposium (IVSS)

9) รายงานผลการดําเนินงาน ปีละ 2 ครั้ง 


5.2 เชิงคุณภาพ  


6. ผลผลิตของแผนงาน/โครงการ

ผลลัพธ์ของโครงการ ได้แก่ จำนวนโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 8 โรงเรียน ครู ผู้บริหาร และนักเรียน 258 คน/โรงเรียน และความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ/หรือ งานวิจัยของนักเรียน ร้อยละ  85

ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ ได้แก่ จำนวนกิจกรรมการเรียนรู้ และ/หรือ งานวิจัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน อย่างน้อย 1 กิจกรรม หรือ งานวิจัย/โรงเรียน

ปฏิทินการดำเนินโครงการฯ

4_ปฏิทินกำหนดการโครงการส่งเสริมการเรียนรู้สะเต็มสิ่งแวดล้อม GLOBE 2567.pdf