KPI e-learning

เรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

หลักการและเหตุผล

รัฐสภา เป็นองค์กรทางการเมืองที่สำคัญในการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีบทบาทสำคัญด้านนิติบัญญัติ ด้านการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล และการให้ความเห็นชอบในเรื่องสำคัญต่างๆ ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้ รัฐสภาของประเทศไทยประกอบด้วย สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา

ในส่วนของ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ผู้แทนปวงชนชาวไทย จะต้องเป็นผู้ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชนโดยรวม โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์ นอกจากนี้ ภารกิจของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำเป็นต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำเนินงานหลายด้าน ทั้งงานภายในรัฐสภาและบทบาทภายนอกรัฐสภา ซึ่งนับว่าเป็นภารกิจที่หนักและต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงต้องเข้าใจบริบทของประชาชนและพื้นที่เป็นอย่างดี ภายใต้เป้าหมายที่สำคัญยิ่ง คือการปฏิบัติภารกิจให้แก่พี่น้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นนักการเมืองมืออาชีพอย่างแท้จริง

สถาบันพระปกเกล้า ในฐานะสถาบันทางวิชาการ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของประธานรัฐสภา มีพันธกิจสำคัญในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไปสู่สาธารณชน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้อยู่ใน    แวดวงสำคัญต่างๆ ของสังคมไทยที่จะก้าวเข้าสู่เวทีทางการเมืองในอนาคต ว่าจำเป็นต้องมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย บทบาทและหน้าที่ของรัฐสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร รวมถึงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการพัฒนาระบบ e-Learning เพื่อรองรับการเรียนการสอนที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้มีการเรียนการสอนผ่านระบบ e-Learning ในหลักสูตร Smart National Politicians (e-NP) เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้อยู่ในแวดวงสำคัญต่างๆ ของสังคมไทยที่จะก้าวเข้าสู่เวทีทางการเมืองในอนาคต ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมทั้งความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติค่านิยมที่จำเป็น สำหรับการจะก้าวเข้าสู่การเป็นนักการเมืองระดับชาติ ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประเทศต่อไป

วัตถุประสงค์

โครงสร้างหลักสูตร

ประกอบด้วย 5 ชุดวิชา (4 รู้ 1 มี) ดังนี้

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้ถึงข้อมูลพื้นฐานต่างๆ รวมถึงบทบาทและหน้าที่ของผู้ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ “นักการเมืองระดับชาติ” ทั้งในส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อตนเอง และส่วนที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้อื่น ในฐานะ “ผู้แทนปวงชนชาวไทย” ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน มีความรอบรู้ในระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะช่วยเสริมบทบาทและยกระดับการทำงานการเมืองให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจคำว่าพลเมืองให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น เนื่องจากฐานสนับสนุนสำคัญของนักการเมือง คือ ประชาชนที่มีความตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ทางการเมือง และออกไปใช้สิทธิใช้เสียงสนับสนุนนักการเมืองที่ตนชื่นชอบอย่างสม่ำเสมอ การสื่อสารให้ประชาชนเข้าใจในนโยบายของตนหรือพรรคการเมืองที่ตนสังกัด การส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองในทุกๆ ระดับในพื้นที่ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและถือเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญของการพัฒนาประชาชน ให้ก้าวไปสู่ความเป็น “พลเมือง” ในสังคมประชาธิปไตย ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจถึงบริบทสำคัญต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมไทย และสังคมโลก อันส่งผลกระทบถึงความเปลี่ยนแปลงในสังคมโดยรวม ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านการเมือง ที่สำคัญกระทบต่อบทบาทและหน้าที่ของนักการเมือระดับชาติ หรือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ การรู้เท่าทันความต้องการและการสามารถตอบสนองพื้นที่และประชาชน ถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเมืองการปกครองในปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

ชุดวิชานี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียน เข้าใจถึงค่านิยมและทัศนคติที่เอื้อต่อสังคมประชาธิปไตย ว่าประเด็นใดเป็นสิ่งที่พึงปรารถนาและประเด็นใดเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา หรือ สิ่งใดดีและสิ่งใดไม่ดี อันจะเป็นการช่วยกำหนดบรรทัดฐานและถือปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ดีและมีความเป็นมืออาชีพ ซึ่งเนื้อหาในชุดวิชานี้จะประกอบไปด้วย

FacebookYouTube