ประวัติกาชาดไทยและยุวกาชาดไทย

สภากาชาดไทย เป็นองค์กรการกุศลเพื่อมนุษยธรรม ได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) เนื่องจากเกิดกรณีพิพาทระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศสเกี่ยวกับ เขตแดนริมฝั่งซ้ายแม่น้ำ โขงและมีการสู้รบเกิดขึ้น เป็นผลให้มีทหารเสียชีวิตและบาดเจ็บ ได้รับความทุกข์ทรมานจำ นวนมาก แต่ยังไม่มีองค์การกุศลใดเข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ให้เป็นกิจจะลักษณะ สตรีไทยกลุ่มหนึ่งโดยการนำ ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ภริยา เพื่อส่งไปช่วยเหลือทหารที่ได้รับบาดเจ็บ และมีความเห็นว่า ควรจะมีองค์การใดองค์การหนึ่งช่วยบรรเทาความทุกข์ยาก ของทหารเช่นเดียวกับองค์การกาชาดของต่างประเทศ เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) จึงนำ ความ กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรม ราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า) ขอให้ทรงเป็นชนนีบำ รุง คือ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการ จัดตั้งองค์การเพื่อบรรเทาทุกข์ยากของทหารขึ้น ความ ทราบถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพอพระราช ให้จัดตั้ง “สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม” ขึ้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2436 (ร.ศ.112) จึงถือว่าวันดังกล่าวเป็น วันสถาปนาสภากาชาดไทย และทรงรับไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ทรงเป็น “สภาชนนี” สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง) ทรงเป็น “สภานายิกา” และท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ เป็นเลขานุการิณี สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงครองราชย์สืบต่อมาได้ทรง สร้าง โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สังกัดสภากาชาดสยาม ถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสืบทอดพระราชภารกิจของสภากาชาดสยามให้ เจริญก้าวหน้าเช่นนานาอารยประเทศ พระองค์ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ผู้แทน จากประเทศสยามไปร่วมประชุมกาชาดระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2454 ที่กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อลงนามความตกลงเรื่องกฎหมายคุ้มครองเครื่องหมายกาชาด (กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เป็นอุปนายก ผู้อำ นวยการสภากาชาดสยาม เพื่อบริหารงานแทนพระองค์ให้ลุล่วงต่อไป ทรงมีพระบรม ราชโองการให้ประกาศพระราชบัญญัติว่าด้วยสภากาชาดสยามเมื่อ พ.ศ. 2461 และผลักดัน ให้สภากาชาดสยาม เข้าเป็นสมาชิกของกาชาดสากลใน พ.ศ. 2463 - 2464

กิจการยุวกาชาด ได้เริ่มไปสู่เด็กและเยาวชน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) โดยสมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็น อุปนายกผู้อำ นวยการสภากาชาดสยาม ในขณะนั้น ได้ริเริ่มก่อตั้ง กองอนุสภากาชาดสยาม เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2465 โดยดำ เนินภารกิจของ สภากาชาดสยามตามข้อเสนอของสันนิบาตสภากาชาด (สหพันธ์สภากาชาดฯ ในปัจจุบัน) ในการเผยแพร่กิจการ กาชาดสู่เยาวชนการดูแลให้เด็กมีอนามัยดี อบรมสั่งสอน ให้เป็นพลเมืองดี มีใจเมตตากรุณารู้คุณคน และไม่นิยม การศึกสงคราม กองอนุสภากาชาดสยาม เปลี่ยนชื่อเป็น กองอนุกาชาด เมื่อ พ.ศ. 2485 และเปลี่ยนเป็น กองยุว กาชาด เมื่อ พ.ศ. 2521 ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2540 สภากาชาดไทย ได้ขยายโครงสร้างองค์กรภายในสภากาชาดไทย จึงเปลี่ยน ชื่อ หน่วยงานเป็น สำนักงานยุวกาชาด สภากาชาดไทย โดย ประสานและดำ เนินงานร่วมกับสำนักการลูกเสือยุวกาชาด