อ.ปากพะยูน

อำเภอปากพะยูนตั้งอยู่ทางตอนล่างของจังหวัด ห่างจากตัวเมืองพัทลุง 63 กิโลเมตร เป็นอำเภอที่อยู่ห่างจากตัวเมืองมากที่สุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้

อำเภอปากพะยูน เป็นอำเภอหนึ่งใน 11 อำเภอ ของจังหวัดพัทลุง คำว่า “ปากพะยูน “ สันนิษฐานว่า มากจากคำว่า “ ปลาพะยูน” ซึ่งเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายกับปลาวาฬเลี้ยงลูกด้วยนม สมัยก่อนปลานี้มีอยู่มากในทะเลสาบสงขลาตอนใน แต่มีบางท่านว่า มาจากคำว่า ปากพูน ซึ่งแปลว่า "ปากน้ำ

อำเภอปากพะยูน ตั้งเมื่อ พ.ศ.2439 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เดิมมีอาณาเขตกว้างขวางมาก มีตำบลอยู่ในปกครองรวม 17 ตำบล รวมทั้งตำบลเขาชัยสน (อำเภอเขาชัยสน) และตำบลกำแพงเพชร (อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสเมื่อ ร.ค.108 มีหลักฐานพระปรมาภิไธย ย่อ จปร. ร.ศ.108 จารึกไว้ ณ หน้าเพิงผาเทวดา ในหมู่เกาะสี่เกาะห้า ซึ่งอยู่ในทะเลสาบสงขลาตอนในพื้นที่อำเภอปากพะยูน

อำเภอปากพะยูน เสมือนกับอำเภอชนบทโดยทั่วไป แต่หากได้พิจารณาอย่างถ่องแท้ไม่ว่าจะเป็นชัยภูมิที่ตั้ง ชื่อหมู่บ้าน ตำบล และชื่อเกาะต่างๆ ล้วนแล้วแต่มีความเกี่ยวพันกับตำนานหรือนิทานปรำปราของชาวบ้านแทบทั้งสิ้น เช่น เรื่องเจ้าฟ้าคอลาย บ้านค่ายท่าทิคครู วัดทุ่งขุนหลวง เกาะบรรทม เป็นต้น อาจจะมีประวัติศาสตร์อันล้ำค่าฝึงอยู่ใต้ผืนดิน ที่ทำนา ทำสวน อยู่ทุกวัน แต่ยังไม่มีผู้ใดขุดค้นพบหลักฐานเหล้านั้นขึ้นมาเผยแพร่ให้ชาวโลกได้รับรู้ หากบรรดานักโบราณคดีของกรมศิลปากรได้ให้ความสนใจขุดค้นตามหลักวิชาโบราณคดี คงจะมีประโยชน์มหาศาลที่กล่าว เช่นนี้ เพราะในประวัติศาสตร์ของเมืองพัทลุง ได้บันทึกไว้ว่า พระยากุมารกับพระนางเลือดขาว ได้ตั้งเมืองพัทลุงขึ้นครั้งแรกที่บ้านพระเกิดเมื่อราว พ.ศ.1832 ในสมัยกรุงสุโขทัย (บ้านพระเกิด เป็นชื่อบ้านใน หมู่ที่ 4 ตำบลฝาสะมี อำเภอปากพะยูน ปัจจุบัน) ห่างจากที่ว่าการอำเภอปากพะยูน ประมาณ 14 กม. ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ที่

อ.สทิงพระ จ.สงขลา อำเภอปากพะยูน จึงเป็นเมืองเก่าแก่ในอดีต