แนะนำศูนย์

สภาพทั่วไปของสถานศึกษา

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรังก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2478 ตั้งอยู่เลขที่ 99 หมู่ 7 ตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดตรัง มีเนื้อที่ 2,384 ไร่ และได้มอบให้มูลนิธิชัยพัฒนาได้ใช้ประโยชน์ในการทดลองวิจัย/แหล่งเรียน ศึกษาพันธุ์ปาล์มที่เหมาะสมในภาคใต้ ด้านหน้าวิทยาลัยฯ ติดกับถนนเพชรเกษม ห่างจากจังหวัด 13 กิโลเมตร ทิศเหนือติดกับตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง ทิศใต้ติดกับชุมชน บ้านคลองเต็ง และติดกับชุมชนบ้านนานอน อยู่ในเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลนาท่ามเหนือ ชุมชนโดยรอบวิทยาลัยฯ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม วิทยาลัยฯ ได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนโดยได้มีส่วนร่วม และช่วยเหลือกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทำบุญทอดกฐิน ทำบุญเทียนพรรษา การจัดงานประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีชักพระ กิจกรรมโครงการพิเศษต่าง ๆ ในด้านการส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชน วิทยาลัยฯ ได้มีส่วนช่วยชุมชนโดยจัดบริการเผยแพร่ความรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพเกษตรกรรมระยะสั้น การฝึกอบรมโครงการ 108 อาชีพ ศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน Fix It Center การเผยแพร่ความรู้และวิทยาการเกษตรแก่ชุมชน ทางวิทยุกระจายเสียง นอกจากนี้ลักษณะที่ตั้งของวิทยาลัยฯ ยังอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เป็นสถานที่ที่ประชาชนสามารถแวะพักผ่อนและชมสวนป่าสมบูรณ์ซึ่งได้อนุรักษ์ไว้จนปัจจุบัน


วิสัยทัศน์

ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาให้มีคุณภาพ สนองตลาดแรงงานและสังคม

พันธกิจ

1. พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา ตามความต้องการของตลาดแรงงานและสังคม

2. ขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพอย่างทั่วถึงและเสมอภาค

3. สร้างภาคีเครือข่ายอาชีวศึกษาในการจัดการศึกษาอาชีพ

4. บริหารจัดการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

5. บริหารวิชาการและวิชาชีพแก่ชุมชนสร้างทางเลือกในการประกอบอาชีพ

6. พัฒนางานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้เพื่อการพัฒนางานอาชีพ

ยุทธศาสตร์

1. พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา

2. พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่มุ่งเน้นสมรรถนะอาชีพ

3. พัฒนาผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

4. ฝึกอบรมวิชาชีพตามความต้องการของชุมชน โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่น

5. พัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านวิชาชีพที่หลากหลาย

6. ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชน และท้องถิ่น ในการจัดการอาชีวศึกษาและบูรณาการภูมิปัญญา ท้องถิ่น

7. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานองค์กรตามหลักธรรมาภิบาล

8. พัฒนางานฟาร์มของสถานศึกษาเพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้วิชาชีพ

9. สนับสนุนการวิจัย นวัตกรรมและองค์ความรู้เพื่อการพัฒนางานอาชีพ

หน้าที่ของวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีตรัง

1. ดำเนินการจัดการศึกษาอาชีวเกษตรในระบบ ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ

2. ดำเนินการให้การศึกษาอบรมในด้านวิชาชีพนอกระบบแก่ผู้สนใจ

3. ให้การบริการและร่วมมือกับชุมชนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเป็นศูนย์กลางประสานงานและบริการด้านวิชาการและเทคโนโลยีทางการเกษตร

4. ทำการทดลอง สาธิต วิเคราะห์ วิจัย เพื่อค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาวิทยาลัยฯ และการเกษตร

5. ดำเนินการทางด้านงานฟาร์มให้สอดคล้องกับหลักสูตร และสภาพท้องถิ่นเพื่อเป็นแหล่งฝึกทักษะแก่นักศึกษาและเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกร

สำนักงานศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา

การดำเนินงานของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการ

ศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษาตั้งอยู่ที่ อาคารร้านค้าสวัสดิการวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ในการมุ่งพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ มีความรู้ ประสบการณ์ คุณธรรม พร้อมนำเทคโนโลยีและชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ ด้านพันธกิจ สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ เพิ่มศักยภาพนักเรียน นักศึกษา ในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับภาคเอกชนและชุมชน และสนับสนุนการประกอบธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนด้านเป้าหมายนั้น คือผู้เรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 25 คน และได้รับการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ มีธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ธุรกิจ มีผู้เรียนไม่น้อยกว่า 1 คนที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษาสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจ และมีการนำสิ่งประดิษฐ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงการธุรกิจ โครงงาน งานวิจัยฯ มาต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ธุรกิจ

จากวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมาย ดังกล่าว ส่งผลให้มีนักเรียน นักศึกษา ที่เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะจำนวนหลายโครงการและมีโครงการที่คาดว่าจะประสบความสำเร็จสามารถนำไปต่อยอดในเชิงธุรกิจได้ นอกจากศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา จะได้รับงบประมาณจัดสรรจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาแล้ว ยังมีกองทุนเงินอุดหนุนโครงการหารายได้ระหว่างเรียนซึ่งเป็นเงินกองทุนเดิมของศูนย์บ่มเพาะฯ ที่มีการดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารเงินอุดหนุนโครงการหารายได้ระหว่างเรียน เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มผู้เรียนที่ต้องการเป็นผู้ประกอบการและส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการได้อย่างทั่วถึงและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด


วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการอาชีวศึกษา


  • วิสัยทัศน์

มุ่งมั่นพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ มีความรู้ ประสบการณ์ คุณธรรม พร้อมนำเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคมอย่างมีคุณภาพ


  • พันธกิจ

1. สร้างความรู้ ความเข้าใจเรื่องธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ

2. เพิ่มศักยภาพนักเรียน นักศึกษา ในการเป็นผู้ประกอบการใหม่

3. มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในวิชาชีพ

4. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับภาคเอกชนและชุมชน

5. สนับสนุนการประกอบธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม


  • เป้าหมาย

1. ผู้เรียนเข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ ไม่น้อยกว่า 25 คน

2. ผู้เรียนที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพในการเป็นผู้ประกอบการ และดำเนินธุรกิจไม่น้อยกว่า 3 ธุรกิจ

3. ผู้เรียนไม่น้อยกว่า 1 คนที่ผ่านกระบวนการบ่มเพาะการเป็นผู้ประกอบการอาชีวศึกษา สำเร็จการศึกษาแล้วเป็นเจ้าของธุรกิจ

4. มีสิ่งประดิษฐ์ โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงการธุรกิจ โครงงาน งานวิจัยฯ มาต่อยอดเชิงพาณิชย์ หรือใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการ จำนวนไม่น้อยกว่า 1 ธุรกิจ