ว.PA

  • การนับวงรอบ ระบบ ว.PA

วันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ก.ค.ศ ประกาศใช้หลักเกณฑ์ใหม่

จากนั้นวันที่ 1 ตุลาคม 2564 คุณครูทุกคนต้องเริ่มทำเกณฑ์ PA โดยรอบการประเมิน

รอบที่ 1 จะอยู่ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

รอบการประเมินรอบที่ 2 จะอยู่ระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

รอบการประเมินรอบที่ 3 จะอยู่ระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

รอบการประเมินรอบที่ 4 จะอยู่ระหว่างวันที่ 30 กันยายน 2567 ถึง 30 กันยายน 2568

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หรือ ว9/2564 ออกมาแล้ว

ในบทความนี้ทีมงานเว็บไซต์สถานีครูจะมาสรุป วPA ให้เพื่อนครูสามารถเข้าใจได้แบบง่ายๆ กัน ไปอ่านกันเลยจ้า

องค์ประกอบในการพัฒนางาน ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตราฐานตำแหน่ง

1. การปฏิบัตงานตามมาตราฐานตำแหน่งครู และมีภาระงานตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด

2. ผลการปฏิบัติงาน แบ่งออกเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ

ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

การจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางาน

ให้ข้าราชการครูทำข้อตกลงในการพัฒนางานตามแบบที่ ก.ค.ศ. กำหนด ทุกปีงบประมาณเสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษาเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

คณะกรรมการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลง

ให้ผู้อำนวยการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินฯ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นประธานกรรมการ

2. ศึกษานิเทศก์ไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ อาจารย์มหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่าผู้ช่วยศาสตราจารย์ หรือครูจากโรงเรียนอื่นไม่ต่ำกว่า คศ.3 หรือ ผู้ทรงคุณวิติจากภายนอกโรงเรียนที่มีความเหมาะสม จำนวน 2 คน

การประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลง

1. ผู้อำนวยการสถานศึกษา เป็นผู้รับผิดชอบ DPA และนำข้อมูลการประเมินในแต่ละรอบของครูเข้าสู่ระบบเป็นประจำทุกรอบการประเมิน

2. มีผลการประเมินของคณะกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70

การนำผลการประเมินผลการพัฒนาตามข้อตกลงไปใช้

1. ใช้เลื่อนวิทยฐานะ

2. ใช้ประเมินพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน

3. ใช้ดำรงไว้ซึ่งความรู้ตามวิทยฐานะ

หลักเกณฑ์ฯและคุณสมบัติ

1. ดำรงตำแหน่ง ครู คศ.1 หรือ ครู คศ.2 มาแล้วไม่น้อยกว่า 4 ปี

2. มีการพัฒนางานตามข้อตกลง PA ในช่วงเวลา 3 รอบการประเมิน และมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

3. ไม่ถูกดำเนินการทางวินัยในช่วง 4 ปี

เกณฑ์การประเมินที่ต้องผ่านทั้ง 2 ด้าน

ด้านที่ 1 ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน จะพิจารณาจาก

1. แผนการจัดการเรียนรู้ที่ตรงตามวิดีทัศน์บันทึกการสอน

2. ไฟล์วิดีโอการสอน

3. ไฟล์วิดีโอ ที่แสดงถึงสถาพปัญหาและแรงบันดาลใจในการจัดการเรียนรู้

**คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65

***คศ. 3 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

ด้านที่ 2 ด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน จะพิจารณาจาก

ผลงานหรือผลการปฏิบัติงานของผู้เรียนที่ปรากฏภายหลังการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนตามวิดีโอสอนโดยส่งเป็นไฟล์ดิจิทัล ไฟล์ภาพ หรือ PDF

**คศ. 2 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 65

***คศ. 3 จะต้องได้คะแนนจากกรรมการแต่ละคนไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 70

การส่งผลงาน(นำเข้าระบบ DPA)

ผู้ที่มีความประสงค์จะขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะให้ยื่นคำขอต่อโรงเรียนได้ตลอดปี ภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้โรงเรียนได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบ DPA พร้อมหลักฐาน ดังต่อไปนี้

1. ผลการพัฒนางานตามข้อตกลงในระยะเวลาย้อนหลัง 3 หรือ 2 หรือ 1 รอบการประเมิน และแต่กรณี เป็นไฟล์ PDF

2. แผนการจัดการเรียนรู้ ตามที่ปรากฏในวิดีโอบันทึกการสอนในรูปแบบ PDF 1 ไฟล์

3. ไฟล์วิดีโอการสอนที่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้

4. ไฟล์วิดีโอที่แสดงถึงสภาพปัญหาและแรงบันดาลในในการจัดการเรียนรู้

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศเกณฑ์ออกมาแล้ว แต่เราก็ต้องรอ คู่มือในการปฏิบัติ จาก ก.ค.ศ อีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะมาในเร็วๆ นี้ ครับ

ที่มา : สำนักงาน ก.ค.ศ. อ่านเกณฑ์การประเมินฉบับเต็มที่ >>> หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู หรือ ว9/2564