1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน

           1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ 📚

กิจกรรมอบรมคุณธรรมจริยธรรม

 มัธยมศึกษาปีที่ 1 (วันที่ 26  มกราคม 2565)

พิธีประดับเข็มขัตติยราชารีนักเรียนระดับชั้น

 มัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2564 

(วันที่ 1  กุมภาพันธ์ 2565)

ครูที่ปรึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5

ปีการศึกษา 2564

กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนออนไลน์

 มัธยมศึกษาปีที่ 4/5

1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 

งานบุคคล

งานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม

ตารางสอน


             ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู (ยังไม่มีวิทยฐานะ) ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะ (ยังไม่มีวิทยฐานะ) คือ การปรับประยุกต์ การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทาง ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น

       ทั้งนี้ ผู้จัดทำข้อตกลงขอเสนอประเด็นท้าทายที่แสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่า ตำแหน่ง ครู (วิทยฐานะครูชำนาญการ)  

      ประเด็นท้าทาย เรื่อง การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับสังคมออนไลน์เรื่องการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา ส31101   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

        1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

           หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ได้กำหนดให้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สาระที่ 2คือ สาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองได้กําหนด รายละเอียดไว้ว่าเกี่ยวกับเรื่อง ระบบการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ลักษณะและความสําคัญ การเป็นพลเมืองดี ความแตกต่างและ ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ ปลูกฝังค่านิยมด้านประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ การดําเนินชีวิตอย่างสันติสุขในสังคมไทย และสังคมโลก ซึ่งเนื้อหาในสาระการเรียนรู้หน้าที่พลเมืองมีจํานวนมาก ทําให้ครูส่วนใหญ่ใช้ การบรรยายในการสอน ส่งผลให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนวิชาสังคมศึกษา ซึ่งบทบาทสําคัญในการพัฒนาเยาวชนให้มี ทักษะการคิดและแก้ปัญหาแล้วนําไปปฏิบัติได้จริง คือ โรงเรียน โดยมีครูทําหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ อบรมสั่งสอน และปลูกฝังทักษะต่างๆให้เกิดขึ้นกับนักเรียน แต่การสอนของครูในโรงเรียนส่วน ใหญ่จะสอนโดยใช้ตําราและเน้นท่องจํา สภาพการเรียนการสอนยึดครูเป็นศูนย์กลาง ถ่ายทอด ความรู้โดยการบรรยายเนื้อหา และมีบรรยากาศไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนเป็นผู้รับฟังและจดจํา ตามคําบอกของครู ไม่มีโอกาสที่จะร่วมแสดงความคิดเห็นหรือขัดแย้งใดๆทั้งสิ้น และนักเรียนไม่ชอบเรียนวิชาสังคมศึกษา เนื่องมาจาก เนื้อหาวิชาสังคมศึกษามีจํานวนมาก น่าเบื่อ ต้องเรียนในเรื่องที่ไม่น่าสนใจ คุณภาพของผู้เรียนที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี ไว้ว่าจะต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระวิชาหน้าที่พลเมือง มีทักษะกระบวนการ มีเจตคติที่ดีต่อวิชาหน้าที่พลเมือง มีความตระหนักในคุณค่าของวิชาหน้าที่พลเมือง และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต 

     2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1. สร้างและพัฒนาหลักสูตรรายวิชาโดยวิเคราะห์หลักสูตร มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดหรือผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) และหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี เพื่อนำไปจัดทำรายวิชา หน้าที่พลเมือง และจัดทำหน่วยการเรียนรู้ 

2. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามประเด็นท้าทาย 

3. ออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายหน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้รายคาบ ตลอดจนสร้าง/พัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ และสร้าง/พัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผล

4. จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องเชิงเนื้อหาและจุดประสงค์   การเรียนรู้ ในด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ที่เป็นนวัตกรรม และเครื่องมือการวัดและประเมินผล พร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มาพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้ 

5. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ 

6. วัดและประเมินผลการเรียนรู้หลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ออกแบบไว้ 

7. บันทึกผลการเรียนรู้ สรุปผลการวัดและประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน นำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในภาคเรียน/ปีการศึกษาต่อไป 

8. รายงานผลการดำเนินการตามข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย  ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เสนอต่อผู้อำนวยการสถานศึกษา 

  3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

3.1 เชิงปริมาณ

           นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 85 คน ที่เรียนในรายวิชาหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา ส31101 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา โดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ ส่งผลให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในระดับร้อยละ  55 ขึ้นไป  

 

        3.2 เชิงคุณภาพ

  3.2.1 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 2 ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 85 คน ที่เรียนในรายวิชาหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา ส31101 มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะประจำวิชาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และสมรรถนะที่สำคัญตามหลักสูตรสูงขึ้น  

                3.2.2 นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4  จำนวน 2 ห้อง ห้อง รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 85 คน ที่เรียนในรายวิชาหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา ส31101 ได้รับการแก้ไขปัญหา เรื่อง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา

              3.2.3 ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหา เรื่องผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาโดยใช้การเรียนรู้แบบผสมผสาน โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับสังคมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในรายวิชาหน้าที่พลเมือง รหัสวิชา ส31101 ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการแก้ไขปัญหาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียน ตลอดมีแรงบันดาลใจ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้



เอกสารหลักฐานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ( PA )


วPA-2564วิลาวัณย์.pdf