ข้อตกลงในการพัฒนางาน

(Performance Agreement : PA)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA) นางสาวนุชจรีย์ .pdf

ประเด็นท้าทาย เรื่องการพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน

1. สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้

ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผ่านมาพบปัญหาการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนของนักเรียน คือ นักเรียนอ่านคำศัพท์ภาษาจีนและแปลความหมายไม่ได้ ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาในการต่อยอดการเรียนวิชาภาษาจีนในระดับที่สูงขึ้นไปได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าท้าย โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การจดจำคำศัพท์ภาษาจีน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาจีน โดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

2.1 วิเคราะห์หลักสูตร และผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ พุทธศักราช 2564

2.2 ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากผู้เรียนเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

2.3 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โดยใช้เกมเป็นฐาน

2.4 ออกแบบหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน

2.5 สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชัน

2.6 ออกแบบแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินการทำกิจกรรมกลุ่มและแบบสังเกตพฤติกรรม

2.7 ให้ครูในกลุ่มสาระฯ 3 ท่าน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ของแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินการทำกิจกรรมกลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรม ครูผู้สอนปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำ

2.8 ทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบก่อนเรียนที่ปรับปรุงแล้ว

2.9 จัดกิจกรรมการเรียนรู้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ทั้งในรูปแบบ Online หรือ Onsite โดยปรับกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาทักษะการจดจำคำศัพท์ภาษาจีนโดยการใช้เกมผ่านแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้น

2.10 ทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบหลังเรียนที่ปรับปรุงแล้ว

2.11 บันทึกผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และสรุปเป็นสารสนเทศแจ้งให้ผู้เรียนทราบ ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทำการซ่อมเสริมให้จนกว่าผู้เรียนจะผ่านเกณฑ์ที่กำหนด

3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

3.1 เชิงปริมาณ

3.1.1 ผู้เรียนในวิชาภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์

ร้อยละ 65

3.1.2 ผู้เรียนร้อยละ 80 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากขึ้นไป

3.2 เชิงคุณภาพ

ผู้เรียนในวิชาภาษาจีน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีสมรรถนะที่สำคัญของผู้เรียนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน

มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงขึ้นตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด


คำสั่งโรงเรียนสุจริต 2565.pdf

คำสั่งโรงเรียนสุจริต

คำสั่งแต่งตั้งครูที่ปรึกษานักเรียน 2565.pdf

คำสั่งครูที่ปรึกษา