การประเมินผลงาน ว.9

ปีงบประมาณ 2566

ส่วนที่ 1  ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง

1.  ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด

ตารางสอน

   ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565

   ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566

ส่วนที่ 2  ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

    ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน

                ประเด็นที่ท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน ของผู้จัดทำข้อตกลง ซึ่งปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ ต้องแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังของวิทยฐานะชำนาญการพิเศษคือ ริเริ่ม พัฒนา การจัดการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทาง  ที่ดีขึ้นหรือมีการพัฒนามากขึ้น (ทั้งนี้ ประเด็นท้าทายอาจจะแสดงให้เห็นถึงระดับการปฏิบัติที่คาดหวังที่สูงกว่าได้)

                ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการเรียนการสอนบทเรียนออนไลน์ รายวิชาเทคโนโลยี 3 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

                1. สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน

จากกสภาพปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  ส่งผลให้การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ onsite ทำได้ยาก  การจัดการเรียนการสอนด้วยระบบ  Online จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างยิ่ง  ครูผู้สอนได้วิเคราะห์สภาพปัญหาจากการดำเนินการฝ่านกระบวนการ PLC  ผู้เรียนร้อยละ 70 % ขาดทักษะการใช้โปรแกรมและไม่เข้าใจเนื้อหาบทเรียนผ่านการเรียนรู้ระบบออนไลน์ได้  

             ครูผู้สอนจึง ริเริ่ม พัฒนา บทเรียนใช้ในแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความรู้และส่งเสริมทักษะให้นักเรียนมีความรู้ในการใช้งานโปรแกรมทางออนไลน์มากขึ้นและเพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรายวิชาเทคโนโลยี 3ให้สูงขึ้น

           2. วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1) ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  เพื่อออกแบบหน่วยตามตัวชี้วัดหรือจุดประสงค์การเรียนรู้

2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยใช้การเรียนบทเรียนออนไลน์  เพื่อริเริ่มพัฒนาทักษะและสมมรถนะสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

3) ใช้กระบวนการ PLC เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา ปรับปรุงสื่อและนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพ

4) ปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาบทเรียนออนไลน์

5) นำบทเรียนออนไลน์ ไปทดลองใช้และนำผลที่ได้มาปรับปรุง พัฒนา ให้มีความน่าสนใจ เข้าใจง่าย และนักเรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

6) นำผลสะท้อนในการใช้ บันทึกข้อมูลคะแนนในระบบ สารสนเทศผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินการเรียนรู้ นำข้อมูลที่ได้ปรับแก้ไขพัฒนาผลการเรียนรู้ให้ผู้เรียนบรรลุ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

                3. ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

     3.1 เชิงปริมาณ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี ร้อยละ 80 

ที่เรียนใน รายวิชา เทคโนโลยี 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

                3.2 เชิงคุณภาพ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี มีทักษะและสมมรถนะสำคัญ ตรงตามสมรรถนะของผู้เรียนในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551   

      

คลิปวีดีโอการนำเสนอผลงานของนักเรียน

รายวิชาเทคโนโลยีหุ่นยนต์  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

3ffa1e56-87c3-41c9-a360-0e3f0e2f374b.mp4
2d81f105-610a-4b1e-b424-8f75b103d28d.mp4
91c344ec-5d92-4383-9c4b-8a8fa2cbf576.mp4

เอกสารหลักฐานแบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ( PA )

PA1 แบบข้อตกลงในการพัฒนางาน ครูเหมือนจันทร์ เทอม 2 65.pdf

การกำหนดชั่วโมงปฏิบัติงาน สำหรับข้าราชการครู

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

ประจำปีงบประมาณ 2566

ค่าเป้าหมายของการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน

โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี

ประกาศกำหนดชั่วโมงปฏิบัติงานปีงบประมาณ2566.pdf
ประกาศค่าเป้าหมายโรงเรียนนวมินทราชินูทิ(1).pdf

การอบรมและนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาพัฒนางานตามข้อตกลงในการพัฒนางาน (PA)