📚 แนะนำหนังสือใหม่ 📚

ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน

‘ความดี’ หรือ ‘ความรัก’ เป็นทั้ง ‘สัจจะ’ และ ‘มายา’ ที่มนุษย์ต้องใคร่ครวญเรียนรู้ด้วยปัญญาไปตลอดกาล

ผู้เขียนTie Ning (เถี่ยหนิง)

ผู้แปลสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

“ หนังสือเล่มเล็กบางมาก ๆ จนรู้สึกเหมือนเรื่องสั้นอ่านรวดเดียวจบนี้เป็นนิยายร่วมสมัยของจีนที่มีฉากอยู่ในกรุงปักกิ่ง สมเด็จพระเทพฯ ทรงอธิบายไว้ในบทนำจากผู้แปลว่าเป็น “นวนิยายรักสะท้อนสังคม” ค่ะ แต่ไม่ใช่ว่าเป็นนวนิยายที่สนุกตื่นเต้นจนอ่านแล้ววางไม่ลงนะคะ เป็นแนวที่ต้องอ่านไปขบคิดไปด้วยมากกว่าค่ะ ”

โดย ดร.ณัชร

"ตลอดกาลน่ะนานแค่ไหน" พระราชนิพนธ์แปลนวนิยายจีน ใน "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" สะท้อนภาพสังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของสังคมจีนยุคปัจจุบัน ผ่านตัวละครที่มีชีวิตโลดแล่นอยู่ใน "หูท่ง" สายหนึ่ง อันเป็นชุมชนย่านตรอก ซอยดั้งเดิมของกรุงปักกิ่ง ซึ่งกำลังถูกค่านิยมของสังคมสมัยใหม่รุกไล่ เฉกเช่นเดียวกับคุณธรรมของสังคมยุคเก่าที่ถูกท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่


"ไป๋ต้าสิ่ง" ตัวละครหลักมีคุณธรรมเป็นเลิศ มีจิตงดงาม ซื่อสัตย์ ยอมเสียเปรียบทุกคน เธอจึงต้องทนทุกข์กับตัวตนที่เธอเป็นอยู่ ความทุกข์อันสาหัสของไป๋ต้าสิ่ง คือความผิดหวังจากความรักที่ฝ่ายชายผู้ไม่จริงใจทิ้งเธอไป คนแล้วคนเล่า แต่เธอก็ยังคง "ตกหลุมรัก" และ "รักอย่างหัวปักหัวปำ" โดยมิอาจจะช่วยตัวเองได้เลย เพราะไป๋ต่าสิ่งเห็นว่าความรักเป็นสิ่งสูงส่ง และความรักคือการให้และเสียสละอย่างไม่สิ้นสุด

อ่านต่อ



หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้า

พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ผู้เขียน Wang An Yi (หวังอันอี้)

ผู้แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้าของหวังอันอี้...สะท้อนภาพชีวิตในหมู่บ้านชนบทของจีนต้นทศวรรษ 1960 ในระบบคอมมูนประชาชน จนกระทั่งเข้าสู่สังคมนิยมที่ทันสมัยในทศวรรษ 1980 ผู้อ่านจะได้สัมผัสความรักอันบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่ของผู้เป็นแม่ ได้เข้าใจความบริสุทธิ์กล้าหาญของเด็กน้อย ผู้กลายเป็นวีรชนของหมู่บ้าน ได้รู้สึกสะเทือนใจกับความรักต้องห้ามของเด็กสาว และความคับแคบขมขื่นของผู้ที่ถูกสังคมลงโทษโดยไม่เป็นธรรม


หมู่บ้านเล็กตระกูลเป้าเป็น "คำเชิญชวน" ให้ผู้อ่านสำรวจตนเองผ่านตัวละคร ซึ่งเป็นตัวแทนของ "ความงดงาม" และ "ความอัปลักษณ์" อันดูจะดำรงอยู่อย่างกลมกลืนในธรรมชาติของมนุษย์ เป็นความท้าทายให้ผู้อ่านค้นหามิติอันซับซ้อนของตน เพื่อจรรโลงปัญญาให้กระจ่างใส จนสามารถ "รัก" และ "เข้าใจ" เพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้อย่างแท้จริง!

อ่านต่อ


นารีนครา

"นารีนครา" นวนิยายสะท้อนสังคมและความงดงามของ "ความเป็นหญิง" ซึ่งมิได้หมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกอันชวนให้หลงใหล หากแต่อยู่ในพลังและบทบาทหน้าที่อันยิ่งใหญ่

ผู้เขียน ฉือลี่

ผู้แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

"นารีนครา" พระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เล่มนี้ เป็นนวนิยายสมัยใหม่ของ "ฉือลี่" นักเขียนหญิงผู้มีชื่อเสียง สร้างวรรณกรรมร่วมสมัยของจีนหลายเรื่อง เนื้อหาในเล่ม เป็นเรื่องราวสะท้อนสังคม และในขณะเดียวกันก็แสดงให้เห็นความงดงามของ "ความเป็นหญิง" ซึ่งมิได้หมายถึงรูปลักษณ์ภายนอกอันชวนให้หลงใหล หากแต่อยู่ในพลังและบทบาทหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของความเป็นแม่ ความเป็นภรรยา และที่สำคัญที่สุดคือความเป็นเพื่อนแท้ ผ่านตัวละครสำคัญ 3 ตัว ซึ่งเป็นตัวแทนหญิงรุ่นเก่า รุ่นกลาง รุ่นใหม่ ที่ได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในมิติต่างๆ และได้ถ่ายทอดเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ในกระแสสังคมที่มีการะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อน


การเชิดชู "ความเป็นหญิง" ในนวนิยายนี้ ทวีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น เมื่อผู้เขียนใช้ฉากสำคัญคือ "นครอู๋ฮั่น" ซึ่งเป็นนครที่มีประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมยาวนาน การบรรยายฉากอย่างละเอียดให้เห็นชีวิต ความงาม และความยิ่งใหญ่ของนครอู๋ฮั่นนี้ จึงเป็นฉากที่เพิ่มความหมายลึกซึ้งให้กับชื่อเรื่อง "นารีนครา" จนอาจกล่าวได้ว่า "นารีนครา" เป็นนวนิยายที่สะท้อนวีรกรรมอันเกิดจากดวงใจแกร่งแท้ดั่งเหล็กกล้าของหญิง ซึ่งได้ดำเนินมาแล้วในอดีต ดำรงอยู่ในปัจจุบัน และจะสืบเนื่องต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ


ความรักใดจะไม่ปวดร้าว

นวนิยายรักสะท้อนปัญหาครอบครัว จากมุมมองของผู้เป็นทั้งแม่และภรรยา กับค่านิยมที่บูชาเทิดทูนความรัก!

ผู้เขียน ชวนหนี

ผู้แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี


"ความรักใดจะไม่ปวดร้าว" เล่มนี้ สะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมสมัยใหม่ของหนุ่มสาวชาวจีน อันส่งผลต่อนิยามของความรักในมิติต่างๆ โดยเฉพาะจากมุมมองของผู้หญิง ผู้เป็นทั้งแม่และภรรยา เริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกับค่านิยมเก่าที่บูชาเทิดทูนความรัก ทั้งความรักของพ่อแม่ ความรักของหนุ่มสาว ความรักของเพื่อน และจบลงอย่างชาญฉลาด ด้วยความตระหนักรู้ของตัวละครเอกว่า... "ไม่มีความรักใดจะไม่ปวดร้าว แต่ผู้จะเปลี่ยนความปวดร้าวนี้เป็นปีติสุขได้นั้นก็คือ ผู้มีความรักนั้นเอง"


อ่านต่อ

ศิลปะจีน

ปาฐกถาพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงบรรยายเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 เนื้อหาสาระเปี่ยมด้วยคุณค่า ครอบคลุมศิลปะจีนแขนงต่าง ๆ ครบถ้วน

ผู้เขียน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี


"ศิลปะจีน" เล่มนี้ เป็นปาฐกถาพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงบรรยายไว้เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2548 มีความยาวประมาณ 2 ชั่วโมงเศษ แม้เวลาที่ทรงบรรยายจะไม่นานนัก แต่เนื้อหาสาระนั้นเปี่ยมด้วยคุณค่า ครอบคลุมศิลปะจีนแขนงต่างๆ ครบถ้วน ทั้งด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์ อีกทั้งยังได้ทรงฉายภาพงานศิลปะประเภทต่างๆ ที่คัดสรรแล้วอีกประมาณ 130 ภาพประกอบการบรรยาย อันทำให้ผู้ฟังเข้าใจได้ซาบซึ้ง


ปาฐกถาที่ทรงแสดงในครั้งนั้น มิใช่คำบรรยายของผู้ที่ศึกษาเนื้อหาความรู้จากตำรับตำราทั่วไป หรือจากการได้เห็นได้ชมมามากอย่างหนึ่งอย่างใด หากแต่เป็นคำบรรยายของผู้ที่ทั้งได้ศึกษา ได้เห็น และมีประสบการณ์ความเข้าใจศิลปะจีนอย่างแจ่มชัดพร้อมข้อมูล


แก้วจอมซน

วรรณกรรมเยาวชนพระราชนิพนธ์ที่ได้รับการยกย่องเผยแพร่อย่างกว้างขวางมาแล้ว แม้เวลาจะผ่านพ้นไปหลายทศวรรษ คุณค่าอันงดงามทางปัญญาและอารมณ์ยังคงเด่นชัด ควรแก่การรับรู้เข้าใจของเยาวชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

ผู้เขียน แว่นแก้ว (WaenKaew)

"แก้วจอมซน" เป็นวรรณกรรมเยาวชนที่ได้พระราชนิพนธ์เป็นภาคต่อจาก "แก้วจอมแก่น" เป็นเรื่องราวที่ทรงพระราชนิพนธ์ถ่ายทอดจากประสบการณ์ของ "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี" ในขณะที่ยังทรงพระเยาว์บ้าง จากการจินตนาการของพระองค์เองบ้างประกอบกัน เป็นเรื่องราวของ "แก้ว" เด็กหญิงน่ารักวัยประมาณ 9 ขวบ อยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีคุณพ่อ คุณแม่ที่รักใคร่เอาใจใส่ลูกๆ เป็นอย่างดี พี่สาวที่เรียนเก่ง คือ "พี่ไก่" ในวัยประมาณ 13 ปี ที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็นครู และน้องสาวหนึ่งคนคือ "น้องเล็ก" ในวัยประมาณ 6 ปี ที่ชอบร้องเพลงเป็นงานอดิเรก


ทั้งตัวละครเอกคือแก้วและเหล่าผองเพื่อน ยังคงอรรถรสของเรื่องราวที่สนุกสนานและแฝงไปด้วยสาระยังคงอยู่ครบถ้วนเหมือนเดิม หากแต่ว่าคราวนี้แก้วโตขึ้น เรื่องราวเกร็ดความรู้และข้อคิดต่างๆ ก็เริ่มโตขึ้นไปด้วย แก้วจอมซนเป็นหนังสือที่อ่านได้ทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ที่สอดแทรกเรื่องราวความสนุกสนานอยู่ในเรื่องราวต่างๆ ทําให้ผู้อ่านได้ความเพลิดเพลินผสมผสานความรู้สอดแทรกในเนื้อหา แม้เวลาจะผ่านพ้นไปหลายทศวรรษ คุณค่าอันงดงามทางปัญญาและอารมณ์ภายในหนังสือเล่มนี้ยังคงเด่นชัด ควรแก่การรับรู้เข้าใจของเยาวชนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

อ่านต่อ


นิทานโกหกเยอรมัน

รวมนิทานโกหกยอดนิยมของชาวเยอรมันไว้ถึง 22 เรื่อง จัดเป็นชุดเรื่องเล่าสำคัญในกลุ่มเรื่องเล่าพื้นบ้านประเภทตลกของเยอรมันในอดีต ซึ่งได้รับการรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือหลายภาษา ได้รับความนิยมอย่างมาก

ผู้เขียน Baron Von Munchhausen (บารอน ฟอน มึนช์เฮาเซ่น)

ผู้แปล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

"นิทานโกหกเยอรมัน" เล่มนี้ เป็นพระราชนิพนธ์แปลในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หนังสือที่รวบรวมนิทานโกหกยอดนิยมของชาวเยอรมันไว้ถึง 22 เรื่อง จัดเป็นชุดเรื่องเล่าสำคัญในกลุ่มเรื่องเล่าพื้นบ้านประเภทตลกของเยอรมันในอดีต ซึ่งได้รับการรวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือหลายภาษาและได้รับความนิยมอย่างมาก ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุกสนานเปี่ยมจินตนาการ อีกทั้งยังสะท้อนวิถีชีวิตของชาวเยอรมันในแง่ต่างๆ นำเสนอพร้อมภาพประกอบสวยงาม ชวนติดตามตลอดเล่ม

อ่านต่อ


ใครดีที่สุด

ผู้เขียน: สุมาลี บำรุงสุข

ภาพประกอบ miintare

พิมพ์ครั้งที่ 1 ตุลาคม2561

จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด

"นั่นสิ ใครดีที่สุดกันแน่?"

เรื่องราวของสวนสัตว์ที่มีลูกสัตว์น้อยใหญ่นานาชนิดรวมตัวกันเพื่อตัดสินว่าใครคือสัตว์ที่ดีที่สุดในโลก โดยจะมีบรรดาลูกสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ เข้าร่วมการปราศรัยหาเสียงเพื่อเรียกคะแนนให้กับพรรคพวกตัวเอง แต่สัตว์ที่เข้าร่วมกิจกรรมก็มากมายเหลือเกิน แต่ละตัวก็มีข้อดีข้อเสียกันไป แล้วใครคือสัตว์ที่ดีที่สุดในสวนสัตว์แห่งนี้

เป็นหนังสือเล่มบางๆ เนื้อเรื่องสนุกสนานสมวัยเด็กๆ เป็นเรื่องราวที่จำลองสถานการณ์ "การเลือกตั้ง" โดยมีบรรดาลูกสัตว์ทั้งหลายเป็นตัวแทนในการหาเสียง นอกจากจะเข้าใจรูปแบบของประชาธิปไตยขนาดย่อมแล้ว ยังได้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติ ข้อดีข้อเสีย และตำนวนเล่าขาน หรือแม้กระทั่งที่มาของสำนวนไทยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ให้เราได้รู้เพิ่มเติมด้วย เหมือนอ่านนิทานซ้อนนิทานอีกที อ่านแล้วไม่น่าเบื่อสักนิด

อ่านต่อ




สักวา ฉันเป็นใคร ใครรู้บ้าง

ผู้เขียน: ธงทอง จันทรางศุ

ภาพปกและภาพประกอบ ณัฐวุฒิ มิทยานนท์

พิมพ์ครั้งที่ 1 กันยายน 2561

จัดพิมพ์และจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด

60 ปริศนาคำกลอน ตัวละครในวรรณคดีไทย สักวาฉันเป็นใครใครรู้บ้าง เป็นหนังสือรวมกลอนสักวาของอาจารย์ธงทอง จันทรางศุ ที่ท่านนึกสนุกเขียนขึ้นเพื่อเล่นกับเพื่อนฝูง สักวาแต่ละบทถามปริศนาเกี่ยวกับตัวละครในนิทานพื้นบ้านและวรรณคดีไทย 60 ตัวเด็กๆ (และผู้ใหญ่) สามารถลองทายว่าเป็นตัวไหนแต่ถ้านึกไม่ออกหรือไม่รู้จักก็ไม่เป็นไร เพราะในเล่มมีเฉลยและคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับตัวละครและเรื่องราวในวรรณคดีหรือนิทานเรื่องนั้นไว้แล้ว

อ่านต่อ