HUAHIN SCHOOL

                 โรงเรียนหัวหินได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านความปลอดภัยในพื้นที่ทั้งบุคคลและหน่วยงานการมีส่วนร่วมของเครือข่ายทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และส่งเสริมความปลอดภัยของโรงเรียน ดังนี้

 

 5 เครือข่ายเข้มแข็ง Hua Hin Safety Center

 การสร้างเครือข่าย 5 เครือข่ายเข้มแข็ง Hua Hin Safety Center อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

         1. โรงเรียนดำเนินงานอาศัยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เครือข่ายผู้ปกครอง คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ชมรมศิษย์เก่าโรงเรียน นักเรียนผู้ปกครองและชุมชน ได้จัดตั้งเครือข่ายเข้มแข็ง Hua Hin Safety Center 5 เครือข่าย มีการกำหนดกลยุทธ์และดำเนินการประสานงานและสร้างภาคีเครือข่ายอย่างมีประสิทธิภาพ มีการประชุมเครือข่ายผู้ปกครองอย่างน้อย ภาคเรียนละ 1 ครั้ง มีการสร้างช่องทางในการติดต่อประสานงาน ประชาสัมพันธ์ข่าวสารของโรงเรียน หรือแจ้งข้อมูลของนักเรียนที่รวดเร็วโดยใช้เทคโนโลยีการสร้างกลุ่มไลน์ผู้ปกครอง เลือกตั้งคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครอง ประธานผู้ปกครองเครือข่าย รองประธาน และเลขานุการร่วมประชุมกับครูที่ปรึกษาในระดับ แต่ละระดับชั้นเพื่อให้ข้อมูล จุดเด่น จุดด้อยของการพัฒนา คุณภาพผู้เรียน สะท้อนข้อมูลและเสนอวางแผนการส่งเสริม สนับสนุน ป้องกัน ช่วยเหลือและคุ้มครองนักเรียน จัดทำฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย ผู้ปกครองอย่างเป็นระบบ ทำให้โรงเรียนมีแนวทางในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน สามารถกำหนดกลยุทธ์ใน การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

       2. มีสารสนเทศเครือข่ายผู้ปกครอง ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่ เกี่ยวข้องในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การประชุม ผู้ปกครองเครือข่าย รายงานการประชุมกรรมการสถานศึกษา

     3. มีวิธีการทำงานร่วมกับเครือข่ายที่สนับสนุนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนมีแนวคิดการสร้างและบริหารจัดการการภาคีเครือข่ายสถานศึกษาที่สนับสนุน ดังนี้

                 .  เตรียมการและแสวงหาผู้ร่วมพัฒนา

                 .  สร้างข้อตกลงและร่วมวางแผน

           . ขั้นร่วมดำเนินงานและกำกับติดตามการนำแผนงาน โครงการที่เตรียมการไว้มาปฏิบัติเพื่อสร้างความร่วมมือของเครือข่ายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

                . ขั้นทบทวนผลการดำเนินงาน มีการกำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงานให้มี ประสิทธิภาพ อันเป็นการสร้างระบบการดำเนินงานภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งร่วมกัน ดังนี้ มีเป้าหมาย ร่วมกันชัดเจน มีระบบบริหารจัดการที่ดีมีกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนื่อง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน มีการไหลเวียนข้อมูลข่าวสารอย่างต่อเนื่อง มีนวัตกรรมที่เกิดจากการทำงานเครือข่าย มีการสรุปบทเรียน ร่วมกัน (เพื่อจัดทำแผนปีต่อไป) ด้านการดำเนินงานจัดการศึกษาร่วมกับโรงเรียน คณะกรรมการ สถานศึกษาได้เข้ามามีส่วนร่วมจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีและแผนพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในระยะยาว ของสถานศึกษา ร่วมกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ของโรงเรียน คณะกรรมการ สถานศึกษาส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสภาพแวดล้อมในโรงเรียน สร้างความสัมพันธ์กับเครือข่าย ชุมชนในท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิผล ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม

          4. ภาคีเครือข่ายให้การสนับสนุนการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและชุมชน จึงมีความสำคัญที่ทำให้ชุมชนได้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของโรงเรียน เป็นการสร้างความพึงพอใจ ความน่าเชื่อถือ ความมั่นใจและความนิยมให้เกิดขึ้นในชุมชน ทำให้ชุมชนและองค์กรภาคีเครือข่ายมีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาการจัดการศึกษาแก่บุตรหลานมากขึ้น   มีการเสียสละทรัพย์สิน เวลา แรงงาน สิ่งของและเทคโนโลยี มาสนับสนุนการจัดการศึกษาในโรงเรียน ตลอดจนประสานความร่วมมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นสาขาความรู้ ด้านต่างๆ เพื่อเข้าร่วมจัดกิจกรรม การเรียนรู้และระดมทรัพยากรทางการศึกษาจากภายนอกท้องถิ่นเข้ามาจัดการศึกษาของโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการดำเนินงานจัดการศึกษาตามนโยบายแล้ว ยังได้ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษาและการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างต่อเนื่อง เช่น การสนับสนุน งบประมาณการจัดอบบรมความรู้นักเรียนตามโครงการต่าง การระดมทุนมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนจากชมรมศิษย์เก่า การสนับสนุนอุปกรณ์การกีฬาจากองค์กร ภายนอก การสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน เป็นต้น