โครงการ

ชื่อโครงการ         เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา

โรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

หน่วยงานที่รับผิดชอบ    กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา

ลักษณะโครงการ          โครงการใหม่

ผู้รับผิดชอบโครงการ      นางวัชราภรณ์  โสตาภา นางยุพิน  ศรีหาวงษ์  

ระยะเวลาดำเนินการ      มิถุนายน ๒๕๖๑ – กันยายน ๒๕๖๑

 

๑. หลักการและเหตุผล

          ในปี ๒๕๕๘ เป็นก้าวแรกของประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน Asean  Economic Community (AEC) โดยมีเป้าหมาย คือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกันภายใต้การเคลื่อนย้ายสินค้าและปัจจัยการผลิตเสรี เพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อุปสรรคที่สำคัญที่ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเร่งแก้ไขร่วมกัน คือการลดความเหลื่อมล้ำของระดับการพัฒนา การยกระดับความพร้อมด้านการค้าและการลงทุน ทั้งการปฏิรูปกฎระเบียบ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณูปโภค การพัฒนามาตรการการส่งเสริมการลงทุนและการอำนวยความสะดวกทางการค้า การพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ การสร้างและพัฒนาเครือข่ายการผลิตในภูมิภาคที่เข้มแข็ง

          สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จึงได้ริเริ่มแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ รวมถึงได้มีการกำหนดนโยบายและหลักเกณฑ์เพื่อผลักดันการพัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ ในรูปแบบของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีอีกทั้งผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ(กนพ.) ครั้งที่ ๑/๒๕๕๗ ภายใต้การดำเนินงานของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ยังให้ความเห็นชอบพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสมในการจัดตั้งเป็นเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระยะแรกของไทยใน ๕ พื้นที่ รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ได้แก่ จังหวัดตาก จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดสระแก้ว จังหวัดสงขลาและจังหวัดตราด ต่อมาได้มีประกาศคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจพิเศษ ที่ ๒/๒๕๕๘ เรื่อง กำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ระยะที่ ๒ อีก ๕ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดหนองคาย จังหวัดนราธิวาส จังหวัดเชียงราย จังหวัดนครพนมและจังหวัดกาญจนบุรี 

          ในการนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษประกาศกำหนดพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ฉบับที่ ๑/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ และฉบับที่ ๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๘ ดังนี้ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสงขลา  เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราด เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเชียงราย เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษกาญจนบุรี นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในคราวประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๘ ยังได้มีมติเห็นชอบให้มีการเตรียมการด้านการศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ 

          จากความสำคัญดังกล่าวทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้ผู้เรียนเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเอง มีความรู้และทักษะ สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีคุณภาพ สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ ที่เป็นเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษตามประกาศของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจ (กนพ.) ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา โดยสถาบันสังคมศึกษาได้ขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีคุณภาพ และจัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระดับภูมิภาค

๒. วัตถุประสงค์

            เพื่อให้โรงเรียนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษระดับภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน ๖ สพท. ๑๔ โรงเรียน มีเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงาน ให้มีความรู้ความสามารถพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และมีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

๓. เป้าหมาย

          จำนวน ๖ สพท.   ๑๔ โรงเรียน 

สพป.นครพนมเขต ๑ โรงเรียนสุนทรวิจิตร (บำรุงวิทยา)                             สพป.นครพนมเขต ๒ โรงเรียนชุมชนบ้านคำพอกท่าดอกแก้ว                   สพม.เขต ๒๒ (นครพนม)  โรงเรียนนครพนมวิทยาคม  /  อุเทนพัฒนา         สพม.เขต ๒๒ (มุกดาหาร) โรงเรียนดอนตาลวิทยา / มุกดาวิทยานุกูล   สพป.มุกดาหาร โรงเรียนเมืองใหม่ / บ้านหว้านใหญ่ / ชุมชนดอนตาล สพป.หนองคายเขต ๑  โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ / บ้านเหมือดแอ่               สพม.เขต ๒๑ (หนองคาย) โรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร / น้ำสวยวิทยา 

๔. ระยะเวลาและสถานที่

มิถุนายน ๒๕๖๑ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๑ ณ โรงแรม Ihotel จังหวัดนครพนม

๕. ขั้นตอนและวิธีการ

๑. จัดทำโครงการเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ

๒. เชิญประชุมคณะกรรมดำเนินงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค (อีสานตอนบน)

๓. ประชุมคณะทำงาน จัดเตรียมสถานที่การทำงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค (อีสานตอนบน)

๔. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค (อีสานตอนบน)

๕. สรุปผลการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษาโรงเรียนประชาคมอาเซียนศึกษาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภูมิภาค (อีสานตอนบน)