ชื่อหลักสูตร การจัดการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ (Computing Science) ระดับประถมศึกษา

รหัสหลักสูตร NYK005

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด และวิธีการจัดการเรียนรู้

วิทยาการคำนวณ ในระดับประถมศึกษา

2. เพื่อให้ครูผู้สอนวิทยาการคำนวณมีความพร้อม สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาการคำนวณได้

กรอบเนื้อหา/สาระ

  1. โครงสร้างของวิทยาการคำนวณ กำหนดขอบเขตการเรียนรู้ 3 องค์ประกอบ ได้แก่

1.1 วิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science : CS) เป็นวิธีการคิดและแก้ปัญหาเชิงวิเคราะห์สามารถใช้จินตนาการมองปัญหาด้วยความคิดเชิงนามธรรม ซึ่งจะทำให้เราสามารถเห็นแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและมีลำดับวิธีคิดได้ โดยวิธีคิดแบบวิทยาการคำนวณนี้ ไม่ใช่เพียงแค่การเขียนโปรแกรม เพราะภาษาโปรแกรมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่จุดประสงค์ที่สำคัญกว่าคือการสอนให้เด็กคิดและเชื่อมโยงปัญหาต่าง ๆ เป็น จนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างเป็นระบบนั่นเอง

1.2 เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information and Communication Technology : ICT) เป็นการสอนให้รู้จักเทคนิควิธีการต่างๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในยุคไทยแลนด์ 4.0 จะเน้นในด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเกษตร อุตสาหกรรม หรือคมนาคม ให้ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูล จัดการข้อมูล นำข้อมูลมาประมวลผล และทำการตัดสินใจจากพื้นฐานของข้อมูลได้ โดยได้เรียนรู้อย่างรอบด้าน และนำมาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม

1.3 การรู้เท่าทันสื่อดิจิตัล (Digital Literacy : DL) เป็นทักษะเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล แยกแยะได้ว่าข้อมูลใดเป็นความจริงหรือความคิดเห็น โดยเฉพาะข้อมูลบนสื่อสังคมออนไลน์ นอกจากนี้ยังเป็นเรื่องของความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ รู้กฎหมายและลิขสิทธิ์ทางปัญญาต่าง ๆ เพื่อให้เด็กใช้ช่องทางนี้ได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัยมากที่สุด

2. เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณ มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนมีความสามารถใช้ทักษะการคิดเชิงคำนวณในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ มีทักษะในการค้นหาข้อมูลหรือสารสนเทศ ประเมิน จัดการ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำสารสนเทศไปใช้ในการแก้ปัญหา สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ สื่อดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง การทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือสังคม และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอย่างปลอดภัย รู้เท่าทันมีความรับผิดชอบมีจริยธรรม

3. แนวการบริหารจัดการหลักสูตรวิทยาการคำนวณ

4. ตัวอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาการคำนวณ ระดับประถมศึกษา

การประเมินผล : กำหนดเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

  • ได้คะแนน ต่ำกว่าร้อยละ 50 หมายถึง ปรับปรุง

  • ได้คะแนน ร้อยละ 50 - 69 หมายถึง พอใช้

  • ได้คะแนน ร้อยละ 70 - 79 หมายถึง ดี

  • ได้คะแนน ร้อยละ 80 ขึ้นไป หมายถึง ดีมาก

รูปแบบการประเมิน

  • ประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบออนไลน์ จำนวน 30 ข้อ

  • ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป เท่านั้น จึงจะได้รับเกียรติบัตร

  • ระบบจะจัดส่งผลการประเมินและเกียรติบัตรไปยังอีเมล์ (ที่ถูกต้อง) ตามที่ได้ลงทะเบียนไว้

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร นางสุชญา บำรุงกิจ ศึกษานิเทศก์ สพป.นครนายก