การเพิ่มศักยภาพการทำอาชีพของชุมชนด้วยการค้าแบบออนไลน์ ครั้งที่ 2

ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565

การอบรมในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มศักยภาพการทำอาชีพของชุมชนด้วยการค้าแบบออนไลน์ ให้กับชุมชน หมู่ 4 บ้านสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 25 คน ในวันที่ 18 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้บ้านสามแพรก หมู่ 4 บ้านสามแพรก ตำบลในคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

โดยในการอบรมวันนี้ นายขจิตเวช แก้วน้อย นายอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และนางอาภรณ์ วิมลรัตนชัยศิริ พัฒนาการอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ในฐานะกรรมการและเลขานุการในคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอพระสมุทรเจดีย์ (ศจพ.อ.) ได้มอบหมายให้ นายวรพงษ์ เหล็กเพ็ชร นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ นายวิสูตร มหานาค ประธานศูนย์ผู้นำจิตอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ และตำบลในคลองบางปลากด นายสนอง แก้วจันทร์ และนางซ้อน บุญทิน ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ เป็นตัวแทนในการเข้าร่วมขับเคลื่อนฝึกอาชีพประชาชนพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง Link ข่าวจากสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ https://district.cdd.go.th/prasamutchedi/

นายวรพงษ์ เหล็กเพ็ชร นักวิชาการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระสมุทรเจดีย์

ประชาชนในชุมชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ

อ.เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร รองคณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และประธานหลักสูตรฯ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ อธิบายวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการในครั้งนี้

อาจารย์เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร วิทยากรฝึกปฏิบัติเรื่อง การทำแอปพลิเคชันตกแต่งภาพผลิตภัณฑ์

ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของชุมชน

วัสดุฉากเสริมเทคนิคให้มีการถ่ายภาพได้สวย

ตัวอย่างการฝึกปฏิบัติการถ่ายภาพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัณณธร สมสรวย วิทยากรฝึกปฏิบัติการ เรื่อง เทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขายออนไลน์

การนำเสนอผลงานการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ของตนเองของผู้เข้าร่วมอบรม

หัวข้อการอบรมคือ "เทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขายออนไลน์" และ "การทำแอปพลิเคชันตกแต่งภาพผลิตภัณฑ์"

โดยวิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปัณณธร สมสรวย และ อาจารย์เสาวนีย์ ปรัชญาเกรียงไกร

การลงพื้นที่อบรมครั้งนี้ ทางคณะผู้จัดโครงการมีเป้าหมายเพื่อการลงพื้นที่ให้บริการวิชาการกับท้องถิ่นและการศึกษาสภาพแวดล้อมของท้องถิ่นแบบมุ่งเป้า ดังนี้

  1. แนะนำประชาชนเกี่ยวกับเทคนิคพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการขายออนไลน์ และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดได้

  2. แนะนำวิธีการใช้แอปพลิคเชันเพื่อการตกแต่งภาพผลิตภัณฑ์สำหรับการใช้งานการขายสินค้าบนร้านค้าออนไลน์

สิ่งที่ค้นพบในชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนมีผลิตภัณฑ์มากกว่าที่ได้พบในการอบรมครั้งก่อน เช่น แครกเกอร์ไส้สับปะรด ที่ติดผล ดอกไม้ประดิษฐ์จากผ้าใยบัว ผลไม้อบแห้ง ขนมจาก และอื่นๆ

  2. ยังไม่มีการสร้างตราสัญลักษณ์ของสินค้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน

  3. บางผลิตภัณฑ์ยังไม่มีตราสินค้า

ผลการลงพื้นที่ในครั้งนี้ ชุมชนมีความต้องการ

  1. ต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับการสร้างตราสินค้าที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของชุมชน สำหรับการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ และเผยแพร่ในร้านค้าออนไลน์

  2. ชุมชนต้องการการสอนทำภาพผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือที่ลงลึกมากกว่านี้

  3. ชุมชนต้องการเรียนรู้วิธีการทำภาพวิดีโอเพื่อการประชาสัมพันธ์สินค้าของตนเอง ผ่านร้านค้าออนไลน์

  4. ต้องการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ยอมรับ และมีมูลค่าทางการค้าสูงขึ้น (ความต้องการจากการลงพื้นที่ครั้งก่อน)

  5. ต้องการองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำบรรจุภัณฑ์ให้กับผลิตภัณฑ์ของสมาชิกในกลุ่ม (ความต้องการจากการลงพื้นที่ครั้งก่อน)

  6. ต้องการทำการค้าผ่านตลาดกลางดิจิทัล และร้านค้าออนไลน์ ให้ประสบความสำเร็จ