ปีงบประมาณ 2566

ประเด็นที่ท้าทาย

เรื่อง การพัฒนาทักษะวาดภาพคาเเรคเตอร์โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้  CIPPA MODEL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 สายจินตทัศน์ รายวิชาดิจิทัลอาร์ต โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง

สภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้และคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน 

         ข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้สอนในรายวิชา ดิจิทัลอาร์ต (ศ32210) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 สายจินตทัศน์พบว่านักเรียนมีความสนใจและชื่นชอบในการวาดเเฟนอาร์ตตัวการ์ตูน เนื่องจากมีประสบการณ์จากการดู animation การอ่านการ์ตูน อ่านมังงะ และการเล่นเกมแล้วเกิดความชื่นชอบตัวละครในเกมจึงนำมาซึ่งความสนใจแต่นักเรียนยังขาดทักษะการออกแบบให้ผลงานมีความสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์เฉพาะตน จึงมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองเพื่อให้มีทักษะและความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบคาแรคเตอร์ที่มีเอกลักษณ์  ซึ่งประเด็นที่นักเรียนสนใจมีความสอดคล้องกับตัวชี้วัดที่หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551  (ฉบับปรับปรุงพ.ศ. 2560) กำหนดอีกทั้งการออกแบบตัวการ์ตูนมีความร่วมสมัยและเกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพในปัจจุบันได้ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กำหนดระบบนิเวศของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ไทย สาขาคาแรคเตอร์ ให้เป็นสาขาที่ต้องส่งเสริมและพัฒนาเพื่อต่อยอดเศรษฐกิจ  ตัวอย่างเช่น มิกกี้เม้าส์ ของบริษัท วอลท์ดิสนีย์ มีผลกำไรจากการให้เช่าลิขสิทธิ์ตัวการ์ตูนมูลค่ามหาศาล ข้าพเจ้าจึงเล็งเห็นว่าประเด็นความสนใจดังกล่าวมีความสำคัญ และสามารถปรับประยุกต์การจัดการเรียนรู้ในหน่วยการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นโดยใช้ทฤษฎีการจัดการเรียรู้ CIPPA MODEL เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเองและมีครูเป็นผู้แนะนำ 

วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล

1.ศึกษาเเละวิเคราะห์หลักสูตรฯ

2.จัดทำโครงสร้างรายวิชาและ

เเผนการจัดการเรียนการสอน

3.จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามขั้นตอนทฤษฎี  CIPPA MODEL ดังนี้

3.1 ทบทวนความรู้ สอบถามความรู้เดิมของนักเรียนเเละประสบการณ์ในการในการออกแบบเเละสร้างสรรค์คาเเรคเตอร์ต่าง ๆ 

3.2 ให้นักเรียนแสวงหาความรู้ใหม่ ศึกษาเทคนิคการวาดคาเเรคเตอร์ที่มีความเเปลกใหม่จาก TIKTOK IG PINTEREST FASTWORKและเว็บไซต์อื่น ๆ ที่นักเรียนสะดวก โดยใช้คำค้นหาดังนี้ Character Design,Character เพื่อให้นักเรียนเห็นเเนวทางในการสร้างสรรค์ผลงานที่หลากหลาย

3.3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูลเชื่อมโยงความรู้ใหม่และกับความรู้เดิม นักเรียนได้นำความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้ามาทำความเข้าใจแล้วใช้กระบวนการคิดในการประมวลข้อมูลที่รับเข้ามาใหม่กับข้อมูลเดิมทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ หรือสิ่งใหม่ 

3.4 ขั้นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม เมื่อนักเรียนได้เรียนรู้แล้ว นำองค์ความรู้นั้นมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสะท้อนความคิดของตน 


3.5 สรุปและการจัดระเบียบความรู้ นักเรียนและครูร่วมกันสรุปความรู้ โดยสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้เพื่อให้นักเรียนจดจำสิ่งที่เรียนรู้ได้ง่าย 

3.6 ขั้นการแสดงผลงาน นำความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้เเละการอภิปรายในกลุ่มมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่มีเอกลักษ์เฉพาะตน

3.7 การประยุกต์ใช้ความรู้ นักเรียนนำทักษะเเละความรู้ที่จากการออกแบบคาเเรคเตอร์มาใช้ในชีวิตประจำวันดังนี้

ผลงานที่นักเรียนร่วมกันออกแบบก่อนที่จะนำมาพัฒนาให้ได้ผลงานจริง

4.วัดประเมินผลการเรียนรู้ 

5.ประชุมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 

6.ปรับปรุงกิจกรรมตามคำเเนะนำ 

ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง 

เชิงปริมาณ

                        นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 สายจินตทัศน์ ร้อยละ 67 มีทักษะในการออกแบบและสร้างสรรค์    

                        คาแรคเตอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

     

เชิงคุณภาพ

                        นักเรียนนำทักษะและความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในการเรียนวิชาอื่น ๆ  หรือใช้ในชีวิตประจำวันได้                                 อย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการเรียนรู้ตามที่สูตรสถานศึกษากำหนด


ผลลัพธ์เชิงปริมาณ

                       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/5 สายจินตทัศน์ ร้อยละ 92.30 มีทักษะในการออกแบบและ    

                       สร้างสรรค์คาแรคเตอร์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

     

ผลลัพธ์เชิงคุณภาพ

                      นักเรียนนำทักษะและความรู้มาปรับประยุกต์ใช้ในการออกแบบฉาก อุปกรณ์ประกอบฉากในงานกีฬา                        สีโรงเรียนได้และนำคาเเรคเตอร์ที่ออกแบบมาสร้างสรรค์เป็นสติกเกอร์ไลน์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ตาม                       ที่คาดหวัง


ปีงบประมาณ 2565

การพัฒนาทักษะการวาดหุ่นนิ่งผลไม้สีอะคริลิคโดยใช้ชุดแบบฝึก google site เรื่องหุ่นนิ่ง ร่วมกับทฤษฎีการสอนแบบ constructionism ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 (สายจินตทัศน์) โรงเรียนมัธยมวัดธาตุทอง

IMG_4192.MOV
งานศิลปะที่ไม่มีชื่อ.mp4

ผลงานนักเรียน

งานระยะที่ 1

งานระยะที่ 2

งานระยะที่ 3