งานส่งเสริมการรู้หนังสือไทย

ส่งเสริมการรู้ภาษาไทย เพิ่มอัตราการรู้หนังสือ และยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน

๑) ส่งเสริมการรู้ภาษาไทย ให้กับประชาชนในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะประชาชนในโซนตะวันออก ให้สามารถฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาไทย เพื่อประโยชน์ในการใช้ชีวิตประจำวันได้

๒) เร่งจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มอัตราการรู้หนังสือ และคงสภาพการรู้หนังสือ ให้ประชาชนสามารถอ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น โดยมีการวัดระดับการรู้หนังสือ การใช้สื่อ กระบวนการ และกิจกรรมพัฒนาทักษะในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย

๓) ยกระดับการรู้หนังสือของประชาชน โดยจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะการรู้หนังสือในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งพัฒนาให้ประชาชนมีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน

ส่งเสริมการรู้หนังสือ โดยจัดทำแผนการแก้ปัญหาผู้ไม่รู้หนังสือสำหรับกลุ่มเป้าหมายในตำบลอย่างชัดเจน จัดกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือ ในกลุ่มเป้าหมายอายุ๑๕–๕๙ ปี เป็นลำดับแรก จำนวนผู้ลืมหนังสือในโซนตะวันออก แบ่งออกได้ดังนี้

ตำบลน้ำเลา มีจำนวน 24 คน เป็นชาย 3 คน เป็นหญิง 21 คน

ตำบลบ้านเวียง มีจำนวน 16 คน เป็นชาย 2 คน เป็นหญิง 14 คน

รวมทั้งสิ้น 40 คน เป็นชาย 5 คน เป็นหญิง 35 คน

จำนวนผู้เข้าทดสอบ 31 คน ดังนี้

เป็นชาย จำนวน 2 คน เป็นหญิง จำนวน 29 คน

ทดสอบผ่าน 31คน ดังนี้

เป็นชาย จำนวน 2 คน เป็นหญิง จำนวน 29 คน

ผลการดำเนินงาน

๑. เน้นการเรียนรู้หนังสือไทยที่บูรณาการกับสภาพความต้องการและปัญหาของสังคมที่สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของผู้เรียน

๒. ยืดหยุ่นทั้งเนื้อหา เวลาเรียน วิธีเรียน สื่อ แหล่งเรียนรู้ วิธีการวัดและประเมินผลโดยเน้นการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนที่แตกต่างกันเป็นรายบุคคล

๓. ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถ และทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาไทย และการคิดคำนวณเบื้องต้น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับผู้อื่น ตลอดจนแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต


ภาพกิจกรรมส่งเสริมการรู้หนังสือไทย