ม่อนเสาหิน

ม่อนหินกอง” ( ม่อนเสาหินพิศวง )

ประวัติความเป็นมา

“ม่อนหินกอง” ( ม่อนเสาหินพิศวง) ในบริเวณนี้เมื่อประมาณ 5 – 6 ล้านปีมาแล้ว เกิดการประทุของภูเขาไฟ พาเอาหินหนืดจากใต้เปลือกโลกไหลประทุขึ้นมาเป็นลาวา ( lava ) ของหินบะซอลด์ ปกคลุมพื้นผิวบริเวณนี้แล้วเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว มีผลให้ส่วนของหินบะซอลด์ที่อยู่ตอนบนเกิดแรงดึงทุกทิศทุกทางจาก การหดตัวในขณะที่เย็นตัวลงทำให้เกิดรอยแตกรอยแยกที่ตั้งฉาก กับพื้นผิวจึงได้ลักษณะหินแตกเป็นหลาย ๆ เหลี่ยมคล้ายเสา ( columnar ) ตั้งตรงหรือล้มระเนระนาดบ้างอยู่ในบริเวณนี้นั่นเอง ม่อนหินกองนี้จึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา มิได้เป็นสิ่งอัศจรรย์ มีอิทธิฤทธิ์ หรือปาฏิหาริย์ สิ่งที่เกิดมาเป็นธรรมชาตินี้ เป็นสมบัติจากธรรมชาติที่ให้อนุชนได้เรียนรู้ จึงไม่สมควรที่จะรุกล้ำ หักโค่นให้เป็นสมบัติส่วนตัวหรือนำไปกราบไหว้บูชาแต่อย่างใดการค้นพบ

ในตำบลนาพูนเมื่อประมาณ50กว่าปีที่ผ่านมาได้มีคนมาจากสวรรคโลกเดิน

ทางมาหา นายกิ โปด้วง ให้นำทางไปที่ม่อนหินกอง อ้างว่ามีรายแทง และว่าพวกมอญ พวกเงี้ยว เอาของดีมาซ่อนไว้ที่ม่อนหินกองแล้วเอาหินทับไว้ และนายกิ โปด้วง จึงได้นำทางนายเสริญ และนายน้อย ไปขุดหารายแทงนั้น พอขุดได้2วันก็มีงูยาวประมาณ1เมตรมานอนบริเวณนั้นและการขุดหารายแทง

นั้นทั้งนายเสริญและนายน้อยได้แต่สากครก1ชิ้นเท่านั้นและมีคำบอกเล่าว่าถ้า

บุคคลใดเอาของอะไรก็ตามที่อยู่ในนั้นออกมา เชื่อว่าจะมีอันเป็นไป และพอขุดได้ไม่กี่วันนายเสริญก็ป่วยนายน้อยจึงพานายเสริญกลับบ้านพอกลับ

ไปถึงบ้านนายเสริญก็ตายและมีชาวบ้านบางรายเล่าว่าพอถึงวันพระจะได้ยินเสีย

ก้องเสียงกังวาลย์ดังขึ้นบริเวณม่อนหินกอง และมีชาวบ้านบางคนเคยเห็นลูกแก้วลอยขึ้นบริเวณม่อนหินกอง ลักษณะของม่อนหินกอง มีกองหินเรียงรายกันอยู่คล้ายกับเจดี มีอยู่ถึง 7 – 8 กอง มีรูปเป็นเหลี่ยม 5 เหลี่ยม และ 6 เหลี่ยม ซึ่งมีทั้งหมด 3 กองโดยมีความยาวและความสูงดังต่อไปนี้ กองที่ 1 มีความยาวประมาณ 10 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร กองที่ 2 มีความยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 10 เมตร กองที่ 3 มีความยาวประมาณ 8 เมตร สูงประมาณ 5 เมตร ม่อนหินกองตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของ บ้านนาพูนพัฒนา หมู่ที่ 10 ตั้งอยู่ทางทิศ ตะวันออกของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านประมาณ 3 กิโลเมตร ปัจจุบันบริเวณม่อนหินกองเป็นป่าอุดมสมบูรณ์ และมีลอยขุดเป็นหลุมเป็นบ่อซึ่ง มาจากการขุดของนายเสริญ และนายน้อย มาจนถึงทุกวันน

ความน่าสนใจ และความแปลกใหม

เป็นสถานที่ชาวบ้านเคารพนับถือ และมีความเชื่อที่แตกต่างกันไป และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวระดับตำบล อำเภอ และจังหวัด และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พื้นที่ส่วนม่อนเสาหินพิศวง “ม่อนเจ้าอาจญา” ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่“เจ้าอาจญา” ผีที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาผีที่ชาวบ้านนับถือ มีลักษณะเป็นกลุ่มแท่งเสาหินสูงประมาณครึ่งช่วงตัวตั้งเรียงราย ทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นที่ “ม่อนเจ้าคำคือ” เป็นเสาหินก้อนหินจำนวนมาก มีทั้งตั้งตรง ล้มเอียง ตั้งเป็นกลุ่มกระจุก และกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณ สำหรับชื่อม่อนตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าคำคือ ผีอีกตนหนึ่งที่ชาวบ้านนั้บถือ บาตรรับเหรียญที่ม่อนสะเดาะเคราะห์ “ม่อนสะเดาะเคราะห์” เป็นก้อนหินเรียงตัวเป็นทางเดิน และมีแอ่งคล้ายบ่อน้ำ ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นบ่อเงินบ่อทอง ในบ่อมีบาตรวางอยู่ให้ผู้สนใจโยนเหรียญลงในบาตรเพื่อสะเดาะเคราะห์ และ“ม่อนเสาหินพิศวง” ม่อนไฮไลท์ ที่เป็นแท่งหินสูงประมาณ 3 เมตร เรียงตัวติดกันเป็นคูหาห้อง ชาวบ้านที่นี่เชื่อว่านี่คือพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์จึงมีคนมาบนบานศาลกล่าวและนำธูปเทียนมาเคารพสักการะที่ม่อนแห่งนี้



ป้ายม่อนเสาหินพิศวง