ความเป็นมาและความสำคัญของแหล่งเรียนรู้ และภูมิปัญญาท้องถิ่น

โลกปัจจุบันเป็นโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายทั่วถึงกันได้อย่างรวดเร็ว ไร้อาณาเขตขวางกั้น สภาพดังกล่าวมีส่วนกระทบถึงวิถีชีวิตของผู้คนพลเมืองโดยทั่วไป เพราะเป็นสภาพที่เอื้ออำนวยในการรับและถ่ายโยงเอาศาสตร์หรือภูมิปัญญาตะวันตกเข้ามาในการพัฒนาประเทศและพัฒนาผลผลิต ตลอดจนการดำเนินชีวิต อย่างมิได้มีการปรับปนกับภูมิปัญญาไทยที่มีความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นที่เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทำให้ชุมชนชนบทประสบปัญหาดังที่กล่าวว่าชุมชนล่มสลาย อันมีผลรวมไปถึงความทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง การพยายามใช้กลไกลทางการศึกษาจากเงื่อนไขที่เปิดโอกาสให้มีการพัฒนาหลักสูตร ตามความต้องการ ของท้องถิ่น เป็นช่องทางในการประยุกต์เอาภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีจุดเด่น ที่สามารถพิสูจน์ตัวเองในการยืนหยัดอยู่รอดได้ ท่ามกลางกระแส การล่มสลายของชุมชนและการทรุดโทรมของสิ่งแวดล้อม ดังกล่าว มาสู่หลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ในแนวทางของการคิดปฏิบัติจริง จากการประยุกต์ปรับปน ภูมิปัญญาชาวบ้านหรือภูมิปัญญาไทยกับปัญญาสากล เพื่อให้ผู้เรียนค้นพบคุณค่าภูมิปัญญาที่มีในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตของชุมชน และสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นำมาซึ่งดุลยภาพที่สงบสันติสุขของบุคคล ชุมชนและชาติ

ความสำคัญของแหล่งเรียนรู้

1.เป็นแหล่งเสริมสร้างจินตนาการและความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

2.เป็นแหล่งศึกษาตามอัธยาศัย

3.เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

4.เป็นแหล่งสร้างความรู้ ความคิด วิชาการและประสบการณ์

5. เป็นแหล่งปลูกฝังค่านิยมรักการอ่านและแหล่งศึกษาค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง

6.เป็นแหล่งสร้างความคิดเกิดอาชีพใหม่สู่ความเป็นสากล

7.เป็นแหล่งเสริมประสบการณ์ตรง

8.เป็นแหล่งส่งเสริมมิตรภาพความสัมพันธ์ระหว่าคนในชุมชนหรือผู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น

ข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/krobumja/2

ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

เจดีย์วัดราชบัลลังค์

บัลลังก์จำลอง

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ภาพประกอบจาก https://goo.gl/1U331Y