วัดพระเกิดดินแดนอารยธรรม
ชื่อบทความ “วัดพระเกิด ดินแดนอารยธรรม” กศน.ต ำบลทุ่งฮั้ว กศน.อ ำเภอวังเหนือ สนง.กศน.จ.ล ำปำง
ท่ามกลางสายฝนที่โปรยลงมาอย่างไม่ขาดสาย กับท้องฟ้าที่มืดครึ้ม ช่วงฤดูฝนถนนสายวัง เหนือทุ่งฮั้ว สองข้างทางเต็มไปด้วยทุ่งนาเขียวขจี ท่ามกลางสายฝนและท้องทุ่งที่เขียวขจี มองไปข้าง ทางเห็นชาวนาแบกจอบทําการเกษตร อีกฝั่งของถนนกลุ่มยายจํานวน 5-6 คน กําลังเดินผ่าสายฝน ไปสู่จุดหมายที่ไม่ไกลจากถนนสายหลัก สักเท่าไหร่นัก มือหนึ่งถือร่มเพื่อ ป้องกันสายฝน อีกถือขันเงินขันทองที่มี ดอกไม้อยู่ในขัน ต่างมุ่งหน้าเดินไปตาม ทางที่เดินที่เต็มไปด้วยน้ําฝนที่เปียก โชก กับชุดขาวที่สวมใส่และรอยยิ้มที่ ความสุข ทําให้เกิดศรัทธายิ่งนัก จากที่ กลุ่มยายเดินไปไม่ไกลนัก สิ้นสายฝนที่ โปรยลงมาอย่างหนัก ท้องฟ้าเริ่มสดใส เสียงกบเขียดเริ่มร้องระงม ทําให้มองเห็นพระธาตุที่ตั้ง ตระหง่านอยู่เบื้องหน้า สายตาแต่ละคนเริ่มจดจ้องไปที่พระธาตุอันงดงาม ก่อนข้ามสะพานที่ผมขอตั้ง ชื่อว่าสะพานบุญทางเข้าหมู่บ้านแม่เลียบนั้น เบื้องหน้าก่อนมองเห็นพระธาตุที่งดงาม เราจะเห็นรูปปั้น แม่กาขาวตัวขนาด 3 เมตร กางปิกอยู่หน้าพระธาตุแปลกใจยิ่งนักว่าทําไมทางข้ามสะพานบุญแห่งนี้จึง มีรูปปั้นกาขาว เดินไปอีก 100 เมตร เห็นป้ายที่ทําด้วยปูนฉาบ เขียนคําว่า “ดินแดนพระเจ้า 5 พระองค์” ด้านล่างของกําแพงจะมีน้ําพุไหลย้อย ทําให้สงบยิ่งนัก มองไปด้านหน้าประตูทางเข้า มีอุโบสถหลังใหญ่ที่มีลวดลายงดงาม ล้วนประดับด้วยลายกนกลายไทที่สวยงาม สีทองของโบสถ์ทําให้ เกิดแรงศรัทธา ก้าวขึ้นบันไดทางขึ้นอุโบสถ์มองไปข้างในอุโบสถ ผนังที่มีเรื่องราวชวนให้น่าติดตามยิ่ง นัก ด้านหลังโบสถ์จะมีพระธาตุที่งดงาม ซึ่งมีควำมสูง 36 เมตร ฐำนกว้ำง 18 เมตร มองพระเจดีย์ ใกล้ ๆ แล้วจะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก องค์เจดีย์เป็นศิลปะที่สวยงาม ละเอียดยากที่จะหาพระ เจดีย์ที่อื่นเสมอพระเจดีย์ได้ โดยเฉพาะส่วนบนสุดของเจดีย์ที่ต่อจากฉัตร ก็จะมีแม่กาทองเด่นเป็นสง่า เป็นสัญลักษณ์ของเจดีย์ บริเวณพระเจดีย์มีขนาดกว้างขวางมีกําแพงอยู่สองชั้น คือกําแพงชั้นใน เรียกว่ากําแพงแก้ว มีกําแพงชั้นนอกทําด้วยศิลาแลงบริเวณลานพระเจดีย์ปูด้วยหินอ่อนทําให้คิด ย้อน ถึงคําขวัญวังเหนือ “พญาวังเรืองนาม พระธาตุงามเรืองชื่อ น้้าตกสวยเรื่องลือ นามนี้คือ วังเหนือ” จากคําขวัญของอําเภอ ทําให้เรามองถึงเอกลักษณ์และวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เมือง วัง เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ ขึ้นไปทางเหนือสุดของวังเหนือจะเป็นตําบลที่ มีวัฒนธรรมที่ดีงามและเป็นดินแดนที่ทุกคน ต้องมาให้ถึงสักครั้งนั้นคือ วัดพระธาตุพระ เกิดเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตําบลทุ่งฮั้ว ซึ่งเป็น รอยต่อระหว่างวังแก้วกับทุ่งฮั้ว ปรากฏในคํา ขวัญที่ว่า “พระธาตุงามเรืองชื่อ” นั่นคือ วัด พระธาตุพระเกิด เป็นดินแดนอารยะธรรมที่ สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น วัดพระเกิดถือเป็นวัดที่มีตํานานเล่าขานมาช้านาน ซึ่งในอดีตมีตํานานเล่าถึง ความเป็นมาของสถานที่แห่งนี้ ที่น่าติดตามอย่างยิ่ง
วัดพระเกิด ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านแม่เลียบ ตําบลทุ่ง ฮั้ว อําเภอวังเหนือ จังหวัดลําปาง เป็นวัดโบราณและมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน แต่ก่อนเป็นวัด เอกและเป็นวัดประจําของชาวเมืองวังเป็นวัดที่มีความศักดิ์สิทธิ์และเป็นที่เคารพสักการะของ พุทธศาสนิกชนตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน กล่าวถึงอดีตสมัยสองพันกว่าปีมาแล้ว เมื่อสมเด็จพรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ยังไม่ เสด็จดับขันธปรินิพพาน ยังมีนายพานิช 2 คน ได้เดินทางจากดินแดนสุวรรณภูมิง (เมืองวัง) ไปค้าขายยังดินแดนประเทศอินเดีย ได้มี โอกาสเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนเกิดความเลื่อมใสองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระพุทองค์ทรงตรัสถามนายพานิช ทั้งสองคนถึงที่อยู่ของนายพานิช นายพานิชก็ ได้ทูลตามความจริง องค์สมเด็กจพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระเกศา(เส้นผม)พระองค์ให้แก่ นายพานิชทั้งสองคน ๆ ละ 4 เส้น พระพุทธองค์ได้ตรัสให้นายพานิชทั้งสองคนนําพระเกศาบรรจุไว้ที่ ดอยสังกุตตะระ ในเมืองที่พ่อค้าอยู่ เพราะว่าดอยสังกุตตะระแห่งนี้เป็นที่บรรจุพระสารีริกธาตุ เส้น พระเกศา (เส้นผม) ของพระพุทธเจ้ามาแล้ว 3 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสส ปะ แล้วพระพุทธองค์ได้ตรัสเล่าว่า สถานที่นั้นเป็นที่เกิดของแม่กาขาวและกําเนิดพระโพธิสัตว์ทั้ง 5 พ ร ะ อ ง ค์ พ ร ะ พุ ท ธ อ ง ค์ ยั ง ไ ด้ ป ร ะ ท า น เ ล่ า เ รื่ อ ง ใ ห้ แ ก่ น า ย พ า นิ ช 2ค น
ย้อนหลังเริ่มตั้งแต่ปฐมกัปป์ คือกัปป์แรกของโลกยังมีแม่กาขาวทํารังอยู่ที่ต้นมะเดื่อใกล้กับ แม่น้ําต่อมาแม่กาขาวได้ออกไข่ 5 ฟอง แม่กาก็รักและทะนุถนอมไข่ทั้ง 5 ฟอง ไม่ให้ได้รับอันตราย จากศัตรูหรือสัตว์อื่นที่จะมาทําร้ายไข่ทั้ง5 ฟองอยู่มาวันหนึ่งแม่กาขาวก็ไปเที่ยวแสวงหาอาหาร ทางด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นที่อุดมสมบูรณ์ด้วยอาหารหลายอย่าง เผอิญวันนั้นได้มีพายุและฝนพัดกิ่ง ไม้ล้มระเนระนาดอากาศมืดครึ้มทําให้แม่กาจําทิศทางไม่ได้เพราะดูเหมือนกันหมด แม่กาขาวก็หลง สถานที่แม่กาขาวไปหลงเดี๋ยวนี้เรียกว่า เวียงกาหลง ซึ่งอยู่ในอําเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย เมื่อสิ้นพายุและฝนแล้ว อากาศแจ่มใส แม่กาก็หาทางบินกลับที่ อยู่ คือ ต้นมะเดื่อใกล้กับแม่น้ํา กลับมา หาลูกที่เป็นไข่ทั้ง 5 ฟอง ไม่เจอ แม่กาก็ เลียบไปทางด้านทิศตะวันตก เดี๋ยวนี้ เรียกว่าหมู่บ้านแม่เลียบ ก็ไม่เจอ แม่กาก็ ตามหาตามบริเวณนั้นก็ไม่เจอ เขาก็เรียกว่าวังแม่กา เมื่อแม่กาตามหาลูกไม่เจอแม่กาขาวก็ร้องไห้ เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าหมู่บ้านฮ่องไฮ แม่กาก็ตามหาลูกบินวนไปมาเดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าหมู่บ้านวังมน เมื่อแม่ กาบินวนไปมาไม่เจอลูกก็เกิดความเศร้า เดี๋ยวนี้เขาเรียกว่าหมู่บ้านทัพป่าเส้า แม่กาตามหาลูกเป็น เวลา 7 ปีก็เกิดความท้อใจไม่อยากกินอาหารจนร่างกายซูบผม แต่ด้วยเหตุที่แม่กาเคยเป็นพรหมมา ก่อน แม่กาก็ได้ทําใจให้สงบแล้วแม่กาก็สิ้นใจสถานที่แม่กาสิ้นใจก็คือวัดอักโขชัยคีรีอําเภอแจ้ห่ม จังหวัดลําปาง เมื่อแม่กาสิ้นใจแล้ว ก็ไปเกิดเป็นมฏิกามหาพรหมอยู่ชั้นสุทธาวาส จะกล่าวถึงไข่ทั้ง 5 ฟองของแม่กาขาว วันที่แม่กาขาวไปหาอาหารวันนั้น ก็ได้เกิดพายุและ ฝนเหมือนกัน พายุได้พัดกิ่งไม้และรังไข่ของแม่กาขาวตกลงมาสู่แม่น้ํา ไข่ทั้ง 5 ฟองก็ลอยไปตาม กระแสน้ํา ไข่ฟองที่ 1 ลอยไปมีแม่ไก่เห็นแล้วก็เก็บเอามาเลี้ยงไว้ ไข่ฟองที่ 2 ลอยไปมีแม่นาคเห็นแล้ว ก็เก็บเอามาเลี้ยงไว้ ไข่ฟองที่ 3 ก็ลอยไปมีแม่เต่าเห็นก็ได้เก็บเอามาเลี้ยงไว้ ไข่ฟองที่ 4 ลอยไปก็มีแม่ วัวเก็บมาเลี้ยงไว้ไข่ฟองที่ 5มีแม่ราชสีห์ (สิงห์) เห็นแล้วก็เก็บเอามาเลี้ยงไว้ ต่อมาไม่นานไข่ทั้ง 5 ฟอง ก็ แ ต ก อ อ ก ม า แ ท น ที่ จ ะ เ ป็ น อ ย่ า ง อื่ น ก ลั บ เ ป็ น ค น ซึ่ ง เ ห มื อ น กั น ห ม ด ทั้ ง 5 แม่เลี้ยงก็เกิดความยินดีรักเหมือนกับลูกของตัวเอง แม่เลี้ยงทั้ง 5 ก็ได้เลี้ยงไว้เหมือนแม่ที่แท้จริงของ กุมาร เวลาผ่านไปเมื่อกุมารทั้ง 5 เป็นหนุ่ม ได้ถามแม่เลี้ยงของแต่ละคนว่า แม่ที่แท้จริงอยู่ที่ไหน แม่ เลี้ยงก็ไม่สามารถตอบคําถามได้ เพราะว่าลูกได้ลอยมาตามกระแสน้ํา แม่เลยเก็บเอามาเลี้ยงไว้ กุมาร ทั้ง 5 คิดถึงแม่ที่แท้จริงก็อยากจะตามหาแม่ ได้กราบลาแม่เลี้ยง ส่วนแม่เลี้ยงทั้ง 5 ก็มีความอาลัยหา ลูกแต่ถ้าเป็นความต้องการของลูกก็อนุญาต แต่แม่ขออะไรสักอย่าง คือ ถ้าลูกได้เจอพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าแล้ว ขอฝากชื่อแม่เลี้ยงไว้ถัดจากนั้นมากุมารทั้ง 5 ก็ได้เข้าป่าบําเพ็ญเป็นฤาษี จนได้ฌาณ มีวัน หนึ่งฤาษีทั้ง 5 ได้มาเจอกันโดยบังเอิญโดยลักษณะหน้าตาก็คลายกัน อายุก็เท่ากัน ฤาษีทั้ง 5 ได้พร้อม ใจกันตั้งสัจจะอธิษฐานกันว่าด้วยแรงบุญแรงกุศล แรงอธิษฐานบารมีของลูกทั้ง 5 นี้ ขอได้พบเจอแม่ที่ แท้จริงด้วยแรงอธิษฐานของฤาษีทั้ง 5 ซึ่งมีพลังอันยิ่งใหญ่และเป็นอธิษฐานที่ลูกส่งถึงแม่ด้วยความ บริสุทธิ์ แรงอธิษฐานนั้นไปถึงฆฏิกามหาพรหม ซึ่งเดิมทีเป็นแม่กาก็ได้ลงมาในสภาพของแม่กา ได้มา ให้ฤาษีทั้ง 5 ได้มารู้และเห็น และเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ลูกทั้ง 5 ฟัง ตั้งแต่ต้นจนจบสิ้น ชีวิตมีความรัก ของแม่ยากที่จะทดแทนบุญคุณของแม่ที่มีต่อลูกฆฏิกามหาพรหมในสภาพของแม่กาขาวได้แนะนําลูก ทั้ง 5 ทีเป็นฤาษีว่า ให้ลูกนําดินมาทําประทีป และนําฝ้ายมาทําเป็นรูปตีนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แทนแม่กา ขาวเมื่อแม่กาขาวได้แนะนําฤาษีทั้ง 5 แล้วก็ได้ขึ้นไปสู่ที่อยู่ คือ พรหมโลก วันที่แม่กามาพบฤาษีทั้ง 5 นั้น ตรงกับวันเพ็ญเดือน12เพ็ญหรือวันเดือนยี่เป็ง ของชาวล้านนาไทย นิยมจุดประทีปตีนกาบูชาแม่ กาเผือก (ขาว) ตลอดมา ก็มาจากเรื่องของแม่กาขาวพระเจ้า 5 พระองค์ซึ่งวันนี้เป็นวันตรงกับวันลอย กระทงเมื่อแม่กาขาวไปสู่พรหมโลกแล้ว ฤาษีทั้ง 5 องค์ ก็ได้ทําตามคําที่แม่แนะนําคือการจุดประทีป นําฝ้ายมาเป็นตีนกา แล้วหาน้ํามันมาใส่จุดบูชาทุกวันพระ 8 ค่ํา 15 ค่ําแล้วฤาษีทั้ง 5 องค์ได้บําเพ็ญ เพียรจนสิ้นอายุขัยของแต่ละองค์ ต่อมาฤาษีทั้ง 5 องค์ก็ได้มาเกิดในเมืองมนุษย์บําเพ็ญเพียรบารมีอีก หลายชาติ หลายกัปป์ จนมาถึงยุคภัทกัปป์นี้ซึ่งกัปป์ที่โชคดีที่สุดมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นในโลก 5 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคตมะ (สิทธัตถะ) องค์ปัจจุบันและจะ อุบัติขึ้นในอนาคต คือ พระศรีอารยเมตไตรย ซึ่งก็เป็นองค์สุดท้ายในภัทกัปป์นี้ ซึ่งพระพุทธเจ้าทั้ง 5 พระองค์นี้ แต่ก่อนก็เป็นลูกของแม่กาขาวและที่ได้ชื่อต่าง ๆ ก็ได้เอาชื่อแม่เลี้ยงตามคํามั่นสัญญาที่ให้ ไว้กับแม่เลี้ยง เมื่อพระพุทธเจ้าได้เล่าเรื่องของแม่กาขาว พระเจ้า 5 พระองค์แล้วนายพานิชทั้งสองคน ได้กราบลาพระพุทธเจ้าแล้วเดินทางมาที่บ้านเกิด คือ ดินแดนสุวรรณภูมิ แล้วนําพระเกศาทั้ง 8 เส้น บรรจุไว้ ณ ดินแดนดอยสังกุตตะระ คือ พระเจดีย์วัดพระเกิด ตราบเท่าทุกวันนี้
วัดพระเกิด มีโบราณสถานที่สําคัญ คือ พระเจดีย์ ซึ่งมีความสูง 36 เมตร ฐานกว้าง 18 เมตร มองพระเจดีย์ใกล้ ๆ แล้วจะเกิดความศรัทธาเลื่อมใสยิ่งนัก องค์เจดีย์เป็นศิลปะที่สวยงาม ละเอียดยากที่จะหาพระเจดีย์ที่อื่นเสมอพระเจดีย์วัดพระเกิดได้ โดยเฉพาะส่วนบนสุดของเจดีย์ที่ต่อ จากฉัตร ก็จะมีแม่กาทองเด่นเป็นสง่าเป็น สัญลักษณ์ของเจดีย์วัดพระเกิดที่ไม่มีเจดีย์ที่ อื่นมี บริเวณพระเจดีย์มีขนาดกว้างขวางมี กําแพงอยู่สองชั้น คือกําแพงชั้นในเรียกว่า กําแพงแก้ว มีกําแพงชั้นนอกทําด้วยศิลาแลง บริเวณลานพระเจดีย์ปูด้วยหินอ่อน พุทธศาสนิกชนนิยมมาปฏิบัติธรรมและเวียนเทียนในวันสําคัญทางพระศาสนาโดยเฉพาะวันขึ้น 15 ค่ํา พระจันทร์เต็มดวงจะเห็นพระเจดีย์เด่นสง่า เกิดความรู้สึกภายในจิตใจยากที่จะพรรณาได้เหมือนกับได้ อยู่บนสวรรค์ชั้นใดชั้นหนึ่งก็ไม่ปาน นี่คือความรู้สึกจากผู้ที่มาร่วมใจปฏิบัติเวียนเทียนและมากราบไหว้ พระเจดีย์วัดพระเกิด ซึ่งเป็นเจดีย์ประดับด้วยแก้วทั้งองค์ มีฉัตรข้างบน และฉัตรข้างล่างอีก 4 ฉัตร แต่ละฉัตรก็จะมีกาทองอยู่ทุก ๆ ฉัตร ในพระอุโบสถของวัดพระเกิด ยังมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 2 องค์ เรียกว่า พระแสนแซ่ (สลัก) เป็นที่เคารพและนับถือของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ตามคําบอกเล่าของผู้ เฒ่าผู้แก่เล่าสืบกันมาว่า พระแสนแซ่ ท่านไปสรงน้ําแล้วกลับมาที่เดิมได้ชาวบ้านจึงเลื่อมใสศรัทธา และเล่าสืบต่อกันมาแลว่าถ้าได้กราบพระแสนแซ่ทองสัมฤทธิ์จะมีคนสรรเสริญพบแต่ความสุข แนวทางการสืบสานต้านานดินแดนอารยธรรมสามารถทําได้หลายอย่าง เช่น เข้าทําบุญที่วัดพระเกิด การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และร่วมกิจกรรมตามช่องทางต่างๆ และที่สําคัญสุกเมื่อเราเข้าไปถึงวัดพระ เกิดแล้ว การสํารวมการ วาจา ใจ เป็นการสืบสานและอนุรักษ์ที่ดีที่สุด
ข้อมูลเนื้อหา/เรียบเรียง โดย นายชนาธิป มือแข็ง ครูกศน.ตําบลทุ่งฮั้ว
ที่มาของประวัติอ้างอิงโดยเพจ: แดนนิพพานดอทคอมhttp://www.dannipparn.com/thread617-1-1.html
บรรณาธิการ นายภานุวัฒน์ สืบเครือ ผอ.กศน.วังเหนือ และนายจักรกฤษณ์ ปีก่ํา ครู คศ.1 ติดตามชมต่อได้ที่นี่