แหล่งเรียนรู้


ชุมชนท่องเที่ยวบ้านคลองขวาง ตำบลช้างทูน อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด


ทำไมต้อง“ช้างทูน”เนื่องจากในสมัยก่อนมีคนอพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในหมู่บ้านและในตอนกลางวันชาวบ้านดังกล่าวจะออกจากบ้านไปทำมาหากินในขณะที่ชาวบ้านไม่อยู่ได้มีช้างโขลงหนึ่งออกมาทำลายพืชผลในหมู่บ้านและช้างโขลงนั้น มีช้างพรายตกมันร่วมอยู่ด้วย มันอาละวาดถอนต้นไม้และทำลายบ้านเรือนของราษฎรโดยการยกบ้านขึ้นทั้งหลังและทิ้งลงมาแต่ลักษณะการยกของช้างนั้นจะใช้งวงดุลบ้านขึ้นภาษาท้องถิ่น เรียกว่า “ทูน” ดังนั้นชาวบ้านจึงขนานนามหมู่บ้านแห่งนี้ว่า“บ้านช้างทูนนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ในปัจจุบันตำบลช้างทูนมีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ชุมชนท่องเที่ยวบ้านคลองขวาง เป็นการท่องเที่ยวแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์บ้านช้างทูนนับว่า เป็นต้นแบบของการพัฒนาต้นแบบนิเวศพิพิธภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถนำมาใช้เพื่อการกู้วิกฤตสังคมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพึ่งพาตนเองได้ อีกหนึ่งกิจกรรมที่เป็นสร้างชื่อเสียงให้กับตำบลช้างทูน คือ สปาสุ่มไก่หรือ สปา เดอ ชอง เป็นการเรียนรู้คุณประโยชน์ของสมุนไพร ไม้ห้อมนานาชนิดที่ชาวชองรื้อฟื้นมาจากภูมิปัญญาการอยู่ไฟของสตรีชาวชองโบราณ หรือสูตรแม่ลูกดก ด้วยการเก็บรวบรวมสรรพคุณของสมุนไพรกวา่ 32 ชนิด ทำให้ชาวชองส่วนใหญ่มีอายุยืน และสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปัจจุบัน นางสำเนา ตุงคะเทพีและนางอุทัย เปรื่องเวช ได้พัฒนาเป็นสูตรสมุนไพรสำหรับอบตัวในสุ่มไก่ขนาดใหญ่ที่สามารถโผล่ศีรษะออกมาได้และใช้ได้ทั้งหญิง และชาย ต่อด้วยการนวดผ่อนคลายความเมื่อยล้าจากการเดินทางด้วยการจับเส้นแผนชอง หรือนวดตัวด้วยน้ำมันชองเสน่ห์อโรม่าสร้างความชื่นชอบและประทับใจแก่ผู้มาเยือนโดยเฉพาะกลุ่มสตรีและผู้สูงอายุที่มีความสนใจเฉพาะด้านสุขภาพและความงาม ทั้งนี้ชุมชนได้สร้างเครือข่ายความ ร่วมมือด้านเศรษฐกิจท้องถิ่นร่วมกับโรงงานกลั่นไม้หอม ช.กฤษณา เพื่อกลั่นแยกน้ำมันกฤษณาเพื่อส่งเสริมกิจกรรมสปา เดอ ชอง นับว่าเป็นแรงผลักดันให้ชุมชนบ้านช้างทูนสามารถพัฒนาศักยภาพเป็นนิเวศพิพิธภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การทำสบู่ขี้แรดในที่นี้มิได้หมายถึงการนำขี้ของแรดมาทำสบู่แต่ขี้แรดเป็นชื่อเถาวัลย์ชนิดหนึ่ง เมื่อนำมาทำเป็นฝอยแล้วใช้มือขยี้กับน้ำจะเกิดฟองตามธรรมชาติสามารถนำมาใช้ชำระล้างร่างกายตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้าให้สะอาดได้โดยปราศจากสารเคมี นับเป็นสุดยอดภูมิปัญญาของชาวชองบ้านช้างทูนผลิตภัณฑ์ในชุมชนที่ทำจากสมุนไพรพื้นบ้าน (ยี่ห้อ ชองระอา) ประกอบด้วย ยาดมสมุนไพรบุฟเฟ่ต์ ยาดมที่บ้านช้างทูนมีความแตกต่างจากที่อื่น ซึ่งมีความพิเศษที่การให้นักท่องเที่ยวได้ลงมือทำเองและมีวิธีการทำที่ง่ายยาดมสมุนไพรจะให้กลิ่นที่เย็นชื่นใจจากสมุนไพร แก้อาการวิงเวียน อบตัวด้วยสปาสุ่มไก่ โดยช่วยในเรื่องของการปวดเมื่อยตัว ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ และให้เลือดมีการหมุนเวียนที่ดีขึ้น และช่วยรักษาอาการหลังคลอดได้อีกด้วยวิธีการคือนำตัวเข้าไปอยู่ในสุ่มไก่และนำหัวโผล่ออกมาโดยมีการต้มสมุนไพรไว้ภายในใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที โคลนภูเขาไฟ โคลนจะมีลักษณะเป็นสีเหลืองอ่อน ในการพอกโคลนขาวแต่ละครั้งจะทิ้งไว้ 10-15 นาที พอโคลนแห้งก็ล้างใบหน้าและลำตัวด้วยน้ำเปล่าตามปกติหลังจากนั้นจะรู้สึกได้ว่าผิว มีความเนียนนุ่มขึ้นและดูสุขภาพดี นวดแผนไทย เป็นการนวดเฉพาะจุดเอกลักษณ์ของชาวชอง ลูกประคบ และโคลนพอก

แม้ชุมชนจะเปิดหมู่บ้านให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ก็เกรงว่าจะสูญเสียทรัพยากรในพื้นที่จึงเห็นด้วยกับแนวทางการนำแนวคิดนิเวศพิพิธภัณฑ์มาประยุกต์ใช้กับการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัคร และออกแบบกิจกรรมหรือนิทรรศการเพื่อใช้การท่องเที่ยวมาช่วยชุมชนแก้ไขปัญหาเช่นการสร้างฝายชองการสร้างโป่งให้ ช้างป่า เป็นต้น รวมทั้งทดแทนทรัพยากรที่นำออกไปอีกทั้งยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กระจายสู่ภาคครัวเรือนจากการ นำภูมิปัญญาการแพทย์แผนชองมาต่อยอดเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม

ผู้ให้ข้อมูล นายสมชาย เปรื่องเวช

ผู้เรียบเรียง นางสาวณัฐชยา พงค์พันธ์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนิเวศพิพิธภัณฑ์ชองบ้านช้างทูน