กะปิเคยตาดำ

วิสาหกิจชุมชนกะปิบ้านชายทะเลรางจันทร์ แต่เดิมชาวบ้านจะทำแค่ไว้กินกันในครัวเรือน แต่ต่อมาเมื่อทำกันมากขึ้นๆ บวกกับชื่อเสียงความอร่อยของกะปิที่นี่ ก็เลยมีพ่อค้าแม่ค้าเข้ามาซื้อกะปิไปขายต่อ ชาวบ้านก็เลยรวมตัวกันจัดตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนกะปิบ้านชายทะเลรางจันทร์ขึ้นมา และ มีมาตรฐาน GMP , อย. เรียบร้อย

กะปิของที่นี่ มีอยู่ 2 แบบด้วยกัน

1. แบบที่ทำจากเคยตาดำ (ตัวเล็กจิ๋ว)

2. แบบที่ทำจาก เคยตาแดง (ตัวโตขึ้นมาหน่อย)

กะปิที่ทำจากเคยสองชนิดนี้ แม้ว่าส่วนผสมจะเหมือน ๆ กัน วิธีทำคล้าย ๆ กัน แต่กะปิที่ได้ออกมา ทั้งสี และ Texture จะแตกต่างกัน กะปิจากเคยตาดำ จะเอาเคยตาดำที่ล้างทำความสะอาดแล้วมาหมักกับเกลือ 1 คืน แล้วไปตากแดดทั้งน้ำและเนื้อเคย จากนั้นพอได้ที่ก็เอามาขยำ ๆ นวด ๆ ด้วยมือ จนเคยเละ ก็ค่อยเอามาหมักไว้ กี่เดือนก็ว่ากันไปจนได้เป็นกะปิกะปิจากเคยตาแดง ชาวบ้านจะเอาเคยตาแดงมาหมักกับเกลือ 1 คืน จากนั้นตักเอาเฉพาะเคยไปตากแดด 1 แดดจนแห้ง แล้วก็เอามาโขลกให้แหลก (แต่สมัยปัจจุบัน เข้าเครื่องบดแทน) จากนั้นก็เอาไปหมักไว้ จนได้เป็นกะปิเคย" เป็นแพลงก์ตอนชนิดหนึ่งที่เป็นอาหารหลักของวาฬ เคยอยู่ในตระกูลเดียวกับกุ้ง หน้าตาดูเผิน ๆ จะคล้ายกุ้ง แต่ตัวเล็กกว่าเยอะ ยาวประมาณสัก 1.5 ซม. ได้ และจะไม่มีกรีแหลมๆ ที่หัวเหมือนกุ้งนะคะ ที่สำคัญคือเปลือกจะบาง และตัวนุ่มนิ่มมากค่ะ มีหลายชนิด แยกตามสี ตามขนาดลำตัว เช่น เคยตาดำ เคยตาแดง เคยน้ำข้าว เคยขี้เท่า เคยนุ่น ประมาณนั้นกะปิน้ำพริก กับกะปิแกง ต่างกันตรงไหน" โดยทั่ว ๆ ไป กะปิแกง จะมีเนื้อที่หยาบกว่า ใช้เวลาหมักน้อยกว่า ส่วนกะปิน้ำพริกกะปิจะละเอียดกว่า และใช้เวลาหมักนานกว่า แต่บางที่ก็จะแตกต่างกันในเรื่องของส่วนผสมด้วย

ราคากะปิ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ ขึ้นกับระยะเวลาในการหมัก กะปิบางที่ทำจากเคยล้วนๆ บางทีผสมปลาเล็กปลาน้อย บางทีก็เป็นกะปิปลาล้วนๆ และกะปิบางที่หมัก 1 เดือนก็เอามาขาย แต่บางที่หมัก 6 เดือน 8 เดือ

ผู้ให้ข้อมูล : นางเรียม กงม้า

ผู้เรียบเรียง : นางบุบผา เสมานารถ

ผู้เขียน : นางบุบผา เสมานารถ