ประเพณีและความเชื่อเล่นแม่ศรีผีกระด้ง
ประเพณีแห่แม่ศรีผีกระด้ง เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้นๆ ทั้งในด้าน ความเชื่อ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของคนในท้องถิ่น สู่คนนอกพื้นที่ได้มาชมการละเล่นนี้ ให้เป็นที่รู้จัก มากขึ้น อีกทั้งเป็นการช่วยให้คนในพื้นที่เกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะ เกิดเป็นชุมชน เข้มแข็ง นอกจากนี้ยังเป็นการทำให้คนในครอบครัวและญาติมิตรที่ทำงานไกลบ้าน ได้กลับมารวมตัว อยู่ด้วยกันกับครอบครัวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ชุมชนบ้านหนองมะนาว หมู่ 10 ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ อุปกรณ์การเล่น จะประกอบไปด้วย 1) ธูป จำนวนเป็นเลขคี่ เช่น 1 ดอก และ 3 ดอก )2 ครกตำข้าวสำหรับให้ คนทรงนั่ง 3) สากตำข้าว 2 อัน สำหรับกระทุ้งทำจังหวะ 4) ผ้าผูกตาคนเข้าทรง ผู้เล่นแม่ศรีจะ ประกอบด้วย 1) ผู้หญิง 1 คนไม่จำกัดอายุ เป็นผู้เข้าทรงแม่ศรี 2) คนร้องเชิญไม่จำกัดจำนวนอาจมี คนร้องนำแล้วมีลูกคู่ร้องรับ มีวิธีการเล่น ดังนี้ 1) นำครกตำข้าวโบราณมาวางไว้ในลักษณะคว่ำ วาง สากตำข้าวไว้สองข้างของครก ในลักษณะวางขวางไปกับครก แล้วนำกระด้งวางคว่ำลงบนครกที่คว่ำ อยู่ จากนั้นวางไข่ไก่พร้อมนำกะลาตาเดียวครอบไข่ไก่ไว้ เมื่อครอบเสร็จแล้วก็นำผ้าขาวม้าคลุมไว้ด้าน บนสุด 2) คนสองคนที่เป็นตัวแทนในการถือกระด้งนั่งข้างครกโดยใช้เท้าเหยียบสากไว้ ใช้นิ้วโป้งและนิ้วชี้ทั้งสองข้างจับขอบกระด้งไว้ 3) ใช้ธูป 1 ดอกจุดธูปเชิญสิ่งเหนือธรรมชาติ หรือผีเข้าสิงสู่กระด้ง 4) จากนั้นคนร้องเพลงเชิญไม่จำกัดจำนวน ร้องเพลงเชิญผีให้เข้าสิงสู่กระด้ง 5) เมื่อผีกระด้งเข้าสิง กระด้งแล้ว กระด้งจะมีการสั่นและเอียงไปมาเพื่อกลิ้งไข่ที่ถูกกะลาครอบไว้ให้ไปตกยังมือพี่เลี้ยง หลังจากไข่ตกลงมือพี่เลี้ยง พี่เลี้ยงก็จะนำไข่ไปซ่อนไว้กับคนอื่น เพื่อให้กระด้งนั้นตามหาให้พบ 6) หลังจากที่ไข่ตกแล้ว กระด้งจะพาผู้ถือกระด้งสองคนแกว่งไปหาของที่ถูกซ่อนไว้ เมื่อกระด้งทราบ ว่าของหรือไข่ที่นำไปซ่อนอยู่กับผู้ใด กระด้งก็จะพาผู้ถือกระด้งไปเคาะที่คนผู้นั้น จึงถือเป็นการสิ้นสุดการเล่นผีกระด้ง