ป๋ผ้ด้มื

กระเป๋าผ้าด้นมือ

กระเป๋าผ้าด้นมือ เป็นงานเย็บผ้าและประกอบกันเข้าเป็นชิ้นงาน โดยทุกขั้นตอนของการทำล้วนใช้มือในการเย็บปัก

ฉะนั้นจึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ เพราะในอดีตไม่มีเครื่องมือทุ่นแรงในการเย็บผ้า

ซึ่งการปักผ้าด้วยมือก็มีการพัฒนามากขึ้นโดยการทำลวดลายต่างๆ นอกจากนี้การทำกระเป๋าผ้าด้นมือถือเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของตนลงในชิ้นงานปัจจุบันได้มีการพัฒนา

รูปแบบการเย็บปัก ลายเส้น ลวดลาย สีสัน เพื่อให้เข้ากับยุคสมัย แต่ยังไม่ทิ้งภูมิปัญญาท้องถิ่น มีการเย็บปักด้วยมือ

ลายเส้นและลวดลาย มีลักษณะที่บ่งบอกถึงวัฒนธรรมของภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงกลายเป็นผ้าด้นมือในรูปแบบใหม่ ที่มิใช่เพียงแค่การที่ใช้ในครัวเรือน

ความรู้ประสบการณ์การทำกระเป๋าผ้าด้นมือมาประยุกต์ดัดแปลง

เดิมทำเป็นงานด้นมือชิ้นเล็กๆและได้พัฒนาชิ้นงานใหญ่ขึ้น มีรูปแบบต่างๆมากมาย เช่น กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าสะพาย เป้ใส่ของ ฯลฯ

การทำกระเป๋าผ้าด้นมือขยายวงกว้างม่เฉพาะประชาชนวัยแรงงานเท่านั้น ยังส่งเสริม สนับสนุนไปยังเยาวชน และประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ

ที่มีความชื่นชอบในงานปักผ้าด้นมือ ออกแบบลวดลาย และผสมผสานสีเนื้อผ้าให้มีความกลมกลืนกัน

เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าที่สามารถสั่งลวดลาย สี โทน รูปร่างฯลฯ ได้ และในปัจจุบันแนวโน้มความต้องการของตลาดผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำด้วยมือ

หรืองาน “Handmade” นั้น มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สามารถสร้างรายได้ให้แก่กลุ่มอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี

ประวัติเจ้าของผลิตภัณฑ์

นางสาวทองเพียน แย้มกลิ่น เกิดวันที่ 17

เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2506 อายุ 59 ปี

อยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 1 ตำบลคลองประเวศ

อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จบการศึกษาระดับอนุปริญญา มีภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม

และคหกรรม ปัจจุบันเป็นผู้ผลิต ผู้ขาย

และเป็นวิทยากรผู้สอนการเย็บกระเป๋าผ้าด้นมือ

ให้กับกลุ่มอาชีพคลองประเวศ

โทรศัพท์มือถือ 0812695080

วัสดุ/อุปกรณ์

1.ผ้าคอตตอน แบบที่ต้องการ

หรือ ผ้าแคนวาส

2.ผ้าสำหรับทำซับใน

3.ใยโพลี ความหนา 200 กรัม

5.ซิบขนาด ตามความกว้างของ

ปากกระเป๋าที่ต้องการ

ในตัวอย่างใช้ขนาด 8 นิ้ว

6.ปากกาเขียนผ้า

7.สายวัด

8.ไม้บรรทัด

9.ด้ายเย็บ สีเดียวกันกับผ้า

10.ด้ายเนา

11.เข็มสอย

12.เข็มหมุด

13.แผ่นรองตัด

14.ผ้ากุ๊น

ขั้นตอนการทำ

1. ออกแบบแพทเทิร์น ขนาดของกระเป๋าตามที่ต้องการ วันนี้ทำแบบวงรีนะคะ

สามารถออกแบบแพทเทิร์นได้ตามต้องการ

2. ตัดผ้าและใยโพลี ตามขนาดของแบบในรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า เนื่องจากผ้าด้านถูกเป็นลายทางเดียวกัน เวลาเย็บทบด้านลายจะกลับหัว เลยต้องตัดและเย็บให้ได้แนว

เพราะตอนกลับและทบเพื่อทำตัวกระเป๋าลายผ้าจะกลับหัวไม่สวย ตัดและเย็บให้ได้แนว

ตีตารางเป็นลายตามชอบใจเพื่อเย็บผ้าให้ติดกับใยโพลี แต่ต้องเนาผ้าให้ติดกับใยด้วย

กันผ้าไหลขณะเย็บ การเนาอาจเนาเป็นลายหมากรุกหรือเป็นตารางทะเยงแล้วแต่ถนัด

3. เย็บผ้าติดกับใยโพลี โดยด้ายที่ใช้ถ้าจะให้ดีต้องเป็นด้ายสำหรับปักผ้า หรืออาจจะใช้ด้ายเย็บผ้าธรรมดาก็ได้ ประกบชิ้นงานตัวกระเป๋ากับผ้าซับไน และเนาให้ติดกัน

เพื่อกันผ้าลื่นขณะเย็บผ้า ตัดผ้าตามแพทเทิร์นที่จัดเตรียมไว้ด้านใน

หลังจากที่เนาติดกันแล้ว

4. กุ๊นขอบผ้า ปรกติผ้ากุ๊นจะมีขายเป็นแบบสำเร็จรูปอยู่แล้ว แต่ก็สามารถทำเอง

ได้เหมือนกัน ใช้ลายเดียวกัน โดยตัดผ้าความกว้าง 4 เซนติเมตร เป็นความยาวตามรอบขนาดของกระเป๋า เย็บผ้ากุ๊นให้ติดกับตัวกระเป๋า เย็บจากด้านผิด แล้วค่อยกลับผ้ากุ๊น

สอยเก็บริม หลังจากกลับด้านมาแล้วก็ต้องสอยเก็บริมผ้าด้านใน เย็บประกบ

และทำตัวกระเป๋า พับครึ่งตัวกระเป๋าให้เท่ากัน เย็บขอบเพื่อประกบทำตัวกระเป๋า

ขนาดความยาวเล็กใหญ่ตามชอบใจ หลังหลังจากนั้นก็สอยไขว้ จากนั้นให้ดึงให้แน่น

จากนั้นก็สอย หลังจากนั้นลองกลับกระเป๋าออกมาดู ว่าขนาด และเส้นตัดทั้งสองด้าน

ว่าเท่ากันหรือไม่ เย็บตัดมุมทำก้นกระเป๋า กลับด้านในออกมาด้านนอก

หาเส้นผ่านศูนย์กลางของกระเป๋า ถ้าจะให้ดีอาจใช้ปากกาเขียนไว้ตั้งแต่ตอนตัดผ้า

หลังจากนั้น วัดความยาวของเส้นที่ต้องการตัดมุมก้นกระเป๋า

และใช้ปากกาเขียนผ้าขีดเส้นไว้ ทำเหมือนกันทั้งสองด้าน

นำเข็มหมุดปักยึดจุดกึ่งกลางของรอยตะเข็บข้างกับ เส้นผ่านศูนย์กลางของกระเป๋า

ทั้งสองด้านให้ตรงกัน เย็บตามเส้นที่ขีดไว้ ทำการติดซิป สอยซ่อนด้ายมุมด้านนอกเพื่อปิดขอบกุ๊นด้านใน (ใช้ด้ายเย็บที่สีเหมือนกับสีซิป)

5. สอยซ่อนด้าย มุมด้านนอกเพื่อปิด ขอบกุ๊นด้านใน (ใช้ด้ายเย็บที่สีเหมือนกับสีซิป) จากนั้นด้นถอยหลังตะเข็บตรงกลางซิป กะระยะให้ตรงตามรอยของซิป กลับกระเป๋า

ด้านนอกออกมา เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการ

ข้อมูลเนื้อหา เรื่อราว เขียนโดย นางสาวดวงกมล ภูเดช

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย นางสาวทองเพียน แย้มกลิ่น

/นางสาวปรัศนียาภรณ์ มีหนองใหญ่

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://shorturl.asia/bztkL