แห่เทียนเข้าพรรษา

ประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา

ประวัติความเป็นมาประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรงละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝนและช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนี้เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงค์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วยสำหรับการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า ตามประทีปเพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มืด ถือว่า ได้รับอานิสงส์ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาพุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศิล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอาบายมุข และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อความเป็นสิริมงคลซึ่งการหล่อเทียนพรรษานั้นเป็นประเพณีที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ การเข้าพรรษา นั่นเอง

สำหรับการถวายสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการอยู่พรรษา เช่น ผ้าอาบน้ำฝน เทียนพรรษา รูปแบบและวิธีการของกิจกรรมประเพณี (ดั้งเดิม) แต่เดิมกิจกรรมมีเพียงแต่ชาวบ้านร่วมกันบริจาค โดยการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียนนำไปถวายพระภิกษุ เอาเทียนเล่มเล็กๆ หลาย เล่ม มามัดรวมกันเป็นลำต้นคลายกับต้นกล้วย หรือลำไม้ไผ่ แล้วนำไปติดกับฐาน และจัดขบวนแห่ไปถวายพระที่วัด ซึ่งการมัดรวมกันแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่นิยมเรียกกันว่า ต้นเทียน หรือต้นเทียนพรรษาต่อมามีการตกแต่งต้นเทียนขึ้นโดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ขี้ผึ้งลนไฟหรือตากแดดให้อ่อนแล้วปั้นเป็นรูปดอกลำดวนติดต้นเทียน หรือนำขี้ผึ้งไปต้มให้ละลาย แล้วนำผลมะละกอ หรือผลฟักทองนำมาแกะเป็นลวดลาย ใช้ไม้เสียบนำไปจุ่มในน้ำขี้ผึ้งแล้วนำไปจุ่มในน้ำเย็น แกะขี้ผึ้งออกจากแบบ ตัดและตกแต่งให้สวยงามนำไปติดที่ต้นเทียน ต่อมามีการทำแบบพิมพ์ลงปูนซีเมนต์ซึ่งเป็นแบบพิมพ์ แล้วนำขี้ผึ้งที่อ่อนตัว ไปกดลงบนแม่พิมพ์ลายไทย นำไปติดกับลำต้นเทียน รูปแบบและวิธีการของกิจกรรมประเพณีได้ปรับประยุกต์ขึ้น มีการแกะสลักลวดลายลงบนต้นเทียนอย่างสวยงาม และในส่วนของฐานมีการสร้างหุ่นแสดงเรื่องราวทางศาสนาส่วนการจัดขบวนแห่จะนำของพื้นเมือง เช่น เครื่องแต่งกายขบวนฟ้อนรำจะใช้ผ้าเมืองเป็นหลัก การฟ้อนรำ "ระบำอัปสรา” ซึ่งเป็นการฟ้อนรำด้วยศิลปะพื้นบ้านที่งดงาม อีกทั้งในขบวนแห่เทียนพรรษา จะมีการขับร้องที่สนุกสนานเร้าใจ


ประเภทแหล่งเรียนรู้ :

ประวัติความเป็นมาของแหล่งเรียนรู้ :

สถานที่ ที่ตั้ง(พิกัด) ของแหล่งเรียนรู้ :

สื่อประกอบ :

ข้อมูลอื่นๆ :

ผู้บันทึกข้อมูล :