วัดน้ำคอกเก่า

วัดน้ำคอกเก่า

เป็นวัดเก่าแก่โบราณเริ่มสร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๓๐๙ โดยพระแก่น  และทายกทายิกา เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างขึ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง  ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อเป็นวัดเก่าแก่โบราณเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๓๐๙ โดยพระแก่น และทายกทายิกา เป็นผู้ริเริ่มก่อสร้างขึ้น ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ได้รับอนุญาตตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๓๓๙ ปัจจุบันเอกสารต่างๆ ของทางวัดได้ชำรุดสูญหายไปหมดแล้ว ที่ทราบก็ด้วยการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จดจำสืบๆกันมา วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ชั่วระยะหนึ่ง คือ ประมาณ ๕๐ ปี เนื่องจากการย้ายไปสร้างวัดที่ใหม่ ในสมัยพระปุ่น เป็นเจ้าอาวาส แต่เพราะที่ว่าวัดนี้เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพเลื่อมใสมาโดยตลอด และได้ลงความเห็นว่าควรที่จะบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่ ซึ่งในเวลานั้นปูชนียสถานได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปหมดแล้ว เช่น โบสถ์ เจดีย์ คงเหลือเป็นรูปเป็นร่างก็เพียงแต่พระนอน ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ วัดนี้ได้จัดการบูรณะใหม่ขึ้น คือ ได้จัดสร้างกุฏิ นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษา และปีต่อๆมา ได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษามากขึ้น ได้สร้างกุฏิเพิ่มเติม สร้างวิหารหลวงปู่ทองขึ้นซึ่งหลวงปู่ทองนี้เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านใกล้เคียง ได้สร้างศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอฉัน ตลอดจนทั้งเมรุ ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ นี้ ทางวัดน้ำคอกเก่าได้เป็นวัดสมบูรณ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๑ และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗


ปูชนียสถาน

๑. อุโบสถ์กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๒ เมตร ลักษณะทั่วไปสร้างด้วยปูนซีเมนต์ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ ภายในอุโบสถประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง เป็นภาพพุทธประวัติ เขียนโดย พ.ท. ศิริ จินดา (ศิลปินแห่งชาติ)

๒. เจดีย์ เป็นเจดีย์เก่าที่สร้างสมัยหลวงปู่ทอง ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก หลวงพ่อเมี้ยน สิริปญฺโญ ได้ทำการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้ ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ทอง เงิน นาค ลูกแก้ว และพระพุทธรูปต่างๆ


ปูชนียวัตถุ

๑. รูปปั้นหลวงปู่ทอง เป็นที่สักการบูชากราบไหว้ของบูชากราบไหว้ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

๒. พระพุทธรูปปางไสยาสน์ ซึ่งเป็นพระที่เก่าแก่ของวัดสมัยหลวงปู่ทองได้สร้างมีลักษณะพิเศษคือ นอนตะแคงซ้าย

๓. พระพุทธรูปโบราณ ซึ่งสร้างสมัยหลวงปู่ทอง ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระนอน มีลักษณะปางมารวิชัย 


ประวัติความเป็นมา

วัดน้ำคอกเดิมอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ พระปุ่น ปุสฺสกาโว เจ้าอาวาสสมัยนั้นได้คิดถึงความเสื่อมของวัดเดิมว่า ต่อไปจะหาความเจริญไม่ได้เพราะบรรดาชาวบ้านที่ขึ้นแก่วัดนั้น ได้อพยพไปทำมาหากินและตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากวัดเดิมประมาณ ๑ กิโลเมตรเศษ ทั้งท่านคิดจะสร้างโรงเรียนขึ้นด้วย เพราะเป็นการไม่สะดวกแก่เด็กที่จะมาทำการเล่าเรียนเนื่องจากไม่มีถนนต้องเดินตามคันนามาเรียน ทั้งทางบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลง โอนเขตแดนที่ตั้งวัดเดิมไปขึ้นแก่ตำบลเชิงเนิน ทั้งๆที่วัดนี้ก็เป็นชื่อของ วัดน้ำคอก ตำบลน้ำคอก ซึ่งเป็นการขัดของด้วยประการทั้งปวง ท่านจึงได้ปรึกษากับ บรรดาทายกทายิกา พร้อมด้วย พระพิศาลธรรมคุณ เจ้าคณะจังหวัดระยองสมัยนั้น และคณะกรรมการสงฆ์อำเภอ กับคณะกรรมการอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พร้อมกันลงความเห็นว่า สมควรย้ายมาตั้งที่ดอนขุดทอง ซึงเป็นที่ตั้งของวัดน้ำคอกใหม่ในปัจจุบัน และเป็นยานชุมชน ในวันที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ จึงได้รื้อถอนทำการย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ที่ดอนขุดทอง โดยทำการขนย้ายทุกสิ่งที่ย้ายมาได้ และ รื้อกุฏิเท่าที่มี มาทำการสร้างใหม่ โดยคงสภาพรูปแบบ และลักษณะของเดิมไว้ทุกอย่าง เหลือแต่อุโบสถ์ เจดีย์ และพระนอน ที่ยกมาไม่ได้ จากนั้นก็ทำการสร้างอุโบสถหลังใหม่ โดยทำการยกช่อฟ้าประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๒ แล้วประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ในสมัยของพระอธิการฉัตร


ปูชนียสถาน

๑. อุโบสถ์หลังเก่า สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔ ลักษณะทั่วไป สร้างด้วยเสาไม้ ผนังก่ออิฐฉาบปูน หลังคามุงกระเบื้อง ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้

๒. หอสวดมนต์ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ ลักษณะทั่วไปเป็นเสาปูนชั้นเดียวพื้นเป็นไม้เสาส่วนบนเป็นไม้ ฝาไม้ เป็นทั้งหอสวดมนต์ หอฉัน กุฏิเจ้าอาวาส

๓. ศาลาการเปรียญ สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ ลักษณะทั่วไป คอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐฉาบปูน มีช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยปูน


ปูชนียวัตถุ

๑. พระประธาน ๑ องค์ ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ พร้อมด้วยอัครสาวก ๒ องค์ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๔

๒. พระประธานประทานพร หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓บันเอกสารต่างๆ  ของทางวัดได้ชำรุดสูญหายไปหมดแล้ว  ที่ทราบก็ด้วยการบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ที่จดจำสืบๆกันมา  วัดนี้ได้กลายเป็นวัดร้างอยู่ชั่วระยะหนึ่ง  คือ  ประมาณ  ๕๐  ปี  เนื่องจากการย้ายไปสร้างวัดที่ใหม่  ในสมัยพระปุ่น เป็นเจ้าอาวาส  แต่เพราะที่ว่าวัดนี้เป็นวัดที่พุทธศาสนิกชนให้ความเคารพเลื่อมใสมาโดยตลอด  และได้ลงความเห็นว่าควรที่จะบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่  ซึ่งในเวลานั้นปูชนียสถานได้ชำรุดทรุดโทรมลงไปหมดแล้ว  เช่น  โบสถ์  เจดีย์  คงเหลือเป็นรูปเป็นร่างก็เพียงแต่พระนอน  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๑๕  วัดนี้ได้จัดการบูรณะใหม่ขึ้น  คือ  ได้จัดสร้างกุฏิ  นิมนต์พระสงฆ์มาจำพรรษา  และปีต่อๆมา  ได้มีพระสงฆ์มาจำพรรษามากขึ้น  ได้สร้างกุฏิเพิ่มเติม  สร้างวิหารหลวงปู่ทองขึ้นซึ่งหลวงปู่ทองนี้เป็นที่เคารพบูชาของชาวบ้านใกล้เคียง  ได้สร้างศาลาการเปรียญ  อุโบสถ  หอฉัน  ตลอดจนทั้งเมรุ  ในปี  พ.ศ.  ๒๕๓๒  นี้  ทางวัดน้ำคอกเก่าได้เป็นวัดสมบูรณ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อวันที่  ๒๘  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๕๓๑  และได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาเมื่อ  ๑๔  กุมภาพันธ์  ๒๕๓๗

ปูชนียสถาน

๑.  อุโบสถ์กว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว  ๒๒  เมตร  ลักษณะทั่วไปสร้างด้วยปูนซีเมนต์  มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ  ภายในอุโบสถประดับด้วยจิตรกรรมฝาผนัง  เป็นภาพพุทธประวัติ  เขียนโดย  พ.ท. ศิริ  จินดา  (ศิลปินแห่งชาติ)

๒.  เจดีย์  เป็นเจดีย์เก่าที่สร้างสมัยหลวงปู่ทอง  ซึ่งชำรุดทรุดโทรมมาก  หลวงพ่อเมี้ยน  สิริปญฺโญ  ได้ทำการสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบองค์เดิมไว้  ยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ  ทอง  เงิน  นาค  ลูกแก้ว  และพระพุทธรูปต่างๆ

ปูชนียวัตถุ

๑. รูปปั้นหลวงปู่ทอง  เป็นที่สักการบูชากราบไหว้ของบูชากราบไหว้ของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

๒. พระพุทธรูปปางไสยาสน์  ซึ่งเป็นพระที่เก่าแก่ของวัดสมัยหลวงปู่ทองได้สร้างมีลักษณะพิเศษคือ  นอนตะแคงซ้าย

๓. พระพุทธรูปโบราณ  ซึ่งสร้างสมัยหลวงปู่ทอง  ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ภายในวิหารพระนอน  มีลักษณะปางมารวิชัย

ประวัติวัดน้ำคอกใหม่

ประวัติความเป็นมา

         วัดน้ำคอกเดิมอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน  อำเภอเมืองระยอง  จังหวัดระยอง  ต่อมาเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๘๑  พระปุ่น  ปุสฺสกาโว  เจ้าอาวาสสมัยนั้นได้คิดถึงความเสื่อมของวัดเดิมว่า  ต่อไปจะหาความเจริญไม่ได้เพราะบรรดาชาวบ้านที่ขึ้นแก่วัดนั้น  ได้อพยพไปทำมาหากินและตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศตะวันตกห่างจากวัดเดิมประมาณ  ๑  กิโลเมตรเศษ  ทั้งท่านคิดจะสร้างโรงเรียนขึ้นด้วย  เพราะเป็นการไม่สะดวกแก่เด็กที่จะมาทำการเล่าเรียนเนื่องจากไม่มีถนนต้องเดินตามคันนามาเรียน  ทั้งทางบ้านเมืองได้เปลี่ยนแปลง  โอนเขตแดนที่ตั้งวัดเดิมไปขึ้นแก่ตำบลเชิงเนิน  ทั้งๆที่วัดนี้ก็เป็นชื่อของ  วัดน้ำคอก  ตำบลน้ำคอก  ซึ่งเป็นการขัดของด้วยประการทั้งปวง  ท่านจึงได้ปรึกษากับ  บรรดาทายกทายิกา  พร้อมด้วย  พระพิศาลธรรมคุณ  เจ้าคณะจังหวัดระยองสมัยนั้น  และคณะกรรมการสงฆ์อำเภอ  กับคณะกรรมการอำเภอ  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  พร้อมกันลงความเห็นว่า  สมควรย้ายมาตั้งที่ดอนขุดทอง  ซึงเป็นที่ตั้งของวัดน้ำคอกใหม่ในปัจจุบัน  และเป็นยานชุมชน  ในวันที่  ๑๓  เมษายน  พ.ศ.  ๒๔๘๔  จึงได้รื้อถอนทำการย้ายมาสร้างขึ้นใหม่ที่ดอนขุดทอง โดยทำการขนย้ายทุกสิ่งที่ย้ายมาได้   และ รื้อกุฏิเท่าที่มี  มาทำการสร้างใหม่ โดยคงสภาพรูปแบบ  และลักษณะของเดิมไว้ทุกอย่าง  เหลือแต่อุโบสถ์  เจดีย์  และพระนอน  ที่ยกมาไม่ได้  จากนั้นก็ทำการสร้างอุโบสถหลังใหม่  โดยทำการยกช่อฟ้าประมาณปี  พ.ศ.  ๒๔๙๒  แล้วประกอบพิธีผูกพัทธสีมาในปี  พ.ศ.  ๒๔๙๔  ในสมัยของพระอธิการฉัตร

ปูชนียสถาน

๑. อุโบสถ์หลังเก่า  สร้างเสร็จเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๙๔  ลักษณะทั่วไป  สร้างด้วยเสาไม้  ผนังก่ออิฐฉาบปูน  หลังคามุงกระเบื้อง  ช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้

๒. หอสวดมนต์  สร้างเสร็จเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๐๓  ลักษณะทั่วไปเป็นเสาปูนชั้นเดียวพื้นเป็นไม้เสาส่วนบนเป็นไม้  ฝาไม้  เป็นทั้งหอสวดมนต์  หอฉัน  กุฏิเจ้าอาวาส

๓. ศาลาการเปรียญ  สร้างเสร็จเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๑๗  ลักษณะทั่วไป  คอนกรีตเสริมเหล็ก  ก่ออิฐฉาบปูน  มีช่อฟ้า  ใบระกา  ทำด้วยปูน

ปูชนียวัตถุ

๑. พระประธาน  ๑  องค์  ประดิษฐานอยู่ในอุโบสถ  พร้อมด้วยอัครสาวก  ๒  องค์  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๔๙๔

๒. พระประธานประทานพร  หน้าตักกว้าง  ๕๙  นิ้ว  สร้างเมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๓๓