งานลอยกระทง

ประเพณีลอยกระทง

จังหวัดนครนายกจัดงานประเพณีลอยกระทง ณ สวนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 เทศบาลเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์และสืบสานประเพณีลอยกระทงและเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนให้มีความตระหนักในการมีส่วนร่วมสืบสานประเพณีของไทย โดยเทศบาลนครนครนายกได้จัดเตรียมสถานที่สาหรับให้ประชาชนได้ร่วมลอยกระทงและจัดให้มีการแสดงดนตรี จากนักเรียนโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครนายก เพื่อมอบความสุขให้กับประชาชนที่มาร่วมสืบสานประเพณี

นอกจากนี้ เทศบาล นครนายก ได้ขอความร่วมมือจากประชาชนในการรณรงค์และให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมกับแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ โดยรณรงค์ให้ใช้วัสดุพื้นบ้านหรือวัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้ง่ายในการทำ กระทง เช่น ใบตอง หยวกกล้วย หรือขนมปัง ที่สามารถเป็นอาหารของปลาและสัตว์น้าอื่นได้ แทนการใช้โฟมซึ่งย่อยสลายได้ยาก เป็นเหตุให้แม่น้าลาคลอง สกปรกเน่าเหม็น เกิดภาวะเป็นพิษ รวมถึงรณรงค์การจุดดอกไม้ไฟ ประทัด พลุหรือปล่อยโคมลอย ไม่ควรจุดในที่ชุมชนที่มีประชาชนและยวดยานพาหนะสัญจรไปมา ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนได้

วันลอยกระทง ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นประเพณีที่สืบทอดมาแต่โบราณโดยมีความ เชื่อว่าเป็นพิธีรับเสด็จพระพุทธองค์กลับลงมาจากสวรรค์หลังเสด็จไปโปรดพุทธมารดา บูชารอยพระพุทธบาท บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ บางก็เชื่อว่าบูชาพระอุปคุตเถระ หรือเป็นการบูชาเทพเจ้าตาม ความเชื่อ แต่ปัจจุบันนิยมทาเพื่อขอขมาและระลึกถึงคุณพระแม่คงคา ที่ได้อานวยประโยชน์ต่างๆ แก่มนุษย์ โดยประเพณีลอยกระทงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยประมาณ 700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยพ่อขุนรามคาแหง โดยมีนางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่า “พิธีจองเปรียง” ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บาน เฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป

ประเพณีลอยกระทงได้เข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงสุโขทัย เป็นราชธานีประมาณ พ.ศ. 1800 ดังปรากฏในหนังสือนางนพมาศ แม้เวลาจะล่วงเลยมานาน แต่ประเพณี ลอยกระทงก็ยังยึดมั่นอยู่กับคนไทย เพราะนอกจากเป็นการสืบสานและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงาม ของไทยไว้แล้วยังเป็นการระลึกถึงคุณค่าของแม่น้ำ อีกทั้งเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่ได้ทิ้งและถ่ายสิ่งปฏิกูล ลงไปในแหล่งน้าต่างๆ พร้อมลอยทุกข์โศกโรคภัยและสิ่งไม่ดี คล้ายกับพิธีลอยบาปของพราหมณ์

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : เจษฎา มูลธรรม

ผู้เรียบเรียง : กนกพร ประสงค์

แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครนายก