ปลาบูดู

อาหารจากสายน้ำ

วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับชาวเกาะไร่ไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมการแต่งกาย และวัฒนธรรมด้านศาสนา คือ วัฒนธรรมด้านอาหาร ชาวเกาะไร่มีวัฒนธรรมอาหารที่มีเครื่องปรุงเคียงคู่กับอาหาร เพื่อเพิ่มอรรถรสในการรับประทานอาหาร ซึ่งพื้นที่ชายแดนใต้จะมี “ปลาบูดู” เป็นวัฒนธรรมวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาเนิ่นนาน ถ้าหาก “ปลาร้า” คือเอกลักษณ์ของชาวอีสาน “ปลาบูดู” ก็ถือเป็นเอกลักษณ์ของชายแดนภาคใต้เฉกเช่นเดียวกัน เพราะชาวเกาะไร่ในอดีตได้ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดปัตตานีมาอยู่ที่ตำบลเกาะไร่

การผลิตบูดูและการรับประทานบูดูกลายเป็นวิถีวัฒนธรรมของชาวมุสลิมรสชาติเค็มมันถูกปากคนท้องถิ่นขาดไม่ได้ กินกันไม่เบื่อพื้นที่อำเภอสายบุรีเกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่อยู่ติดกับแหล่งน้ำ สมัยก่อนปลามีจำนวนมากจึงคิดวิธีการถนอมอาหารขึ้นมาด้วยการหมักด้วยเกลือในภาชนะเล็ก แต่เมื่อได้ปลามากขึ้นก็เอาไปหมักในไหหรือโอ่ง เป็นที่มาของปลาบูดูเป็นอาหารคู่บ้านทุกบ้าน

ส่วนผสม

1. ปลายี่สก หรือปลานิล

2. เกลือเม็ดละเอียด

3. ข้าวคั่ว

วิธีการทำปลาบูดู

1. นำปลามาขอดเกล็ด ตัดหัวควักไส้ออก บ้างกลางตัว หากปลาตัวใหญ่ให้แล่ด้านหลัง

2. นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือ แล้วล้างให้สะอาด

3. นำปลาไปคลุกเกลือให้ทั่ว แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณ 8 วัน

4. แล้วนำออกมาใส่ข้าวคั่ว แล้วหมักใส่โอ่งเรียงทีละตัวให้แน่นเต็มโอ่ง

5. หมักต่อไปอีกประมาณ 40 – 45 วัน ระหว่างที่หมักในโอ่งต้องคอยเติมน้ำอยู่ตลอด

6. พอหมักครบ ก็นำมาทอด รับประทานได้ หรือแปรรูปอื่นได้ตามต้องการ

สำหรับในการจำหน่าย จะบรรจุใส่ถุง ที่สะอาด และแปรรูปเป็นปลาบูดูทอด โรยด้วยหอมทอด และผัดพริก บรรจุในกระปุก เพื่อจำหน่าย

ข้อมูลเนื้อหา/เรียบเรียง นางสาวจุฬาลักษณ์ ธรรมอินทร์

ภาพถ่าย/ภาพประกอบ นางรัชนี บุศย์น้ำเพ็ชร

ข้อมูล TKP อ้างอิง https://citly.me/IyM89