ภูมิปัญญาเสื่อลำแพนประยุกต์


เสื่อลำแพนประยุกต์

การสานเสื่อลำแพน เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีมาแต่โบราณ ในอดีตมีการใช้เสื่อลำแพนเป็นที่นิยมทำเป็นฝาบ้าน และในฤดูเกี่ยวข้าวก็ใช้เสื่อลำแพนรองพื้นในบริเวณที่ฟาดข้าวอีกด้วย การสานเสื่อลาแพนเป็นภูมิปัญญาเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ มาถึงปัจจุบันนี้เกิดการนำมาประยุกต์ใช้เส้นพลาสติกมาทำเพื่อให้มีสีสันสวยงามแต่ยังคงไว้ในเรื่องการสานเสื่อลำแพนให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้สืบทอดกันต่อไป



คุณป้าวน เกิดลาภ คือผู้ที่ได้รับการเรียนรู้ในการสานเสื่อลำแพนจากคุณพ่อตั้งแต่อายุ 19 ปี เนื่องจากคุณพ่อชอบสานลำแพนไว้รองพื้นในบริเวณที่ฟาดข้าว คุณป้าวน เกิดลาภ เป็นคนชอบงานประดิษฐ์ ทำค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ไม่ว่าจากการไปศึกษาดูงานตามสถานที่ต่าง ๆ ก็จะเก็บเกี่ยวความรู้จากที่ได้รับมา กลับมาฝึกและเรียนรู้เพิ่มเติม จึงได้นำเส้นพลาสติกที่สีสัน หลากสี มาฝึกการสานเสื่อลำแพนประยุกต์เพื่อให้คนรุ่นลูกรุ่นหลาน เกิดการเรียนรู้

จุดเด่นของภูมิปัญญาท้องถิ่น

การสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ชาวบ้านทำกันมานานจนถึงปัจจุบัน ในสมัยก่อนชาวบ้านสานไม้ไผ่เป็นหลัก โดยทำเป็นของใช้ภายในครัวเรือน ฝีมือ แรงงาน คือคนในชุมชนอย่างแท้จริง ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกัน มีการรวมกลุ่ม และ มีการพัฒนาภูมิปัญญาต่อยอดดัดแปลงจากไม้ไผ่เป็นเส้นพลาสติก


วิธีการ

นำเส้นพลาสติกสี่เหลี่ยมผืนผ้าบาง ๆ แล้วจึงนำมาสานลายที่สานผู้รู้จะเรียกว่า ลายสอง คือ ยกสองเส้น ข้ามสองเส้น เวลาทำมุมจะเรียก ลายสาม คือ ยกสามเส้น ข้ามสามเส้น เสื่อลาแพนขนาดยาว 2 เมตร กว้าง 1 เมตร จะขายในราคา 400 บาท