วัตถุประสงค์


1.เพื่อให้รู้จักความหมายของข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ รูปแบบของชุมชน

2.เพื่อให้ทราบถึงองค์ประกอบที่สำคัญของเว็บข้อมูลชุมชน

3.เพื่อให้เข้าใจโครงสร้างข้อมูลความรู้ชุมชนในแต่ละประเภท

4.เพื่อให้รู้จักวิธีการขั้นตอนการสร้างเรื่องราวและบทความ และสามารถเขียนเรื่องราวได้

ความเป็นมา หรือประวัติชุมชน

นามเดิม “บ้านซ่อง” นั้น คนรู้จักกันทุกถิ่นฐาน เป็นช่องทางพ่อค้าโค กระบืองาน จากอีสานสู่ พนัส – ชลบุรี และเป็นเกียรติแด่ กำนันของบ้านช่อง ชื่อ “ขุนซ่อง” คนแรก ตำบลนี้ประชาชนอยู่สุขสบายดีมี ๑๔ หมู่ ดูน่าชม จึงใช้ชื่อตำบล “บ้านซ่อง” เป็นต้นมา

ประชาชนในตำบลบ้านซ่องมีหลายเชื้อสาย ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารมีบางส่วนที่ใช้ภาษาพวนคือ ประชากรในหมู่ ๕ และหมู่ ๑๐ แต่ทุกคนก็รู้จักภาษาไทย และอ่านออก เขียนได้ ประชาชนในตำบลมีหลายเชื้อสายก็จริง แต่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ประเพณีและวัฒนธรรมจึงเหมือนกับชาวพุทธทั่ว ๆ ไปแต่ในกลุ่มชนเชื้อสายไทยพวนมีประเพณีที่ปฏิบัติกันเป็นประจำ คือ ประเพณีบุญกลางเดือน ๓ โดยจะกระทำกันในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ซึ่งตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี มีการทำบุญด้วยข้าวหลาม ส่วนประเพณีคนจีน คือการไหว้เจ้าและบรรพบุรุษ หรือตรุษจีนและสารทจีน นั้น ประชาชนก็จะทำกันทุกครัวเรือน



จำนวนประชากรในเขตเทศบาล

จำนวนประชากรในเขตรับผิดชอบของเทศบาลตำบลบ้านซ่อง มีประชากรทั้งสิ้น 10,208 คน จำนวน 3,847 ครัวเรือน แยกเป็นชาย 4,961 คน หญิง 5,247 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 145 คน/ตารางกิโลเมตร ซึ่งแยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้


  • สภาพทางภูมิศาสตร์

ลักษณะที่ตั้ง

ตำบลบ้านซ่องตั้งอยู่ทางทิศเหนือของอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมสารคามไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๓๑๙ (พนมสารคาม – ปราจีนบุรี) เป็นระยะทาง 11 กิโลเมตร 400 เมตร

เนื้อที่

มีเนื้อที่ประมาณ ๖๘.๘๙ ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ ๔๓,๐๕๒ ไร่

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลโคกไทย อำเภอ ศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี

ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลท่าถ่าน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบล หนองยาว อำเภอ พนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ลักษณะภูมิประเทศ

ลักษณะสภาพพื้นที่ตำบลบ้านซ่องส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบลูกฟูกเชิงเขาลาดจากตอนตะวันออกเฉียงใต้มายังด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และทางด้านตะวันตกของตำบลพื้นที่มีความลาดชันประมาณ ๒% มีความสูงจากระดับน้ำทะเล ๑๐ – ๔๐ เมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง มีการระบายน้ำดี สภาพพื้นที่เหมาะสำหรับทำการเกษตรประมาณร้อยละ ๙๕ ของพื้นที่ทั้งหมด

พื้นที่และการใช้ประโยชน์

พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลบ้านซ่องจะใช้ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมสำหรับที่ลุ่มได้แก่ การทำนาสลับกับการเพาะปลูกพืชไร่ สำหรับที่ราบสูงส่วนใหญ่เกษตรกรจะเพาะปลูกมันสำปะหลัง, ถั่วเหลือง, ปลูกไม้ผล ยืนต้น เช่น มะม่วง ขนุน และเลี้ยงสัตว์ เช่น สุกร เป็ด ไก่ เป็นต้น

ภูมิอากาศ

ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี ๓ ฤดู คือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือนเมษายน ถึง เดือนกรกฎาคม

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่ เดือนสิงหาคม ถึง เดือนพฤศจิกายน

ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่ เดือนธันวาคม ถึง เดือนมีนาคม