การทำพานบายศรี 

   นางเหลา  พารีสาร บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 6 บ้านทรายขาวกลาง ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โทรศัพท์ 087-9258693  สัญชาติ ไทย  เชื้อชาติ ไทย นับถือศาสนาพุทธ ประกอบอาชีพ  ทำไร่- ทำนา  คู่สมรส นายเปลี่ยน  พารีสาร มีบุตรธิดา จำนวน 1 คน คือ นายร่วม  พารีสาร  งานอดิเรก การทำบายศรี ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการประดิษฐ์กรรม

ประวัติความเป็นมา

บายศรี เป็นของสูงเป็นสิ่งที่มีค่าของคนไทย ตั้งแต่โบราณมาจนถึงปัจจุบันนับตั้งแต่เกิดจะจัดพิธีสังเวยและทำขวัญในวาระต่างๆ ซึ่งจะต้อง มีบายศรีเป็นสิ่งสำคัญในพิธีนั้นๆ ซึ่งเป็นศาสนพิธีของพราหมณ์ คำว่า บาย ภาษาเขมร แปลว่า ข้าวสุก บาย ภาษาถิ่นอีสาน แปลว่า จับต้อง สัมผัส ศรี เป็นคำมาจากภาษาสันสกฤตตรงกับ ภาษาบาลี ว่า สิริ แปลว่า มิ่งขวัญ คำว่า  “บายศรี”แปลว่า ข้าวขวัญ หรือ สิ่งที่ น่าสัมผัสกับความดีงาม (ความหมายของชาวอีสาน)  บายศรี ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน แปลว่า ข้าวอันเป็น สิริ ,ขวัญข้าว หรือภาชนะใส่เครื่องสังเวยในโบราณมีการเรียกพิธีสู่ขวัญ ว่า บาศรี เหตุที่เรียกว่า บาศรี เนื่องมาจากเป็นพิธีสำหรับ บุคคลชั้นเจ้านายผู้ใหญ่ทำกัน จึงมีคำว่า บา อยู่ด้วย ?บา? ในภาษาโบราณอีสานใช้เป็นคำนำหน้าเรียกเจ้านาย เช่น บาท้าว บาบ่าว บาคราญ เป็นต้น ส่วนคำว่า ศรี หมายถึงผู้หญิงและสิ่งที่เป็นสิริมงคล บาศรี จึงหมายถึง การทำพิธีที่เป็นสิริมงคลแต่ปัจจุบันนี้ คำว่า บาศรี ไม่ค่อยนิยมเรียกกันแล้ว มักนิยมเรียกว่า บายศรี เป็นส่วนมาก 


ความเป็นมาของพิธีบายศรีสู่ขวัญ

         กล่าวกันว่าพิธีบายศรีสู่ขวัญมาพร้อมกับพราหมณ์ทมิฬชานอินเดียที่อพยพมาสู่สุวรรณภูมิ หนังสือเก่าที่พบซึ่งออกในสมัยพระเจ้าอู่ทองกล่าวไว้ว่า บายเป็นภาษาเขมรแปลว่าข้าว ข้าวอันเป็นสิริมงคล ข้าวขวัญ กล่าวคือข้าวที่หุงปรุงรสโอชาอย่างดีเหมาะสมที่จะเป็นเครื่องสังเวยให้เทวดาโปรด พิธีใดเป็นพิธีเทวดาโดยตรง หรือต้องการที่จะอัญเชิญเทวดามาเป็นประธาน ต้องหาของสังเวยที่ดีและมีสีสะดุดตา ชาวทมิฬจึงมีเคล็ดลับความเชื่อในข้าวที่ย้อมสีตามสีประจำองค์เทวดา รวมถึงใช้สีล่อเทวดาฝ่ายร้ายให้ไปรวมต่างหากไม่ให้มาทำอัปมงคลให้โทษแก่มณฑลพิธีและบุคคล ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณีของไทยกับทมิฬได้มีความเป็นมาอย่างเดียวกัน เนื่องจากได้มีการถ่ายทอดวัฒนธรรมต่าง ๆแก่กัน

  โดยเฉพาะอย่างยิ่งพิธีบวงสรวงเทวดา มีขนมต้มขาว มะพร้าวอ่อน กล้วย ข้าวย้อมสี เช่นข้าวเหนียวดำ ข้าวเหนียวแดง ก็นำมาใช้ในพิธีไทยอย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาชนะบายศรีตองเป็นกระทงที่สำหรับบรรจุอาหาร ภายหลังเอาพานซ้อนกันขึ้นไปแล้วเอาของตั้งบนปากพาน  เมื่อมีการถ่ายทอดมาที่ประเทศไทย ซึ่งมีศิลปศาสตร์ที่เจริญขึ้น กระทงใบตองก็ถูกประดิดประดอยให้สวยงามเป็นกระทงเจิม ซึ่งประดับประดาตกแต่งที่ปากกระทงให้มีความงดงามมีกระจัง มียอดแหลมตามศิลปะ

แบบไทย ๆพิธีบายศรีสู่ขวัญหรือหลายท้องถิ่นในภาคอีสานจะเรียกว่าสู่ขวัญหรือสูดขวัญ ตามความเชื่อของคนไทยเชื่อกันว่าคนที่เกิดมามีขวัญประจำกายมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษา ขวัญเป็นเหมือนพี่เลี้ยงที่คอยดูแลประคับประคองชีวิต คอยเลี้ยงดู และติดตามไปทุกหนทุกแห่ง เป็นสิ่งไม่มีตัวตนคล้ายจิตหรือวิญญาณแฝงอยู่ในตัวคนและสัตว์ ซึ่งขวัญตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนาเชื่อว่าในร่างกายเรามี 2 สิ่งรวมกัน คือร่างกายและจิตใจหรือขวัญขวัญ คือความรู้สึก ถ้าขวัญของผู้ใดอยู่กับตัว ผู้นั้นจะมีความสุขกายสบายใจเป็นปกติ แต่ถ้าขวัญของผู้ใดหลบลี้หนีหาย ผู้นั้นจะมีลักษณะอาการตรงกันข้ามคนไทยจึงเชื่อว่าพิธีสู่ขวัญเป็นพิธีหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมเพิ่มพลังใจให้เข้มแข็ง         เมื่อมีขวัญที่มั่นคง พลังใจที่เข้มแข็งดีแล้ว ย่อมส่งผลให้การประกอบภารกิจหน้าที่นั้น ๆ บรรลุผลสำเร็จได้ตามความมุ่งหมาย ซึ่งให้กำลังใจกันเมื่อมีความทุกข์ใจ หรือเสริมให้มีความสุขยิ่ง ๆขึ้นไปเมื่อมีความสุขความพอใจอยู่แล้วก็สามารถทำได้ การทำพิธีสู่ขวัญอาจทำได้ทั้งพิธีทางพระพุทธศาสนาและพิธีทางศาสนาพราหมณ์ ซึ่งปัจจุบันก็ยังคงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา

        นางเหลา  พารีสาร   อีกหนึ่งบุคคลที่มีฝีมือในเรื่องของการทำบายศรี  ซึ่งมีประสบการณ์ในเรื่องของการทำบายศรี  หลายสิบปี ซึ่งได้พัฒนาลวดลายฝีมืออย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เป็นที่ยกย่องว่าเป็นปราชญ์ชาวบ้านด้านด้านการทำบายศรี 

เอกลักษณ์/จุดเด่น ภูมิปัญญา หรือผลิตภัณฑ์

    -   การประยุกต์ออกแบบลวดลายการทำบายศรี แปรรูปผลิตภัณฑ์

    -   การพัฒนา และออกแบบลวดลายของผลิตภัณฑ์ที่มีความสวยงามและคงทนแข็งแรง

 อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำบายศรี

 การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ไว้ให้พร้อม เป็นการเตรียมการที่ดี สามารถดำเนินงานได้ด้วยความเรียบร้อยรวดเร็วซึ่งมีอุปกรณ์ที่ควรจะต้องเตรี ยมไว้ดังต่อไปนี้

1.ใบตอง (ควรให้ใบตองกล้วยตานี)

2. พานแว่นฟ้า ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ผูกติดกันไว้ด้วยลวด และรองพื้นพานด้วยโฟม

3. ภาชนะปากกว้างสำหรับใส่น้ำแช่ใบตอง 2 ใบ

4. สารส้ม

5. น้ำมันมะกอก ชนิดสีเหลือง หรือขาว

6. ไม้ปลายแหลม (ขนาดไม้เสียบลูกชิ้น) ประมาณ 20-30 อัน

7. ดอกไม้ (ดอกพุด ดอกดาวเรือง ดอกบานไม่รู้โรย ฯลฯ)

8. กรรไกร สำหรับตัดใบตอง

9. ลวดเย็บกระดาษ

สถานที่ตั้ง บ้านเลขที่ 84 หมู่ที่ 6  บ้านทรายขาวกลาง ตำบลทรายขาว  อำเภอวังสะพุ  จังหวัดเลย  โทรศัพท์มือถือ  087-9258693

   พิกัด 17.238185, 101.691198  https://goo.gl/maps/8XdddFBCN6Q8gW7j8

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางสาวกัญจนวัฒน์  คายทอง

                 เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกัญจนวัฒน์  คายทอง

                 ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย กศน.อำเภอวังสะพุง และคณะ