แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ

    "อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ" บ้านกกซ้อ หมู่ที่ 19 ต.ทรายขาว อ.วังสะพุง จ.เลย  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทานฝ่ายก่อสร้าง มอบหมายให้ นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเลย โดยมี นายนพดลปิยะธรรมธาดา ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า(ด้านวางแผนและโครงการ) นายนรินทร ชามทอง ผู้อำนวยการส่วนโรงงาน นายคำนึง คงรอด ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 2 นายศักดิ์มงคล มิ่งเมือง ผู้อำนวยการส่วนบริหารเครื่องจักรกลที่ 3 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่ ที่โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

นายศิริวัฒน์ พินิจพานิชย์ ปลัดจังหวัดเลย กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดำริให้สร้างโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น ที่บ้านกกซ้อ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ยังประโยชน์มากมายให้กับประชาชนในพื้นที่และใกล้เคียง ทั้งด้านการมีน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับอุปโภคบริโภค น้ำสำหรับพื้นที่การเกษตรและอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาและเป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้กับประชาน และป้องกันอุทกภัยในช่วงน้ำหลาก สำหรับประชาชนตำบลทรายขาว ตำบลเขาหลวง และพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากตัวอ่างแล้วยังมีโครงการต่อเนื่องในการสร้างคลองส่งน้ำเข้าสู้พื้นที่ทางการเกษตรของประชาชนในโอกาสต่อไป


       อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ใช้งบก่อสร้าง 390 ล้านบาท เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีความจุของอ่างเก็บน้ำ 7.43 ล้านลบ.ม.เพื่อใช้เป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการอุปโภค-บริโภคเพียงพอในเขต ต.ทรายขาว และ ต.เขาหลวง อ.วังสะพุง และช่วยบรรเทาอุทกภัยในเขตตัว  อ.วังสะพุง จ.เลย ได้อีกด้วย ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ กลายเป็นที่ท่องเที่ยวของคนในชุมชน นิยมมาเดินวิ่งออกกำลังกาย นั่งพักผ่อนคลายร้อน ชมวิวป่าวิวภูเขา ซึ่งมีวิวภูหลวง ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตก สูงใหญ่และสวยงาม

      แนวคิดการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน การท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และ วัฒนธรรม กำหนดทิศทางการท่องเที่ยวโดยสมาชิกในชุมชนจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อชุมชน และ ชุมชนเจ้าของแหล่งท่องเที่ยวมีบทบาทเป็นเจ้าของมีสิทธิ์ในการจัดการดูแล เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่ ผู้มาเยือน (Suansri & Yijohor, 2013) การท่องเที่ยวโดยชุมชนนั้นฐานการพัฒนาที่แท้จริงนั้นต้องมาจาก ชุมชนและประชากรในชุมชนใช้ฐานทรัพยากรหรือต้นทุนของชุมชนที่มีอยู่เป็นปัจจัยสำคัญในการ พัฒนาการท่องเที่ยวเป็นสำคัญได้แก่ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และวัฒนธรรม (Sarobol, 2006) การจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน คือ การใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนและ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนที่ชุมชนกำลัง เผชิญอยู่เพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับการพัฒนาชุมชน โดยมีกระบวนการทำงาน 10 ขั้นตอน (Suansri, 2003) ดังนี้คือ 1) ศึกษาความเป็นไปได้ก่อนลงพื้นที่ 2) ศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกับชุมชน 3) กำหนดวิสัยทัศน์และวัตถุประสงค์ของการท่องเที่ยว 4) การวางแผน 5) การบริหารจัดการองค์กร 6) การจัดทำโปรแกรมการท่องเที่ยว 7) การสื่อความหมาย 8) การตลาด 9) การทดลองทำท่องเที่ยวนำ ร่อง และ 10) การติดตามและประเมินผล 

สถานที่ตั้ง บ้านกกซ้อ หมู่ที่ 19  ตำบลทรายขาว  อำเภอวังสะพุง  จังหวัดเลย

พิกัด   17.326643, 101.428593

https://goo.gl/maps/BXta2kat5vvfA9pW7

ข้อมูลเนื้อหา เรื่องราว เขียนโดย  นางสาวกัญจนวัฒน์  คายทอง

                 เรียบเรียงเนื้อหา โดย นางสาวกัญจนวัฒน์  คายทอง

                 ภาพถ่าย/ภาพประกอบ โดย กศน.อำเภอวังสะพุง และคณะ