ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านท่าป่าเปา


ข้อมูลทั่วไปของปราชญ์ชาวบ้าน

ความชํานาญพิเศษ/จุดเด่นของศูนย์ฯ

            กิจกรรมการอนุรักษ์ป่าไม้ในพื้นที่ 13,000 ไร่ การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สัมผัสกับวิถีชีวิตชนบทและประเพณีวัฒนธรรมพื้นบ้าน การบริหารจัดการชุมชน กิจกรรมกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิต และการบริหารจัดการการออมทรัพย์ในชุมชน 


 ประสบการณ์

ประธานศูนยเ์ครือข่ายศูนย์ประสานงานธนาคารน้ำใจตำบลทาปลาดุก ประธานร้านค้าชุมชน

บ้านทาป่าเปา ที่ปรึกษากลุ่มสัจจะออมทรัพยเ์พื่อการผลิต ที่ปรึกษากองทุนหมู่บ้าน ที่ปรึกษากรรมการป่าชุมชนห้วยทรายขาว ที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านทาป่าเปาและรองประธานเครือข่ายลุ่มน้า แม่ทา



    ประวัติการก่อตั้งและความเป็นมาของศูนย์ฯ

เริ่มก่อตั้งศูนย์ประมาณปี2548 เนื่องจากชาวบ้านไม่มีแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยเริ่มจากกลุ่ม

ผู้ปลูกพืชผักปลอดสารพิษเพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน โดยมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิต สำนักงานเกษตร อำเภอแม่ทา สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอแม่ทาและสถานีพัฒนาที่ดินลำพูน ให้การสนับสนุนทั้งนี้ ศูนย์ฯ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาการเกษตรตามแนวทฤษฏีใหม่โดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตั้งแต่ปี2551



  หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม

             การปรับแนวคิดและพฤติกรรมตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงการทำการเกษตรแบบผสมผสาน(ด้านปศุสัตว์ และด้านพืช)การทำบัญชีครัวเรือน แนวคิดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และป่าชุมชน การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และการทำฝายชะลอน้ำตาม แนวพระราชดำริ ศึกษาดูงาน ป่าชุมชนห้วยทรายขาว การฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดนางฟ้า การขยายจุลินทรีย์ การทำปุ๋ยหมัก การทำฮอร์โมนผลไม้ การทำสารไล่แมลงการทำน้ำส้มควันไม้การปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้าน การเพาะชำกล้าไม้ การเพาะชำผักหวานบ้าน เพาะชำกล้าผัก วิธีกำจัดแมลงวันทอง และน้ำยาเอนกประสงค์




ความพร้อมของศูนย์ฯ

 ศูนย์ฯ มีความพร้อมสำหรับการจัดฝึกอบรม มีอาคารที่รองรับผู้รับการอบรมประมาณ 60 คน 

มีสถานที่พักแบบโฮมสเตย์ที่ได้มาตรฐาน มีหอ้งน้ำที่เพียงพอ มีฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร มีการศึกษาดูงานภายในศูนย์ที่เป็นเส้นทางดูงานป่าชุมชนห้วยทรายขาว และการเดินป่าศึกษาธรรมชาติสมุนไพร